โรคและแมลง ศัตรูพืชของถั่วลิสง

โรคของถั่วลิสง

ในการปลูกถั่วลิสง โรคและศัตรูพืช เป็นสาเหตุที่ทำให้ถั่วลิสงมีความเสียหาย โรคที่ระบาดและทําความเสียหายอย่างรุนแรงกับถั่วลิสงและมักพบเสมอ คือ

ถั่วลิสง
ผักสีน้ำตาล เปลือกแข็งและเปราะ

1. โรคใบจุด

มี 2 ชนิด ๆ แรกคือใบจุดสีน้ำตาล ซึ่งมักเกิดในระยะแรก และใบจุดสีดํา มัก จะระบาดในช่วงหลัง ทั้ง 2 ชนิดอาจเกิดด้วยกัน ซึ่งจะทําความเสียหายจนไม่ได้ผลผลิต เพราะว่าลําต้นจะเน่าเปื่อยก่อนแก่ และใบร่วงหล่นจนหมด ในการปลูกถั่วลิสงมักจะพบโรค ใบจุดเสมอ จึงต้องฉีดสารเคมีป้องกันไว้ก่อนที่เชื้อโรคจะปรากฏอาการให้เห็น

ลักษณะอาการของโรคทั้ง 2 ชนิดแตกต่างกันคือ โรคใบจุดสีน้ำตาลจะมีวงรอบรอยแผลสีเหลืองส่วนใบจุดสีดําจะมีรอยแผลสีดำ การป้องกันกําจัดจะต้องใช้สารเคมีเท่านั้นและต้องทําเมื่อถั่วลิสงเริ่มออกดอก หรืออย่าให้ช้ากว่านั้นมากนัก สารเคมีที่ใช้ได้ผลดี คือดาโคนิล และคาร์เบนดาซิม

2. โรคราสนิม

บางครั้ง อาจไม่ระบาดหรืออาจพบระบาดพร้อมกับโรคใบจุด จึงทําความเสียหายรุน แรงได้ อาการของโรคคือเป็นจุดเล็กๆ สีแดง บริเวณใต้ใบ ถ้าเป็นรุนแรงจะทําให้ใบร่วงและ ทําให้ผลผลิตลดลง ดังนั้น จําเป็นต้องใช้สารเคมีผสมฉีดร่วมกับสารเคมีที่ใช้ฆ่าแมลง เช่น เบ็นเลท หรือ ดาโคนีล ที่ใช้ป้องกันโรคใบจุด

3. โรคโคนเน่าขาด

เกิดจากเชื้อราที่มีอยู่ในดินเข้าทําลาย เกิดได้กับถั่วทุกระยะ บริเวณโคนเน่ามีเส้นใยสีดํา ทําให้ต้นถั่วตายเป็นหย่อมๆ ป้องกันได้โดยการใช้สารเคมีคลุกเมล็ดก้อนปลูกดังกล่าว มาแล้ว

4. โรคโคนเน่าขาว

เกิดจากเชื้อราในดินเช่นเดียวกัน แต่โคนต้นบริเวณที่เน่าจะมีเส้นใยสีขาว และมักจะพบส่วนขยายพันธุ์ของเชื้อราเป็นเม็ดเล็ก ๆ สีน้ำตาล การคลุกเมล็ดด้วยสารเคมีก่อนปลูกจะช่วยป้องกันโรคนี้ได้ดี

โรคใบจุด
โรคใบจุด ใบเป็นจุดสีน้ำตาลและมีสีเหลือง

แมลง

แมลงที่เป็นศัตรูถั่วลิสงมีหลายชนิด แต่ที่สำคัญและมักจะพบระบาดทําความเสียหาย แก่ถั่วลิสงเสมอ คือ

1. หนอนชอนใบ

ตัวเต็มวัยเป็นผีเสื้อกลางคืนซึ่งจะวางไข่บนใบถั่วลิสงและจะฟักเป็นตัวหนอนภายใน 3-5 วัน ตัวหนอนมีขนาดเล็กยาวประมาณ 0.5 เซนติเมตร อาศัยอยู่ในใบที่หนอนชักใยห่อไว้ และแทะกินผิวใบถั่วลิสงอยู่ในนั้น ใบที่ห่อนี้จะเป็นใบเดี่ยว ถ้าระบาดมากจะทําให้ต้นถั่วไม่มีใบปรุงอาหาร ต้นถั่ว ลิสงจะตายในที่สุด

2. หนอนม้วนใบ

ตัวเต็มวัยเป็นผีเสื้อ กลางคืน ซึ่งมีอยู่ 3 ชนิดที่วางไข่บนต้นถั่ว่ไข่จะฟักเป็นตัวหนอนมีขนาดใหญ่กว่าหนอนชอนใบ คือยาวประมาณ 2 เซนติเมตร หนอนจะม้วนใบถั่วหลายๆ ใบมาห่อหุ้มตัว แล้วอาศัยกัดกินใบในนั้น ถ้าระบาดมากจะทําให้ต้นถั่วตายได้เช่นเดียวกัน

