ปอกะบิด แก้ท้องร่วง แก้บิดขับเสมหะ แก้ปวดเคล็ดบวม โรคเบาหวาน

ตอบกระทู้


คำถามนี้ เพื่อป้องกันการส่งแบบอัตโนมัติจากสแปมบอท
รูปแสดงอารมณ์
:D :) ;) :( :o :shock: :? 8-) :lol: :x :P :oops: :cry: :evil: :twisted: :roll: :!: :?: :idea: :arrow: :| :mrgreen: :geek: :ugeek:

BBCode เปิด
[img] เปิด
[flash] ปิด
[url] เปิด
[Smile icon] เปิด

กระทู้แนะนำ
   

มุมมองที่ขยายได้ กระทู้แนะนำ: ปอกะบิด แก้ท้องร่วง แก้บิดขับเสมหะ แก้ปวดเคล็ดบวม โรคเบาหวาน

Re: ปอกะบิด

โดย KasetTaln » จันทร์ 08 เม.ย. 2013 6:43 pm

วันนี้เราต้มปอกะบิดดื่มกับแม่
เลยเอาภาพมาฝาก ในหม้อมี 3 ลิตร แต่เราแบ่งต้มทีละ 1 ลิตร
ใช้ฝักปอกะบิด 10 ฝักต่อน้ำ 1ลิตร ต้มจนน้ำเป็นสีชา หรือประมาณ 15 นาที
จากนั้นเทน้ำออกเอาน้ำใหม่ใส่ ต้มเหมือนเดิม สำหรับ 10 ฝักต้มได้ 3 น้ำ
รอจนเย็น เทใส่ขวดเก็บเข้าตู้เย็น ดื่มแทนน้ำ หรือจะทานเป็นชาร้อนก็ได้จ้า
2013-04-08 17.22.20-1.jpg
2013-04-08 17.22.20-1.jpg (37.22 KiB) Viewed 4066 times

Re: ปอกะบิด

โดย KasetTaln » อาทิตย์ 03 ก.พ. 2013 10:47 pm

มีเพื่อนเราต้มกินแทนน้ำทุกวันเลย ตอนแรกเริ่มกินเพราะชาที่มือ ทานได้3เดือนก็ดีขึ้น แถมยังน้ำหนักลด
ลงไปอีกเกือบสิบโลแน่ะ
ตอนนี้เราก็ต้มกินอยู่เหมือนกัน เพิ่งเริ่มอ่ะ ไว้ทานได้ซักพัก ผลเป็นไงจะรายงานอีกทีนะคะ

ปอกะบิด แก้ท้องร่วง แก้บิดขับเสมหะ แก้ปวดเคล็ดบวม โรคเบาหวาน

โดย BabyPink » พฤหัสฯ. 31 ม.ค. 2013 2:40 pm

ปอบิด( East Indian screw tree )

ปอบิด Helicteres isora (L.) มีชื่อเรียกแตกต่างกันไปตามพื้นที่ปลูก มะบิด (ภาคเหนือ) ปอทับ (เชียงใหม่) ช้อ (กะเหรี่ยง-เชียงใหม่) ข้าวจี่ (ลาว) ห้วยเลาะมั่ว (จีนแต้จิ๋ว) หั่วลั่งหมา (จีนกลาง) นาคพต มะปิด
แต่ที่เราได้ยินกันบ่อยๆช่วงนี้คือชื่อ ปอกะบิด ค่ะ ในตำรายาไทยสามารถใช้เป็นพืชสมุนไพรสำหรับรักษาโรคได้หลายชนิด


ลักษณะทั่วไป
ปอบิดเป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก มีความสูงประมาณ 1-3 เมตร มีขนสีน้ำตาลปกคลุมทั่วทุกส่วน ลำต้นกลม เรียว อ่อนคล้ายเถา บริเวณส่วนเปลือกมีสีเทาและมียางเหนียว ใบเป็นใบเดี่ยวรูปไข่ แผ่นใบสาก ท้องใบจะมีขน กว้าง 2.5-3.5 นิ้ว ยาว 4-8 นิ้ว ม้วนเว้าเข้าหากัน ขอบใบหยักเป็นแบบฟันปลา ดอกจะมีสีส้มหรือสีแดงอิฐ จะออกเป็นกระจุกระหว่างต้นกับใบ กระจุกละประมาณ 2-3 ดอก แต่ละดอกมีใบประดับขนาดเล็กรองรับ มีกลีบรองกลีบดอกสีเหลือง มีกลีบดอก 5 กลีบ กลีบคู่บนมีขนาดใหญ่กว่ากลีบอื่น ปลายกลีบมน มีทั้งเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมีย เกสรตัวผู้มีสีเหลือง มี 10 อันเชื่อมรวมกับก้านของเกสรตัวเมีย ผล มีลักษณะเป็น ฝักยาว กลม บิดเป็นเกลีบวมีทั้งบิดซ้ายและบิดขวา ยาว 3-4 เซนติเมตร ออกผลประมาณเดือนธันวาคม-มกราคม เมื่อแก่จะมีสีน้ำตาลหรือสีดำ แก่เต็มที่ฝักจะอ้าออก


การขยายพันธุ์ ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด

แหล่งที่พบ
พบทั่วไปในป่าเบญจพรรณแล้ง ป่าเต็งรัง ที่รกร้างว่างเปล่า ตั้งแต่ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย อินเดีย จีนตอนใต้จนถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่ระดับความสูง 100-400 เมตร


สรรพคุณ
ราก ใช้ต้มเอาน้ำกิน รสฝาดเฝื่อน บำรุงธาตุ แก้ท้องร่วง แก้บิด ขับเสมหะ แก้ปวดเคล็ดบวม โรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิต
เปลือกลำต้น มีสารเฮมิเซลลูโลส 15.8%, ลิกนิน 2.89%, เซลลูโลส 18.6%, เพคติน 0.4%, น้ำมัน 3.11%, กรดไฮดรอกซี่คาร์บอซีลิค, ไฟโตสเตอรอล, phobatanin ใช้เปลือกลำต้นนำมาต้มเป็นยาแก้โรคบิด ท้องร่วง และเป็นยาบำรุงธาตุ
ฝัก แก้บิด แก้ปวดท้อง แก้โรคลำไส้ในเด็ก
แก่น รสจืดเฝื่อน บำรุงน้ำเหลือง บำรุงกำลัง แก้เสมหะ แก้น้ำเหลืองเสีย
ผล ใช้ผลแห้ง 10-15 กรัม มาต้มเอาน้ำกินแก้ท้องอืด แก้ปวดเคล็ดบวม แก้เสมหะ แก้ลงแดง กระเพาะอาหารเป็นแผล อักเสบ หรือเรื้อรัง


ขอขอบคุณข้อมูลจาก วิกิพีเดีย

ข้างบน