โรคของผักตระกูลผักกาดและวิธีการป้องกันกําจัด

พืชในตระกูลผักกาด

พืชในตระกูลผักกาด (Cruciferae) มีหลายชนิด ที่รู้จักกันแพร่หลาย ได้แก่ กะหลํ่าปลี กะหลํ่าดอก คะน้า ผักกาดหัว ผักกาดขาว ผักกาดเขียว กวางตุ้ง ชุนฉ่าย แครอท บีท บรอกโคลี กระหลํ่าดาว ฯลฯ แต่ละชนิดยังมีพันธุ์ใหม่ๆ ปลูกกันมากขึ้น เช่น ผักกาดหางหงส์ ฯลฯ ผักดังกล่าวนี้มีโรคที่สำคัญอย่างเดียวกันแต่บางชนิดทนทานต่อโรคไดดีกว่าจึงไม่ค่อยเป็นโรคหรือเป็นโรคน้อยกว่า เนื่องจากผักในตระกูลนี้มีมากมายหลายชนิด จึงได้นํารายละเอียดของโรคที่สำคัญและเกิดเสมอกับพืชบางชนิดที่พบอาการเด่นชัดมากล่าวไว้ ณ ที่นี้ โดยไม่ได้แยกออกเป็นโรคของแต่ละพืชเหมือนโรคของพืชตระกูลมะเขือ การปลูกพืช ดังกล่าวนี้ซ้ำหลายหนในแหล่งเดียวกัน ย่อมจะทําให้โรคระบาดมากขึ้นหรือมีเชื้อโรคสะสมมากขึ้นจนเป็นปัญหาและอุปสรรค เมื่อมีสภาพสิ่งแวดล้อมเหมาะสมต่อการเกิดโรคควรปลูกพืชเหล่านี้แซม หรือสลับกับพืชหมุนเวียนตระกูลอื่น ๆ เช่น ถั่ว แตง พริก ฯลฯ บ้าง เพื่อให้โรคลดน้อยลง โรคที่สําคัญของผักตระกูลนี้ ได้แก่

หัวกะหล่ำปลี
หัวกะหล่ำปลี เป็นทรงกลม เปลือกสีเขียว

โรคไส้กลวงดํา ของผักกาดหัว (Black heart of chinese radish)

อาการ
เนื้อเยื่อภายในลําต้น ราก และหัว ฟ่าม หยาบ กลวง และมีสีดำทำให้ต้นแคระ แกร็น เชื้อบัคเตรี โรคเน่าเละจะเข้าไปทําให้ผัก เน่าอย่างรวดเร็ว บรอกโคลี และกะหล่ำดอก แสดงอาหารช่อดอกเน่าดํา ผักกาดเขียวเมื่อ เป็นโรคนี้แล้ว นําไปดองจะมีสีไม่สวย

สาเหตุเกิดจาก
ขาดธาตุโบรอน (Boron)

การป้องกันกําจัด

  1. ไม่ควรปลูกผักเหล่านี้ซ้ำที่ ควรปลูกพืชหมุนเวียนตระกูลอื่นบ้าง เช่น ถั่วฝักยาว ฯลฯ
  2. ปรับดินด้วยปูนขาว เมื่อดินเป็นกรด หรือเมื่อใส่ปุ๋ย วิทยาศาสตร์
  3. เพิ่มปุ๋ยโบรอนให้พืช โดยฉีดพ่นปุ๋ย บอแรกซ์ หรือให้ปุ๋ย ชนิดนี้ทางราก
  4. เพิ่มปุ๋ยอินทรีย์ให้มาก จะช่วยป้องกันโรคนี้ได้

หมายเหตุ พืชในตระกูลนี้ต้องการธาตุนี้มากกว่าพืชอื่นๆ ต้องมีการให้ปุ๋ย ชนิดนี้ด้วยดินที่เป็นกรดหรือด่าง จัดมักขาดธาตุนี้

โรคขาดธาตุฟอสฟอรัสของกะหลํ่าปลี (Deficiency of cabbage)

อาการ
ผิวใบมีสีม่วงแดง บางส่วนทั้งด้านบนและใต้ใบ ลําต้น และใบ แข็ง เขียว เข้ม ก้านแข็ง ผอมแคระแกร็น รากไม่แตกแขนง และกะหล่ำปลีไม่ห่อ

สาเหตุเกิดจาก
ขาดธาตุฟอสฟอรัส (Phosphorus)

การป้องกันกำจัด

  1. ใส่ปุ๋ย ฟอสฟอรัสที่ละลายง่าย เช่น ซุปเปอร์ฟอสเฟต ฯลฯ 
  2. ปรับดินด้วยปูนขาว เมื่อดินเป็นกรด
  3. ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยอินทรีย์ให้มากเพราะปุ๋ยอินทรีย์ก็ช่วยให้ธาตุนี้ละลายได้มากและสม่ำเสมอ ่

หมายเหตุ ในปุ๋ยอินทรีย์ช่วยให้ธาตุนี้ละลายได้มากและสม่ำเสมอ

หมายเหตุ ในปุ๋ยอินทรีย์บางชนิดมีฟอสฟอรัสสูง เช่น มูลเป็ด ฯลฯ ดินที่เป็นกรดหรือด่างจัดจะทําให้ธาตุนี้ และธาตุอื่นๆ ไม่ละลายเป็นอาหารพืช กะหล่ำปลีแสดงอาการมากกว่าพืชอื่นๆ

โรคเน่าเละของผักกาดหัว (Soft rot of chinese radish)

อาการ
เริ่มอาการของโรคเป็นจุดช้ำน้ำ ซึ่งจะเน่าอย่างรวดเร็ว ทําให้เนื้อเยื่อเปื่อยและเป็นน้ำภายใน เวลา 2-3 วัน ผักจะเน่ายุบหายไปหมดทั้งต้นหรือหัว หรือฟุบแห้งเป็นสีน้ำตาลอยู่ที่ผิวดิน อาการเน่าจะเกิดขึ้นที่ส่วนใดก่อนก็ได้ แต่โดยปกติจะเริ่มที่โคนก้านใบหรือตรงกลางต้นก่อน สันนิษฐานว่าเชื้อ บัคเตรีเข้าไปทางบาดแผล ซึ่ง เกิดจากหนอนหรือเชื้อราบางชนิดทําลายไว้ก่อน นอกจากนี้ยังเกิดร่วมกับโรคไส้ดําที่เกิดจากการขาดธาตุโบรอน ซึ่งผักในตระกูลนี้มีความต้องการสูงกว่าพืชผักอื่นๆ อาการคือ ไส้กลวงดําแต่ไม่เน่าเละ จนกว่าจะมีเชื้อบัคเตรีเน่าเละเข้าไป

สาเหตุเกิดจาก
เชื้อบัคเตรี Erwinia carotovora

การป้องกัน

  1. ฉีดพ่นยาป้องกันกําจัดเชื้อราเป็นครั้งคราว
  2. ฉีดพ่นยาป้องกันแมลงและหนอน
  3. ใช้ปุ๋ยที่มีธาตุโบรอนผสมด้วยหรือใช้ฉีดพ่นธาตุโบรอนแต่เพียงอย่างเดียวในอัตราส่วนปุ๋ยบอ แรกซ์ (น้ำยาล้างตาก็ใช้ได้) ใช้อัตราส่วน 10-12 กรัม ต่อน้ำ 1 ปี๊บ
  4. บางคนใช้ยาปฏิชีวนะ เช่น พวกสเตร็ปโตมัยซิน อะกริไมซิน ฉีดพ่น

หมายเหตุ กะหล่ำปลี ผักกาดหัว ผักกาดขาว ผักกาดเขียว เป็นโรคนี้มากกะหลํ่าดอกและคะน้าเป็นโรคนี้น้อย ผักกวางตุ้ง และชุนฉ่ายไม่ค่อยเป็นโรคนี้

โรคเน่าเละของผักกาด
โรคเน่าเละของผักกาด จะมีจุดฉ่ำน้ำ ต่อมาจะเกิดการเน่า

โรคเน่าดําของกะหล่ำปลี (Black rot of cabbage)

