ใบแมงดา ยอดอ่อนและใบแก่ นำมารับประทานได้

ใบแมงดา

ชื่ออื่นๆ : ชะมัง แมงดาต้น

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ : ทำมัง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Litsea petiolata Hook

ชื่อวงศ์ : LAURACEAE

ลักษณะของใบแมงดา

ทำมัง เป็นไม้ป่ายืนต้นขนาดกลาง แผ่กิ่งก้านออกเป็นทรงพุ่ม สูงประมาณ 20-30
เมตร ไม่ผลัดใบ เจริญเติบโตช้า เปลือกลำต้นสีน้ำตาลจนถึงเทา ใบ เดี่ยวรูปไข่
ยาวรี ปลายใบทู่จนถึงแหลม กว้าง 3-9 ซม.ยาว 6-20 ซม. ก้านใบเรียวยาว 1-2.5
ซม. แผ่นใบบางเป็นมัน มีเส้นแขนงใบ 4-12 คู่ มองเห็นชัดเจนจากด้านท้องใบบน
ใบมีต่อมน้ำมัน และมีกลิ่นฉุนเหมือนกลิ่นแมงดา ใบแก่ จะมีกลิ่นแรงมากกว่าใบ
อ่อน ดอก ออกเป็นช่อมีขนาดเล็กมาก ออกที่ซอกใบปลายกิ่ง ผล มีรูปไข่ยาว
1 ซม. เมื่อผลแก่มีสีน้ำตาลแดง ภายในผลมีเมล็ด เพียงเมล็ดเดียว

ใบแมงดา
ใบสีเขียวสดเป็นมัน ผิวใบด้านล่างสีเขียวนวล

การขยายพันธุ์ของใบแมงดา

ใช้เมล็ด/-

ธาตุอาหารหลักที่ใบแมงดาต้องการ

ประโยชน์ของใบแมงดา

ยอดอ่อน ใบเพสลาด กินเป็นผักจิ้มน้ำพริก หรือ ใส่ในแกงเผ็ด ใบแก่ นำมาย่าง
ไฟ แล้วตำผสมลงในน้ำพริก จะได้น้ำพริกกลิ่นแมงดา ไม้ทำมัง นำมาทำเป็นสาก
ตำน้ำพริกจะช่วยให้น้ำพริกมีกลิ่นแมงดาอ่อนๆ และนอกจากนั้น คนไทยถิ่นใต้ใน
สมัยก่อน นิยมปลูกทำมัง ไว้ตามบ้านเรือน เพราะถือว่าเป็นไม้มงคล

สรรพคุณทางยาของใบแมงดา

คุณค่าทางโภชนาการของใบแมงดา

การแปรรูปของใบแมงดา

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11776&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

One Comment

Add a Comment