โสนหางไก่ ไม้ล้มลุกพุ่มเตี้ย เป็นวัชพืชในนาข้าว

โสนหางไก่

ชื่ออื่นๆ : โสน

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ : โสนหางไก่

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Aeschynomene aspera L.

ชื่อวงศ์ : FABACEAE (PAPILIONACEAE

ลักษณะของโสนหางไก่

ไม้ล้มลุกถึงไม้พุ่มเตี้ยฤดูเดียว สูงถึง 1.5 เมตร เปลือกลำต้นสีเขียวหรือเขียวแกมม่วง ต้นกลม มีขนนุ่มปกคลุมเบาบาง
– ใบ ใบประกอบแบบ pinnate เรียงตัวแบบสลับ ก้านใบรวมrachisยาว 3-15 ซม.
โคนก้านใบมีหูใบ 2 อัน รูปยาวรี ปลายแหลม กว้าง 1-3 มม. ยาว 5-10 มม. สีม่วงแกมเขียว
มีขนเล็กน้อย ก้านใบมีขนนุ่มปกคลุม ก้านใบ ย่อย ยาว 0.2- 0.5 มม. ใบย่อยเรียงตัวบนก้าน
แบบสลับหรือเกือบตรงข้าม ใบรูปขอบขนาน โคนใบค่อนข้างมน ปลาย ใบมนหรือแหลมเล็กน้อย
ขอบใบเรียบ ผิวใบเรียบ ใบกว้าง 0.5-2.5 มม. ยาว 2-9 มม.
– ดอก ดอกเดี่ยวหรือช่อ raceme เกิดที่ซอกใบหรือปลายกิ่ง ดอกย่อย 1-5 ดอก
ก้านช่อดอกยาว 1-5 ซม.มี ขนปกคลุม ก้านดอกย่อยยาว 2-5 มม. โคนก้านดอกย่อยมี ใบประดับ
1 อัน รูปไข่ ปลายแหลม ขอบหยัก กว้าง1-2 มม. ยาว 2-4 มม. กลีบเลี้ยง 5 กลีบ สีเขียว กลีบ
ติดกันเป็นหลอด เส้นผ่าศูนย์กลาง 1.5-2 มม. ยาว 3-4 มม. ตอนปลาย หลอดแยกเป็น 2 ปาก
2+3 แฉก กลีบดอก 5 กลีบ แยกกัน ลักษณะกลีบเป็นรูปผีเสื้อ (papilionaceous) กลีบ banner
สีเหลือง มีลายเส้นสีม่วงแดงตามยาว กลีบกว้าง 5-7 มม. ยาว 6-8 มม. กลีบ wing 2 อัน สีเหลือง
แกมเขียว กว้าง 2-3 มม. ยาว 5-6 มม. กลีบ keel 2 อันสีเหลืองแกมขาว เชื่อมติดกันเป็นกาบหุ้ม
ก้านเกสร กว้าง 1.5-2 มม. ยาว 6-8 มม. เกสรเพศผู้ 10 อัน ก้านชูอับเรณูติดกันเป็น 2 กลุ่ม กลุ่ม
ละ 5 อัน ก้านสีขาวแกมเขียวยาว 6-7 มม. อับเรณูสีเหลือง เกสรเพศเมีย 1 อัน รังไข่ superior
ovary ยาว 4-5 มม. สีเขียว ก้านเกสรยาวยาว 2-3 มม. ยอดเกสรเป็นตุ่ม
– ผลและเมล็ด ผลแห้งแบบ loment ลักษณะแบนโค้งเป็นรูปเคียว กว้าง 3.5-5 มม.
ยาว 3-5 ซม. หนา 1.5-2 มม. เปลือกผลมีผิวขรุขระเป็นปุ่มปม มีรอยคอดหยักตามตำแหน่งเมล็ด
เมล็ดค่อนข้างกลม เส้นผ่าศูนย์กลาง 1- 1.5 มม. จำนวนเมล็ด 5-10 เมล็ดต่อผล ผลหักตามรอยคอด

โสนหางไก่
โสนหางไก่ ใบรูปรี ปลายแหลม มีขนเล็กน้อย ดอกสีเหลือง

การขยายพันธุ์ของโสนหางไก่

ใช้เมล็ด

ธาตุอาหารหลักที่โสนหางไก่ต้องการ

ประโยชน์ของโสนหางไก่

จัดเป็นวัชพืชในนาข้าว

สรรพคุณทางยาของโสนหางไก่

คุณค่าทางโภชนาการของโสนหางไก่

การแปรรูปของโสนหางไก่

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=10558&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

Add a Comment