อาการ
ขอบใบแห้งเข้าไปเป็นรูปสามเหลี่ยมที่มีปลายแหลมชี้ไปที่เส้นกลางใบ เนื้อเยื่อที่แห้ง มีเส้นใบสีดําเห็นชัดเจน ทําให้ใบเหลืองและแห้ง อาการใบแห้งจะลามลงไปถึงเส้นกลางใบ และลุกลามลงไปถึงก้านใบและใบอื่นๆ ทั่วกันด้วย เกิดอาการใบเหี่ยวและแห้งตายไป ผักจะชะงักการเจริญเติบโตต้นอาจถึงแก่ความตายด้วย

สาเหตุเกิดจาก 
เชื้อบัคเตรี Xanthomonas campestris

การป้องกันกำจัด
โรคนี้เข้าใจว่าติดมากับเมล็ดพันธุ์ได้ ซึ่ง บางครั้งก็มีโรคเกิดมากกว่าปกติ การป้องกันมีอยู่วิธีเดียวคือ ปลูกพืชหมุนเวียนสลับ เช่น ปลูกข้าวโพด พริก ฯลฯ โดยไม่ปลูกพืชพวกนี้อย่างน้อย 3 ปี เมื่อมีโรคระบาด

โรคโคนเน่าคอดินของคะน้า (Damping off of chinese kale)

อาการ
โรคนี้เป็นโรคที่เกิดเฉพาะในแปลงกล้าเท่านั้น การหว่านกล้าที่แน่นทึบ อับลมและต้นเบียดกันมากจะเป็นโรค ถ้าในแปลงมีเชื้อโรคอยู่แล้ว ต้นกล้าผักจะเกิดอาการเป็นแผลชํ้าที่โคนต้นระดับดินเนื้อเยื่อตรงแผลเน่าและแห้งไปอย่างรวดเร็ว ถ้าถูกแสงแดดทําให้ต้นกล้าหักพับ ต้นเหี่ยวแห้งตายในเวลารวดเร็ว บริเวณที่เป็นโรคจะค่อยๆ ขยายวงกว้างออกไปเป็นวงกลม ภายในวงกลมที่ขยายออกไปไม่มีต้นกล้าเหลืออยู่ในเนื้อที่ดังกล่าว กล้าที่โตแล้วจะค่อยๆ เหี่ยวตาย

สาเหตุเกิดจาก
ในแปลงกล้าผักควรจะปฏิบัติดังนี้

  1. หว่านเมล็ดผักอย่าให้แน่นทึบเกินไป
  2. ใช้ยาป้องกันกำจัดเชื้อราละลายน้ำในอัตราเข้มข้นน้อยๆ รดลงไปบนผิวดินให้ทั่วสัก 1-2 ครั้ง ถ้าได้ยาเทอราคลอซึ่งเป็นยาป้องกันกําจัดเชื้อราในดินโดยตรงจะได้ผลดียิ่งขึ้น แต่โดยทั่วไปใช้ ไซเนบ มาเนบ ละลายน้ำรดก็ได้ผลบ้าง
  3. ทําทางระบายน้ำให้ดี อย่าให้มีน้ำขังแฉะในแปลงกล้า หรือยกร่องนูนสูงเพื่อให้น้ำระบายได้เร็วด้วย

หมายเหตุ ผักเกือบทุกชนิดเป็นโรคนี้

โรครานํ้าค้างของคะน้า (Downy mildew of chinese kale)

