ผักฮ้วนหมู ยอดอ่อน ใบอ่อน ดอกอ่อน นำมาต้มหรือลวกให้สุกเป็นผักร่วมกับน้ำพริก

ผักฮ้วนหมู

ชื่ออื่นๆ :  กระทุงหมาบ้า, กระทงหมาบ้า, คันชุนสุนัขบ้า(ภาคกลาง) ผักฮ้วนหมู, เครือเขาหมู (ภาคเหนือ) ม่วนหูกวาง (เพชรบุรี)

ชื่อสามัญ : –

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dregea volubilis Stapf.

ชื่อวงศ์ : ASCLEPIADACEAE

ลักษณะของผักฮ้วนหมู

ต้น  เป็นไม้เถาเลื้อยเนื้อแข็งและมีอายุหลายปี เถาอ่อนลักษณะกลมสีเขียวเข้มผิวเรียบ มีจุดกระสีน้ำตาลอ่อนกระจายอยู่ทั่วไป เถาเมื่อแก่จะเป็นสีน้ำตาลเข้มลำต้นมีรอยแตกหรือมีร่องเล็กๆ แตกตามความยาวของต้น มีจุดสีขาวอยู่ที่ผิวของลำต้น มียางสีขาว

ใบ  เป็นใบเดี่ยวออกตามข้อเป็นคู่ตรงข้ามกัน ใบรูปหัวใจไม่มีหูใบ ขอบใบเรียบหรือเป็นคลื่นเล็กน้อย ปลายใบเรียวแหลมโคนใบเว้าเข้าหากันคล้ายใบโพธิ์ ใบสีเขียว หลังใบสีเขียวอ่อนกว่าหน้าใบเล็กน้อยใบเป็นในและเห็นเส้นกลางใบชัดเจน ใบกว้าง 4-17.5 ซม. ยาว 6-21.5 ซม.

ดอก  เป็นดอกช่อกลีบดอกสีเขียวอ่อนหรือสีเขียวอมเหลือง ออกเป็นช่อตามซอกใบหรือตามข้อ แต่ละช่อมีดอกย่อยมากกว่า 20 ดอก และเป็นดอกสมบูรณ์เพศ กลีบเรียง 5 กลีบ แยกกันหรือติดกันที่ฐานเล็กน้อย กลีบดอก 4-5 กลีบ ติดกันเป็นท่อที่โคนเวลากลีบดอกจะกางออก ดอกขนาดเล็กกว้างประมาณ 0.5-1 ซม. ก้านดอกยาวประมาณ 1-3 ซม.

ผล เป็นฝักคู่รูปหอกปลายผลตัดสีเขียวอ่อน มีจุดกระสีน้ำตาลกระจายตามผิวของฝักทั่วไป ออกตรงข้ามกัน เมล็ดมีพู่ปลิวไปตามลม

ต้นผักฮ้วน
ต้นผักฮ้วนหมู ไม้เถาเลื้อย เถามีสีเขียวเข้ม

การขยายพันธุ์ของผักฮ้วนหมู

เมล็ด ปักชำเถา

ธาตุอาหารหลักที่ผักฮ้วนหมูต้องการ

ดินร่วนระบายน้ำดี ชอบที่ชื้น ทนแล้งได้ดี

ประโยชน์ของผักฮ้วนหมู

ยอดอ่อน ใบอ่อน ดอกอ่อน นำมาต้มหรือลวกให้สุกเป็นผักร่วมกับน้ำพริก และนำมา ปรุงอาหาร เช่น แกงกับปลาแห้ง

ดอกผักฮ้วน
ดอกผักฮ้วนหมู ดอกสีเขียวอ่อนหรือสีเขียวอมเหลือง ออกเป็นช่อตามซอกใบหรือตามข้อ

สรรพคุณทางยาของผักฮ้วนหมู

ราก  ใช้กระทุ้งพิษ ดับพิษร้อน ถอนพิษไข้พิษฝี แก้ปัสสาวะพิการ แก้ดีกำเริบ ซึ่งมีอาการหลับๆ ตื่นๆ เพ้อ ละเมอ และช่วยให้นอนหลับ

คุณค่าทางโภชนาการของผักฮ้วนหมู

การแปรรูปของผักฮ้วนหมู

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11610&SystemType=BEDO
www.flickr.com

One Comment

Add a Comment