เตือนเกษตรกรเฝ้าระวังโรค'เมล็ดด่าง'โรคเมล็ดด่างของข้าวมักเกิดกับข้าวระยะใกล้ออกดอกและอากาศชื้นจัด ท้องฟ้าครึ้มติดต่อกัน สาเหตุเกิดจากเชื้อราเข้าไปทำลายและพัฒนาทำให้เกิดอาการเมล็ดด่างและเมล็ดลีบในช่วงใกล้เก็บเกี่ยว ทำให้ลดลงทั้งผลผลิตและคุณภาพควรป้องกันโดยใช้สารกำจัดเชื้อราพ่น เช่น โปรพิโคนาโซล+ไดฟีโนโคนาโซลหรือโปรฟิโคนาโซล+โปคลอลาสหรือคาร์เบนดาซิม-อีพ็อกซี่โคนาโซล หรือฟลูซิลาโซล หรือทีบูโคนาโซล ตามอัตราที่ระบุ
สำหรับอาการของต้นข้าวที่ได้รับผลกระทบจากอากาศเย็นประมาณ 15-20 องศาเซลเซียสนั้น หากเกิดขึ้นกับข้าวที่อยู่ในระยะกล้า จะทำให้ต้นข้าวชะงักการเจริญเติบโต แคระ แกร็น ใบเหลือง และข้าวในระยะออกดอก ช่อดอกอาจโผล่ไม่พ้นใบธง กรณีที่อุณหภูมิลดต่ำกว่า22องศาเซลเซียส ในระยะผสมเกสร จะทำให้ไม่ติดและเกิดเป็นเมล็ดลีบแต่ไม่ควรตื่นตระหนกและไม่ควรใส่ปุ๋ยหรือสารเคมีกำจัดศัตรูข้าวขอให้ติดตามสภาพอากาศจากกรมอุตุนิยมวิทยาอย่างใกล้ชิดหากอากาศเริ่มอุ่นขึ้นต้นข้าวจะเจริญเติบโตได้ตามปกติแต่หากยังชะงักการเจริญเติบโตควรรีบปรึกษานักวิชาการจากหน่วยงานกรมการข้าวในพื้นที่ หรือศูนย์บริการชาวนา50แห่งทั่วประเทศ ในวันและเวลาราชการ
โรคเมล็ดด่าง (Dirty Panicle Disease) ในข้าว

- รูปภาพ2.jpg (22.78 KiB) Viewed 2309 times
พบมาก ใน นาชลประทาน ภาคกลาง ภาคตะวันตก ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ ภาคใต้
สาเหตุ เชื้อรา Curvularia lunata (Wakk) Boed.

- เชื้อราสาเหตุ.jpg (9.92 KiB) Viewed 2309 times
เชื้อราสาเหตุ
Cercospora oryzae I.Miyake
Helminthosporium oryzae Breda de Haan.
Fusarium semitectum Berk & Rav.
Trichoconis padwickii Ganguly
Sarocladium oryzae
อาการ ในระยะออกรวง พบแผลเป็นจุดสีน้ำตาลหรือดำที่เมล็ดบนรวงข้าว บางส่วนก็มีลายสีน้ำตาลดำ และบางพวกมีสีเทาปนชมพู ทั้งนี้เพราะมีเชื้อราหลายชนิดที่สามารถเข้าทำลายและทำให้เกิดอาการต่างกันไป การเข้าทำลายของเชื้อรามักจะเกิดในช่วงดอกข้าวเริ่มโผล่จากกาบหุ้มรวงจนถึงระยะเมล็ดข้าวเริ่มเป็นน้ำนม และอาการเมล็ดด่าง จะปรากฏเด่นชัดในระยะใกล้เก็บเกี่ยว
การแพร่ระบาด เชื้อราสามารถแพร่กระจายไปกับลม ติดไปกับเมล็ด และอาจสามารถแพร่กระจายในยุ้งฉางได้
การป้องกันกำจัด
• ควรเฝ้าระวังการเกิดโรคถ้าปลูกข้าวพันธุ์ที่อ่อนแอต่อโรคนี้ เช่น สุพรรณบุรี 60 สุพรรณบุรี 90 พิษณุโลก 2 และข้าวเจ้าหอมคลองหลวง 1
• เมล็ดพันธุ์ที่ใช้ปลูก ควรคัดเลือกจากแปลงที่ไม่เป็นโรค
• คลุกเมล็ดพันธุ์ด้วยสารป้องกันกำจัดเชื้อรา เช่น คาร์เบนดาซิม หรือ แมนโคเซ็บ
ในอัตรา 3 กรัม /เมล็ดพันธุ์ 1 กิโลกรัม
• ในระยะที่ต้นข้าวตั้งท้องใกล้ออกรวงเมื่อพบอาการใบจุดสีน้ำตาลที่ใบธง และโรคกาบใบเน่า ถ้ามีฝนตกชุก ควรวางมาตรการป้องกันแต่ต้นมือ โดยพ่นสารป้องกันกำจัดเชื้อรา เช่น
โปรพิโคนาโซล + ไดฟีโนโคนาโซล โปรพิโคนาโซล + โพคลอราซล คาร์เบนดาซิม + อีพ๊อกซี่โคนาโซล ฟลูซิลาซอล ทีบูโคนาโซล โพคลอราซล + คาร์เบนดาซิม แมนโคเซ็บ + ไทโอฟาเนต – เมทิล ตามอัตราที่ระบุ