อาการ
ใบเป็นจุดละเอียดสีดําอยู่รวมกันเป้นกลุ่มเล็กๆ จุดละเอียดเหล่านี้มีราสีขาวอมเทาอ่อนคล้ายผงแป้งขึ้นเป็นกลุ่ม กระจัดกระจายทั่วไป ใบที่อยู่ตอนล่างๆ จะมีแผลเกิดก่อนแล้วลามระบาดขึ้นไปยังใบที่อยู่สูงกว่า ใบที่มีเชื้อราขึ้นเป็นกลุ่ม กระจายเต็มใบจะมีลักษณะเหลืองและร่วง หรือใบแห้ง ในเวลาที่อากาศไม่ชื้นจะไม่พบผงแป้ง และแผลแห้งเป็นสีเทาดํา โรคนี้ระบาดได้ตั้งแต่ระยะที่เป็นต้นกล้า ซึ่งจะทําความเสียหายมากเพราะมีใบเสียมาก ต้นเติบโตช้า ถ้าโรคระบาดในระยะติดฝัก ฝักอ่อนก็มีแผลแบบเดียวกับแผลบนใบ ผักไม่สมบูรณ์

สาเหตุเกิดจาก
เชื้อรา Peronospora parasitica

การป้องกัน
ให้ฉีดพ่นยาป้องกันกําจัด เช่น ยาไซเนบ มาเนบ ไดโฟลาแทน เบนเลท หรือ เบนโมบิล ดาโนบิล แคปเทน หรือ ยาชนิดอื่นที่มีสารทองแดงเป็นองค์ประกอบสารประกอบทองแดงไม่ควรใช้ในระยะที่ยังเป้นต้นกล้า เพราะเป็นพิษต่อต้นกล้า

หมายเหตุ โรคนี้ไม่ทำให้ต้นตาย ผักรับประทานใบ เช่น คะน้า ผักกาด ฯลฯ นํ้าหนักลดเพราะต้องตัดใบเป็นโรคออกเสีย ทําให้ผลผลิตตกต่ำ กะหลํ่าปลีมักเสียหายในระยะก่อนห่อเป็นหัว เมล็ดจากผักที่เป็นโรคไม่ควรเก็บไว้ทําพันธุ์ ผักหลายชนิดในตระกูลนี้พบเป็นโรคเดียวกัน

โรคแผลวงกลมสีนํ้าตาลไหม้ของคะน้า (Leaf spot of chinese kale)

อาการ
ใบมีแผลวงกลมสีนํ้าตาลซ้อนกันหลายชั้นเนื้อเยื่อรอบๆ แผลเปลี่ยนเป็นสีเหลือง ขนาดของแผลมีทั้งใหญ่และเล็กบนแผลมักจะมีเชื้อราขึ้นบางๆ มองเห็นเป็นผงสีดํา ผักบางชนิดและบางพันธุ์มีแผลที่ก้านใบเป็นจุด หรือแผลรูปวงกลมรีสีน้ำตาลดำเนื้อเยื่อบุ๋มลงไปเล็กน้อย ในที่บางแห้งพบแผลวงกลมบนฝักอ่อนด้วย ทําใหฝักอ่อนแห้งเป็นสีน้ำตาล ใบแก่ที่อยู่ตอนล่างมักจะเป็นโรคมากกว่า

สาเหตุเกิดจาก
เชื้อรา Alternaria sp.

การป้องกันกำจัด
การฉีดพ่นยาป้องกันกําจัดเชื้อราอยู่เสมอๆ จะช่วยป้องกันกําจัดเชื้อรานี้ และเชื้อราโรคอื่นๆ ด้วย ยาเกือบทุกชนิดให้ผลดี ยกเว้น ยาเบนโนมิล หรือ เบนเลท และ กํามะถันที่ไม่ให้ผลแต่อย่างใด

หมายเหตุ โรคนี้ไม่ทำให้ต้นตาย แต่ทําให้ผลิตผลตกต่ำเพราะมีใบเหลืองเน่ามาก และเกิดกับผักทุกชนิดในตระกูลนี้

โรคแผลวงกลมไหม้ของคะน้า
โรคแผลวงกลมไหม้ของคะน้า ใบมีแผลวงกลมสีนํ้าตาล

โรคแอนแทรกโนสของผักกวางตุ้ง (Anthracnose of chinese cabbage)

อาการ
ใบเป็นจุดฉํ่าน้ำสีเขียว ขอบสีน้ำตาลอ่อน และมีเนื้อเยื่อรอบแผลสีเหลือง ขนาดแผลเท่าหัวเข็มหมุด หรือใหญ่กว่าเล็กน้อยใบที่มีหลายแผลจะเหลืองและเน่าอย่างรวดเร็ว

สาเหตุเกิดจาก
เชื้อรา Gloeosporium sp.

