ใบแมงลัก มีสรรพคุณบำรุงเลือด บำรุงผิวพรรณ บำรุงสายตา

ใบแมงลัก

ชื่ออื่นๆ : ก้อมก้อข้าว (ภาคเหนือ), มังลัก อีตู่ (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) เป็นต้น

ต้นกำเนิด : เขตร้อนของทวีปเอเชีย

ชื่อสามัญ : ใบแมงลัก

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ocimum basilicum L.f. var. citratum Back.

ชื่อวงศ์ : LAMIACEAE หรือ LABIATAE

ลักษณะของใบแมงลัก

ต้น ไม้ล้มลุกอายุสั้นฤดูเดียว ลำต้นตั้งตรง แตกกิ่งก้านมาก มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว สูง 0.3-1 เมตร ลำต้นและกิ่งก้านเป็นสี่เหลี่ยม สีเขียวแกมเหลือง เมื่อยังอ่อนอยู่มีขนสีขาวหนาแน่น

ใบ ใบเดี่ยวออกเรียงตรงข้าม เป็นรูปหอกถึงวงรี กว้าง 1-2.5 เซนติเมตร ยาว 2.5-5 เซนติเมตร โคนใบรูปลิ่ม ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ ผิวใบเรียบ มีต่อมมันทั่วไป ก้านใบยาวได้ถึง 2.5 เซนติเมตร

ดอก ดอกเป็นช่อยาวได้ถึง 15 เซนติเมตร ประกอบด้วยช่อดอกย่อยออกเป็นกระจุกๆ ละ 3 ดอก ข้อละ 2 กระจุก ใบประดับรูปวงรีแกมใบหอก ยาว 2-3 มิลลิเมตร มีขน ก้านดอกย่อยยาวได้ถึง 4 มิลลิเมตร กลีบเลี้ยงเชื่อมติดกันปลายแยกเป็น 2 พู กลีบดอกสีขาว เชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 2 ปาก ยาว 4-6 มิลลิเมตร มีเกสรตัวผู้ 4 อัน ยาว 2 อัน สั้น 2 อัน เกสรตัวเมียมีไข่ 4 อัน รังไข่เว้าเป็น 4 พู

ผล ผลแห้งประกอบด้วยผลย่อย 4 ผล มีกลีบเลี้ยงหุ้มอยู่ ผลย่อยทรงรูปไข่ สีดำ กว้าง 1 มิลลิเมตร ยาว 1.25 มิลลิเมตร

ต้นแมงลัก
ต้นแมงลัก ลำต้นตั้งตรง แตกกิ่งก้านมาก มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว
ดอกใบแมงลัก
ดอกใบแมงลัก กลีบดอกสีขาว เชื่อมติดกันเป็นหลอด

การขยายพันธุ์ของใบแมงลัก

ปักชำ,เพาะเมล็ด

ธาตุอาหารหลักที่ใบแมงลักต้องการ

ประโยชน์ของใบแมงลัก

ใบแมงลัก มีกลิ่นหอม นิยมนำมาทำอาหาร เช่น แกงเลียง แกงหน่อไม้ ซึ่งต้นแมงลักนำมาใช้ประโยชน์บริโภคใบสดและเมล็ด

สรรพคุณทางยาของใบแมงลัก

มีสรรพคุณเป็นยาระบายอ่อนๆ ช่วยลดอาการท้องผูก ช่วยย่อยอาหาร เสริมสร้างกระดูก ป้องกันโรคข้อเข่าเสื่อม ช่วยควบคุมน้ำหนัก ส่วนใบแมงลักมีสรรพคุณบำรุงเลือด บำรุงผิวพรรณ บำรุงสายตา ป้องกันโรคมะเร็ง ช่วยขับเสมหะ ขับลมในกระเพาะอาหาร ทั้งนี้ไม่ควรรับประทานเมล็ดแมงลักพร้อมกับยา เพราะเมล็ดแมงลักอาจดูดสรรพคุณของยาได้

ผลแมงลักว่าเม็ดแมงลัก ใช้เป็นยาระบายชนิดเพิ่มกาก เพราะเปลือกผลมีสารเมือกซึ่งสามารถพองตัวในน้ำได้ 45 เท่า เหมาะสำหรับ ผู้ที่ไม่ชอบกินอาหารที่มีกากเช่น ผัก ผลไม้ ใช้ผลแมงลัก 1-2 ช้อนชา แช่น้ำ 1 แก้ว จนพองตัวเต็มที่ กินก่อนนอน ถ้าผลแมงลักพองตัวไม่เต็มที่จะทำให้ท้องอืดและอุจจาระแข็ง จากการทดลองพบว่าแมงลักทำให้จำนวนครั้งในการถ่ายและปริมาณอุจจาระเพิ่มขึ้น รวมทั้งทำให้อุจจาระอ่อนตัวกว่าปกติ นอกจากนี้ใบและต้นสดมีฤทธิ์ขับลม เนื่องจากมีน้ำมันหอมระเหย

ส่วนที่ใช้ : เมล็ด และใบ

  • เมล็ด ออกฤทธิ์เป็นยาระบาย โดยการเพิ่มปริมาตรของกากอาหารกระตุ้นการบีบตัวของลำไส้
  • ใบ ใช้ขับลม

วิธีและปริมาณที่ใช้
รับประทานครั้งละ 1-2 ช้อนชา แช่น้ำให้พอง แล้วดื่มก่อนนอน จะช่วยทำให้ระบาย เป็นยาถ่าย

คุณค่าทางโภชนาการของใบแมงลัก

คุณค่าทางโภชนาการของใบแมงลัก ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 32 แคลอรี
มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย

  • แคลเซียม 350 มิลลิกรัม
  • ฟอสฟอรัส 86 มิลลิกรัม
  • ธาตุเหล็ก 4.9 มิลลิกรัม
  • วิตามินเอ 10,666 มิลลิกรัม
  • ไทอามีน 0.30 มิลลิกรัม
  • ไรโบฟลาวิน 0.14 มิลลิกรัม
  • ไนอาซิน 1.0 มิลลิกรัม
  • วิตามินซี 78 มิลลิกรัม
  • กากใยอาหาร 2.6 กรัม
  • คาร์โบไฮเดรต 11.1 กรัม
  • ไขมัน 0.8 กรัม
  • โปรตีน 2.9 กรัม

คุณค่าทางโภชนาการของเม็ดแมงลัก ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 420 กิโลแคลอรี่ มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย

  • คาร์โบไฮเดรต 54 กรัม
  • โปรตีน 15 กรัม
  • ไขมัน 16 กรัม
  • กากใยอาหาร 54 กรัม

การแปรรูปของใบแมงลัก

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9980&SystemType=BEDO
https:// adeq.or.th
http:// siweb.dss.go.th
https://www.flickr.com

One Comment

Add a Comment