เตือนเกษตรกรเฝ้าระวังโรค'เมล็ดด่าง'โรคเมล็ดด่างของข้าวมักเกิดกับข้าวระยะใกล้ออกดอกและอากาศชื้นจัด ท้องฟ้าครึ้มติดต่อกัน สาเหตุเกิดจากเชื้อราเข้าไปทำลายและพัฒนาทำให้เกิดอาการเมล็ดด่างและเมล็ดลีบในช่วงใกล้เก็บเกี่ยว ทำให้ลดลงทั้งผลผลิตและคุณภาพควรป้องกันโดยใช้สารกำจัดเชื้อราพ่น เช่น โปรพิโคนาโซล+ไดฟีโนโคนาโซลหรือโปรฟิโคนาโซล+โปคลอลาสหรือคาร์เบนดาซิม-อีพ็อกซี่โคนาโซล หรือฟลูซิลาโซล หรือทีบูโคนาโซล ตามอัตราที่ระบุ
สำหรับอาการของต้นข้าวที่ได้รับผลกระทบจากอากาศเย็นประมาณ 15-20 องศาเซลเซียสนั้น หากเกิดขึ้นกับข้าวที่อยู่ในระยะกล้า จะทำให้ต้นข้าวชะงักการเจริญเติบโต แคระ แกร็น ใบเหลือง และข้าวในระยะออกดอก ช่อดอกอาจโผล่ไม่พ้นใบธง กรณีที่อุณหภูมิลดต่ำกว่า22องศาเซลเซียส ในระยะผสมเกสร จะทำให้ไม่ติดและเกิดเป็นเมล็ดลีบแต่ไม่ควรตื่นตระหนกและไม่ควรใส่ปุ๋ยหรือสารเคมีกำจัดศัตรูข้าวขอให้ติดตามสภาพอากาศจากกรมอุตุนิยมวิทยาอย่างใกล้ชิดหากอากาศเริ่มอุ่นขึ้นต้นข้าวจะเจริญเติบโตได้ตามปกติแต่หากยังชะงักการเจริญเติบโตควรรีบปรึกษานักวิชาการจากหน่วยงานกรมการข้าวในพื้นที่ หรือศูนย์บริการชาวนา50แห่งทั่วประเทศ ในวันและเวลาราชการ
[b]โรคเมล็ดด่าง (Dirty Panicle Disease) ในข้าว[/b]
[attachment=1]รูปภาพ2.jpg[/attachment]
พบมาก ใน นาชลประทาน ภาคกลาง ภาคตะวันตก ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ ภาคใต้
สาเหตุ เชื้อรา Curvularia lunata (Wakk) Boed.
[attachment=0]เชื้อราสาเหตุ.jpg[/attachment]
เชื้อราสาเหตุ
Cercospora oryzae I.Miyake
Helminthosporium oryzae Breda de Haan.
Fusarium semitectum Berk & Rav.
Trichoconis padwickii Ganguly
Sarocladium oryzae
อาการ ในระยะออกรวง พบแผลเป็นจุดสีน้ำตาลหรือดำที่เมล็ดบนรวงข้าว บางส่วนก็มีลายสีน้ำตาลดำ และบางพวกมีสีเทาปนชมพู ทั้งนี้เพราะมีเชื้อราหลายชนิดที่สามารถเข้าทำลายและทำให้เกิดอาการต่างกันไป การเข้าทำลายของเชื้อรามักจะเกิดในช่วงดอกข้าวเริ่มโผล่จากกาบหุ้มรวงจนถึงระยะเมล็ดข้าวเริ่มเป็นน้ำนม และอาการเมล็ดด่าง จะปรากฏเด่นชัดในระยะใกล้เก็บเกี่ยว
การแพร่ระบาด เชื้อราสามารถแพร่กระจายไปกับลม ติดไปกับเมล็ด และอาจสามารถแพร่กระจายในยุ้งฉางได้
การป้องกันกำจัด
• ควรเฝ้าระวังการเกิดโรคถ้าปลูกข้าวพันธุ์ที่อ่อนแอต่อโรคนี้ เช่น สุพรรณบุรี 60 สุพรรณบุรี 90 พิษณุโลก 2 และข้าวเจ้าหอมคลองหลวง 1
• เมล็ดพันธุ์ที่ใช้ปลูก ควรคัดเลือกจากแปลงที่ไม่เป็นโรค
• คลุกเมล็ดพันธุ์ด้วยสารป้องกันกำจัดเชื้อรา เช่น คาร์เบนดาซิม หรือ แมนโคเซ็บ
ในอัตรา 3 กรัม /เมล็ดพันธุ์ 1 กิโลกรัม
• ในระยะที่ต้นข้าวตั้งท้องใกล้ออกรวงเมื่อพบอาการใบจุดสีน้ำตาลที่ใบธง และโรคกาบใบเน่า ถ้ามีฝนตกชุก ควรวางมาตรการป้องกันแต่ต้นมือ โดยพ่นสารป้องกันกำจัดเชื้อรา เช่น
โปรพิโคนาโซล + ไดฟีโนโคนาโซล โปรพิโคนาโซล + โพคลอราซล คาร์เบนดาซิม + อีพ๊อกซี่โคนาโซล ฟลูซิลาซอล ทีบูโคนาโซล โพคลอราซล + คาร์เบนดาซิม แมนโคเซ็บ + ไทโอฟาเนต – เมทิล ตามอัตราที่ระบุ