การป้องกันกำจัด
ฉีดพ่นใบด้วยยาป้องกันกําจัดเชื้อรา เช่น ไซแนบ มาเนบ ฯลฯ สัก 1-2 ครั้ง

หมายเหตุ ผักกวางตุ้ง ผักกาดขาด เป็นโรคนี้มากกว่าผักอื่น

โรคโคนก้านใบ และต้นเน่าของผักกาดเขียวปลี (Stem canker of Rhizoctonia rot of chinese mustard)

อาการ
ลําต้นระดับดินและโคนก้านใบมีเชื้อราสีขาวนวลขึ้นเป็นแผลวงกลมหรือรูปไข่ ซึ่งขยายกว้างออกไป และเนื้อเยื่อ ตรงกลางแผลเน่าบุ๋มลึกลงไปคล้ายขนมครก และมีสีน้ำตาลอ่อนหรือสีนาตาลแก่เชื้อราจะค่อยๆ ลามเข้าไปภายใน ทําให้กาบใบที่อยู่ข้างในมีแผลเน่าด้วย ใบที่มีแผลใหญ่ที่โคนจะเหี่ยว และหักหลุดไปตรงแผล ต้นอาจตายได้ถ้าเชื้อราทําลายโคนใบและลําต้นหมด มักจะเกิดในแปลงที่มีการระบายนํ้าไม่ดี ในแปลกล้าผักจะมีโรคนี้ระบาดด้วย ผักจะเน่าเร็วขึ้นเมื่อมีเเชื้อบัคเตรีที่ทำให้ เกิดอากาารเน่าเละเข้ามาภายหลัง

สาเหตุเกิดจาก
เชื้อรา Rhizoctonia solani

การป้องกันกำจัด

  1. ทําทางระบายน้ำให้ดีอย่าให้มีน้ำขังแฉะ
  2. ควรใช้ยาป้องกันกําจัดเชื้อราละลายน้ำรดที่ผิวดิน และฉีดพ่นยาที่โคนใบ
  3. ให้ถอนต้นที่มีแผลออกไปทําลายเสีย

หมายเหตุ ผักหลายชนิดเป็นโรคนี้ด้วย ได้แก่พวก มันฝรั่ง ถั่วฝักยาว ถั่วลันเตา พริก ฯลฯ โดยมีแผลที่โคน ตัน ผักกาดเขียวปลีและผักกาดขาวพบเป็นโรคนี้มากที่สุด

โรคเหี่ยวของผักกาดขาว (Fusarium wilt of petsai chinese cabbage)

อาการ
ผักจะมีใบล่างเหลือง และเริ่มเหี่ยวสังเกตได้ง่าย คือมีใบล่างเหี่ยวแห่งซีกใดซีกหนึ่ง ทําให้ใบเบี้ยวงอไปข้างที่มีใบแห้งเหี่ยวต่อมาใบทางซีกนั้นจะเหี่ยวเพิ่มขึ้น และเหี่ยวทั่วต้นในเวลาต่อมา หรือผักเจริญเติบโตแต่เพียงซีกเดียวก่อนแล้วเหี่ยวตายทั้งเถา เมื่อถอนต้นดูรากจะขาดจากลําต้น เพราะผุเปื่อยเป็นสีน้ำตาลการใส่ปุ๋ยวิทยาศาสตร์เพื่อเร่งให้ต้นโต เมื่อถอนกล้าให้โปร่งบางตา มักจะพบกล้าผักแสดงอาการดังกล่าว

