ข้าวเจ้าพันธุ์
3. กข43

- กข43-1.jpg (51.2 KiB) Viewed 5023 times

- กข43-2.jpg (50.76 KiB) Viewed 5023 times
ประวัติ
ข้าวเจ้าพันธุ์ุ กข43 ได้จากการผสมเดี่ยวระหว่างพันธุ์ข้าวเจ้าหอมสุพรรณบุรี และพันธุ์สุพรรณบุรี 1 ที่ศูนย์วิจัยข้าวสุพรรณบุรี ในฤดูนาปรัง พ.ศ. 2542 และปลูกคัดเลือกชั่วที่ 2-7
จนได้สายพันธุ์ SPR99007-22-1-2-2-1 ปลูกทดสอบผลผลิตในสถานี ระหว่างสถานี ในนาราษฎร์ ทดสอบความต้านทานต่อโรคและแมลงศัตรูข้าว วิเคราะห์คุณภาพเมล็ดทางกายภาพและเคมีทดสอบการตอบสนองต่อปุ๋ยไนโตรเจน ทดสอบเสถียรภาพการให้ผลผลิตในสภาพที่แตกต่างกัน ทดสอบศักยภาพผลผลิตในนาเกษตรกรและประเมินการยอมรับของเกษตรกรภาคกลาง ตั้งแต่ปี 2546จนถึงปี 2551 คณะกรรมการพิจารณาพันธุ์ กรมการข้าว มีมติรับรองพันธุ์ชื่อ กข43 เพื่อแนะนำให้เกษตรกรปลูก เมื่อวันที่ 17กันยายน 2552
ลักษณะประจำพันธุ์
เป็นข้าวเจ้าไม่ไวต่อช่วงแสง อายุเก็บเกี่ยวสั้น ประมาณ 95 วันปลูกโดยวิธีหว่านน้ำตม ความสูงประมาณ 103 ซม. ทรงกอตั้งต้นค่อนข้างแข็ง ใบสีเขียวจาง ใบธงเอนปานกลาง ข้าวเปลือกสีฟางยาว 10.90 มิลลิเมตร กว้าง 2.63 มิลลิเมตร หนา 2.10 มิลลิเมตร น้ำหนักข้าวเปลือก 1,000 เมล็ด 30.40 กรัม ข้าวกล้องสีขาว รูปร่างเรียว ยาว 7.59 มิลลิเมตร กว้าง 2.18 มิลลิเมตร หนา1.85 มิลลิเมตร ท้องไข่น้อย มีปริมาณอะมิโลสตํ่า (18.82 %) คุณภาพของเมล็ดทางการหุงต้มรับประทานดี ข้าวสุกนุ่มเหนียวมีกลิ่นหอมอ่อน มีระยะพักตัว 5 สัปดาห์
ผลผลิต
ประมาณ 561 กิโลกรัมต่อไร่
ลักษณะเด่น
1. อายุการเก็บเกี่ยวสั้น95 วันเมื่อปลูกโดยวิธีหว่านน้ำตม
2. คุณภาพของเมล็ดทางการหุงต้มรับประทาน ดี ข้าวสุกนุ่มมีกลิ่นหอมอ่อน
3. ค่อนข้างต้านทานต่อโรคไหม้และเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล
พื้นที่แนะนำ
พื้นที่นาชลประทาน พื้นที่ที่มีน้ำท่วมขังเป็นเวลานานและเกษตรกรมีช่วงเวลาในการทำนาน้อยกว่าพื้นที่ปลูกข้าวอื่น ๆและ/หรือพื้นที่ที่มีปัญหาข้าววัชพืชระบาด
ข้อควรระวัง
เนื่องจากเป็นข้าวอายุการเก็บเกี่ยวสั้นไม่ควรปลูกร่วมกับข้าวที่มีอายุต่างกันมากอาจจะเสียหายจากการทำลายของนกและหนูได้ ข้าวพันธุ์ุนี้มีลำต้นเล็กการใส่ปุ๋ยอัตราสูงอาจทำให้ข้าวล้มได้และข้าวพันธุ์ุนี้อ่อนแอต่อโรคไหม้ที่พิษณุโลก