ทั้งหนอนชอนใบและหนอนม้วนใบ มักจะระบาดในระยะที่ฝนทิ้งช่วงเมื่อสังเกตเห็นใบถั่วลิสงม้วนห่อถ้าคลี่ดูเห็นว่ามีตัวหนอนชนิดใดชนิดหนึ่งสามารถกําจัดได้ด้วยสารเคมีชนิดเดียวกัน คือ โมโนโครโตฟอส ซึ่งมีช่อ การค้าหลายอย่างเช่น อะโซดริน อะโกรดิน และคอมแบท โดยผสมสารเคมีเข้มข้น 0.05% ฉีดพ่นให้ทั่วทั้งแปลง

3. เพลี้ยจั๊กจั่น

ทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยจะดูดกินน้ำเลี้ยงบริเวณใต้ใบถั่ว มักระบาดในช่วงฝนทิ้ง ช่วงนานๆ ถ้าระบาดมากจะทําให้ใบแห้งตายได้ เมื่อเดินเข้าไปในไร่และพบว่า มีแมลงกระโดดออกมาจากต้นถั่วลิสง และพบว่าปลายใบถั่วมีสีเหลือง ซึ่งเป็นอาการที่แสดงให้รู้ว่ามีเพลี้ยจั๊กจั่นระบาดมากแล้ว จะต้องฉีดสารเคมีกําจัด โดยใช้สารพวกคาร์บารีล เช่น เซฟวิน อัตราความเข้มข้น 0.2 % หรือ โมโนโครโตฟอสที่ใช้กับหนอนชอนใบ หนอนม้วนใบ ความเข้มข้น 0.03% ฉีดพ่นให้ทั่ว แมลงชนิดนี้จะระบาดรุนแรงและพบบ่อยเมื่อปลูกถั่วลิสงในหน้าแล้ง

การฉีดสารเคมีป้องกันกําจัดแมลงนี้ ยังเป็นการควบคุมการระบาดของโรคถั่วลิสง บางชนิดที่มีแมลงพวกเพลี้ยอ่อนเป็นพาหะนําโรคได้ด้วย เช่น โรคใบด่าง เป็นต้น

4. เพลี้ยอ่อน

เป็นแมลงที่มีการขยายพันธุ์รวดเร็ว จะระบาดเมื่ออากาศแห้งแล้งเช่นเดียวกับ เพลี้ยจั๊กจั่น และเป็นพาหะนําโรคใบด่างถั่วลิสงได้ด้วย การใช้สารเคมีเช่นเดียวกับที่ใช้กับ แมลงศัตรูทั้ง 3 ชนิดที่กล่าวแล้ว สามารถป้องกันการระบาดของเพลี้ยอ่อนและโรคใบด่าง ได้ด้วย

5. เสี้ยนดิน

เป็นมดชนิดหนึ่ง ตัวสีน้ำตาล อาศัยอยู่ในดินใกล้ป่า จะระบาดเมื่อถั่วลิสงสร้างฝัก มดจะเจาะเข้าไปกินเมล็ดถั่วลิสงภายในหมด และมีดินมาแทนที่ ถ้าพบว่าบริเวณใดมีปัญหา เรื่องเสี้ยนดินเคยระบาด ควรใช้สารเคมีเช่น ฟูราดาน หว่านทั้งแปลงเมื่อถั่วลิสงเริ่มออกดอก และหว่านครั้งที่สองหลังจากครั้งแรกประมาณ 1 เดือน

ไม่ควรใช้สารเคมีที่มีการสลายตัวยาก เช่น ดีลดริน หรือ เอ็นดริน เพราะว่าสารเคมีเหล่านี้จะเข้าไปปนเปื้อนในเมล็ดถั่วลิสง ซึ่งมีอันตรายถึงคนและยังสะสมในดินนานเป็นการทําให้เกิดมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อมด้วย

ศัตรูอื่นๆ

ศัตรูที่สำคัญอีกชนิดหนึ่งของถั่วลิสง คือ หนู โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะมีระบาดมากถ้ามี โรงงานหรือฟาร์มเลี้ยงสัตว์ เช่น ไก่และหมูอยู่ใกล้ๆ พวกหนูจะมาขุดกินฝักถั่วลิสง ซึ่งอาจทําให้ผลผลิตลดลงกว่า 50 เปอร์เซ็นต์

การป้องกันกําจัดสามารถทําได้เช่น หลีกเลี่ยงการปลูกถั่วลิสงใกล้ๆ ฟาร์มเลี้ยงสัตว์หรือควรถากถางบริเวณใกล้กับฟาร์มเลี้ยงสัตว์ให้สะอาด ไม่รกเป็นป่า ซึ่งหนูจะอาศัยเป็นที่หลบซ่อนแล้วออกมาทําลายถั่วลิสง วิธีใช้กับดักหนูและยาพิษนั้นได้ผลในระยะแรกๆ แต่ถ้ามีปริมาณหนูมากจะได้ผลน้อย

ศัตรูอื่น
ศัตรูอื่น หนูที่จะคอยมากินถั่วลิสง

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ :
http://www.eto.ku.ac.th
https://www.flickr.com

Add a Comment