สาเหตุเกิดจาก
เชื้อรา Fusarium oxysporum

การป้องกันกำจัด
การปลูกผักจะต้องเตรียมดินให้โปร่งและมีการระบายน้ำดีและต้องมีการปรับปรุงแก้ไขดินโดยใส่ปูนขาว กากพืช ปุ๋ย ดอก การหว่านปุ๋ย เม็ดในระยะที่เป็นต้นกล้า จะทําให้เกิดอันตรายมาก จึงควรระมัดระวังให้มาก โดยใส่แต่เพียงเล็กน้อย และควรใส่ปุ๋ยที่มีสูตรอื่นๆ ด้วย เพื่อช่วยให้กล้าพืชเจริญแข็งแรง ไม่ควรจะปลูกพืชเหล่านี้ซ้ำที่ควรปลูกสลับกับพืชผักอย่างอื่นบ้าง แบบพืชหมุนเวียนกับพืชตระกูลถั่วเพื่อบํารุงดิน การใช้ยาป้องกันกําจัดในดินที่มีโรคนี้ ไม่ได้ผลคุ้มค่าแต่อย่างใด

หมายเหตุ ผักเป็นโรคได้ตั้งแต่ระยะเป็นต้นกล้าไปจนต้นโต และพบในดินเหนียวมากกว่าดินปนทราย โดยเฉพาะในดินเป็นกรดและใส่ปุ๋ยวิทยาศาสตร์มาก

โรครากเน่าของแครอท (Sclerotial root rot of carrot)

อาการ
ใบเหลืองเหี่ยวตาย เมื่อตอนต้นขึ้น มาจะพบว่า บริเวณโคนต้นระดับดินและรากเน่าเปื่อยมีเส้นใยราสีขาวขึ้นฟูทั้งบนรากและแทรกอยู่ในดิน และมีรากลมเล็กๆ สีน้ำตาลเข้มและสีขาวขึ้น ประปราย เป็นที่สังเกตได้ง่าย

สาเหตุเกิดจาก
เชื้อรา Sclerotium rolfsii

การป้องกันกำจัด
ปรับดินด้วยปูนขาวประมาณ 200-300 กิโลกรัม ต่อไร่ เพื่อลดกรดในดิน เพิ่มปุ๋ยอินทรีย์ให้มาก หลังจากใส่ปูน ขาวแล้ว ขุดต้นและดินบริเวณที่เป็นโรคออกไปเผาไฟทําลายเสีย ในหลุมที่ขุดดินไปแล้ว ให้ใส่ปูนขาวแล้วใส่ปุ๋ยอินทรีย์ และใส่ยาป้องกันกําจัดเชื้อราด้วย โดยผสมน้ำรดให้ชุ่ม เช่น ยาพีซีเอนบี หรือยาเทอราคลอ 75 ฯลฯ หมายเหตุ ผักแครอทเป็นโรคนี้มากที่สุด และมักจะพบในดินที่เป็นกรดมาก

โรครากปมของกะหล่ำปลี (Root knot of cabbage)

อาการ
ผักมีอาการแคระแกร็นไม่ค่ยยเจริญเติบโตเมือ่ ขุดรากขึ้นมาตรวจ จะพบบริเวณรากแขนงและ รากฝอยมีลักษณะบวมเป็นปมขนาดต่างๆ กัน ทําให้รากไม่สามารถหาอาหารได้ตามปกติ นอกจากนี้ ไส้เดือนฝอยตัวเมียที่เข้าไปอยู่ในปมแย่งอาหารไปจากพืชด้วย จึงทําให้พืชแคระแกร็น

สาเหตุเกิดจาก
ไส้เดือนฝอยชนิด Meloidogyne sp.

การป้องกันกำจัด

  1. ใส่ปุ๋ยอินทรีย์จาพวกปุ๋ยคอก กากพืช ฯลฯ ให้มาก
  2. ไถตากดินให้ลึก
  3. การปลูกพืชอื่น เมื่อพบศัตรูพืช ชนิดนีนี้ระบาด เช่น พวกข้าวโพด ฯลฯ สัก 1-2 ปี

หมายเหตุ ในดินเลวที่มีทรายมาก จะพบโรคนี้การใช้ยาไม่ได้ผลและไม่คุ้มค่า

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ :
http://www.eto.ku.ac.th
https://www.flickr.com

Add a Comment