พันธุ์รับรอง ข้าวเจ้าพันธุ์
7. กข35 (รังสิต 80)

- กข35-1.jpg (74.64 KiB) Viewed 16120 times

- กข35-2.jpg (34.53 KiB) Viewed 16120 times
ประวัติ
กข35 (รังสิต 80) ได้จากการผสมพันธุ์สามทางระหว่างลูกผสมชั่วที่ 1 ของสายพันธุ์ IR5201-65-1-2 และพันธุ์ปิ่นแก้วเบา 27 กับพันธุ์เจ้าเหลือง 11 ที่ศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี เมื่อ พ.ศ. 2522-2523 ปลูกคัดเลือกพันธุ์ผสมชั่วที่ 2 แบบรวม (bulk) และ ชั่วที่ 3-6 แบบสืบตระกูล(pedigree) ในปี พ.ศ.2525-2529 ได้สายพันธุ์ RSTLR79009-43-1-1-5 ปลูกศึกษาพันธุ์และเปรียบเทียบผลผลิตภายในสถานี ทดสอบความต้านทานต่อโรคและแมลงศัตรูข้าวที่สำคัญ รวมทั้งวิเคราะห์คุณภาพเมล็ดข้าวทางกายภาพและทางเคมี ที่ศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี ใน พ.ศ.2530–2532 ปลูกเปรียบเทียบผลผลิตระหว่างสถานีที่ศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี สุพรรณบุรี คลองหลวง ฉะเชิงเทราและราชบุรี รวมทั้งทดสอบความต้านทานต่อโรคและแมลงที่สำคัญ วิเคราะห์คุณภาพเมล็ดทางกายภาพและทางเคมีที่ศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี ระหว่าง พ.ศ.2533-
2544 เปรียบเทียบผลผลิตในนาราษฎร์ และทดสอบการตอบสนองต่อปุ๋ยไนโตรเจน ใน พ.ศ. 2541-2544 ประเมินผลผลิตในสภาพดินเปรี้ยวและในนาเกษตรกร ในปี พ.ศ.2544-2545 คณะกรรมการพิจารณาพันธุ์ กรมการข้าวมีมติให้เป็นพันธุ์รับรอง ชื่อ กข35 (รังสิต 80) เพื่อแนะนำให้เกษตรกรปลูก เมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2550
ลักษณะประจำพันธุ์
กข35 (รังสิต 80) เป็นข้าวเจ้าไวต่อช่วงแสงต้นค่อนข้างเตี้ย สูงเฉลี่ย 132 เซนติเมตร กอตั้ง ต้นแข็งมากใบสีเขียว ใบธงตั้งตรง แตกกอ 13-15 หน่อต่อกอ รวงแน่นปานกลาง คอรวงยาว อายุเก็บเกี่ยวอยู่ในช่วงปลายเดือนพฤศจิกายนถึงต้นเดือนธันวาคม มีจำนวนรวงต่อตารางเมตร
224 รวง ติดเมล็ด ประมาณ 92 เปอร์เซ็นต์ จำนวนเมล็ดดีต่อรวง 204 เมล็ด น้ำหนัก 1,000 เมล็ด 28.1 กรัมเมล็ดข้าวเปลือกสีฟาง ยาว 10.54 มิลลิเมตร กว้าง 2.59มิลลิเมตร หนา 2.01 มิลลิเมตร น้ำหนักข้าวเปลือกต่อถัง11.3 กิโลกรัม ข้าวกล้องสีขาวรูปร่างเรียว ยาว 7.41มิลลิเมตร กว้าง 2.14 มิลลิเมตร หนา 1.74 มิลลิเมตร เป็นท้องไข่น้อย ปริมาณแอมิโลสสูง (26.1-29.3%) ข้าวสุกแข็ง
จัดอยู่ในประเภทข้าวเสาไห้ เมล็ดมีระยะพักตัว 6-9สัปดาห์
ผลผลิต
เฉลี่ย 650 กิโลกรัมต่อไร่ (ปักดำ)
ลักษณะเด่น
1. กข35 (รังสิต 80) เจริญเติบโตและให้ผลผลิตดีในดินเปรี้ยว เฉลี่ย 600 กิโลกรัม/ไร่
2. กอตั้ง ฟางแข็ง ค่อนข้างเตี้ย
3. คุณภาพเมล็ดดี ทำข้าวสาร 100 เปอร์เซ็นต์ได้ คุณภาพการสีดี ได้ข้าวเต็มเมล็ดและต้นข้าว 49.7 เปอร์เซ็นต์จัดเป็นประเภทข้าวเสาไห้
4. ค่อนข้างต้านทานต่อโรคขอบใบแห้งและเพลี้ยกระโดดหลังขาว
พื้นที่แนะนำ
พื้นที่นาน้ำฝนภาคกลาง ที่มีระดับน้ำลึกไม่เกิน 50เซนติเมตร น้ำแห้งนาปลายเดือนพฤศจิกายน
ข้อควรระวัง
กข35 (รังสิต 80) ค่อนข้างอ่อนแอต่อเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล