ผัก สมุนไพรลดความดันโลหิตสูง คึ่นช่าย ผักกาดหอม เก็กฮวย

ความรู้วิชาการเกษตร หมวดนี้สำหรับรวบรวม ความรู้ทางการเกษตร ทุกรูปแบบ
KasetTaln
โพสต์: 176
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ 16 ม.ค. 2013 1:24 pm

ผัก สมุนไพรลดความดันโลหิตสูง คึ่นช่าย ผักกาดหอม เก็กฮวย

ข้อมูล โดย KasetTaln »

*ความดันโลหิตสูง สมุนไพร 39 ชนิด ผ่านการวิจัยแล้ว ลดความดันโลหิตสูงได้ *

ส่วนของพืชสมุนไพร - วิธีใช้ เพื่อ ลดความดันโลหิตสูง 

1. กระถินไทย วิธีใช้ นำเมล็ดมาบดเป็นผง หรือคั่วกินเป็นอาหารปกติ ยอดและฝักอ่อนจิ้มน้ำพริกเป็นอาหาร 

2.กระเทียม วิธีใช้ ให้กินกระเทียมสด 5-7 กลีบ/วันเป็นประจำโดยสับให้ละเอียด กินวันละประมาณ 2 ช้อนชา(10กรัม) กินร่วมกับอาหารอื่นๆ 

3. กล้วย ส่วนที่ใช้ ใบกล้วย ผลกล้วยสุก วิธีใช้ นำใบกล้วยตากแห้ง หั่นย่อยมามวนเป็นบุรี่สูบหรือผลกล้วยสุกกินเป็นของว่าง 

4.กะเพรา ส่วนที่ใช้ ใบและยอด วิธีใช้ ใบกะเพรา แห้งป่นเป็นผง ชงกับน้ำดื่ม 

5. กานพลู วิธีใช้ นำดอกมาปรุงเป็นอาหาร เป็นเครื่องเทศปรุงรสอาหาร 

6. กุหลาบ วิธีใช้ นำส่วนดอก กุหลาบมาต้มดื่ม ตอนเช้า 

7. เก็กฮวย วิธีใช้ นำดอกเก็กฮวย 1 หยิบมือ มาต้มน้ำ 3 แก้ว ใช้ดื่มแทนน้ำตลอดวัน 

8. โกโก้ วิธีใช้ นำเม็ดโกโก้ ที่คั่วแห้งมาเป็นเครื่องดื่มยามว่างหรือทำเป็นช็อคโกแลต ผสมอาหาร 

9. ข้าว ส่วนที่ใช้ เมล็ดข้าว วิธีใช้ นำเมล็ดข้าวมาป่นคั่วแห้ง ชง น้ำดื่มเช้า-เย็น 

10. ขิง วิธีใช้ ใช้ขิงสดเอามาฝาน ต้มกับน้ำหรือผงแห้งชงกับน้ำดื่ม 

11.ขี้เหล็ก ส่วนที่ ดอกและใบ วิธีใช้ ดอกสด 1 กำมือ(ต้มน้ำ 3ถ้วย นาน 
15 นาที นำมาดื่ม เช้า-เย็น 

12. คึ่นไฉ่ ส่วนที่ใช้ ต้น ใบ ราก วิธีใช้ ตำรายาพื้นบ้าน ให้ใช้โดยเอามาต้นสดคั้นเพาะน้ำ หรือกินทั้งต้น พร้อมอาหาร หรือใช้ใบและต้นสดขนาด 1-2 กำมือ ตำให้ละเอียด ต้มน้ำดื่มครั้งละ 1- 2ช้อนโต๊ะ วันละ 2 ครั้งก่อนอาหาร 

13. งา วิธีใช้ นำเมล็ดงา มาปั่นกับน้ำเต้าหู้ ดื่มทุกเช้า หรือผสมเมล็ดงาคั่วในขนมต่างๆ 

14. จำปา วิธีใช้ นำดอกจำปา มาต้มน้ำดื่มตอนเช้า 

15. ชา วิธีใช้ ใบแห้ง 1 หยิบมือ ชงน้ำร้อน 1-2 แก้ว ทิ้งไว้ 5- 10 นาที นำมาจิบบ่อยๆดื่มต่างน้ำ 

16.เดือย วิธีใช้ นำลูกเดือยมาต้มเป็นของว่าง

17. ตะไคร้ ส่วนที่ใช้ ต้นแก่ (ตัดใบทิ้ง)หรือ เหง้าแก่ มีน้ำมันหอมระเหยปริมาณสูง ตำรายาไทยให้เป็นยา ขับปัสสาวะ น้ำสกัดต้นมีฤทธิ์ ลดความดันโลหิตได้ ขับปัสสาวะอย่างอ่อนและลดการอักเสบ 

ขนาดและ วิธีใช้ 

ต้นสด วันละ 1 กำมือ หรือหนัก 40-60 กรัม ต้มกับน้ำ 3-4 ถ้วย แบ่งดื่ม วันละ 3 ครั้ง ครั้งละ 1 ถ้วยชา (7.5 มิลลิลิตร ) ก่อนอาหาร 
เหง้า ฝานเป็นแวนบางๆ คั่วไฟอ่อนพอเหลือง ครั้งละ 1 หยิบมือ ชงกับน้ำ
1 ถ้วยชา รินเฉพาะส่วนใส ดื่มจนหมด วันละ 3 ครั้ง เมื่อปัสสาวะคล่องให้หยุดยา 

18. ถั่วดำ วิธีใช้ นำเมล็ดถั่วดำ มาต้มน้ำดื่ม หรือกินเมล็ดด้วย เช้า -เย็น 

19. ถัวเหลือง วิธีและปริมาณที่ใช้ เมล็ด ถั่วเหลืองแห้ง 30-90 กรัม ต้มน้ำดื่มหรือบดเป็นผง กิน เปลือกเมล็ดแห้ง 10-15 กรัม ต้มน้ำกิน 

20. ทับทิม ส่วนที่ใช้ น้ำจากผลทับทิม (เยื้อหุ้มเมล็ด) วิธีใช้ นำน้ำทับทิมที่คั้นจากผลทับทิมได้มาดื่มวันละ 50 ซีซี

21. ทานตะวัน วิธีใช้ นำน้ำมันจากเมล็ดทานตะวัน มาใช้ปรุงอาหาร หรือ ใช้เมล็ดทานตะวันคั่วแห้งกินเป็นของว่าง 

22. บัวบก ส่วนที่ใช้ ทั้งต้น วิธีใช้ ใช้ทั้งต้นสด 30- 40กรัม คั้นน้ำจากต้นสด เติมน้ำตาลเล็กน้อย 

23. ผักกาดหอม วิธีใช้ นำใบผักกาดหอมมากินเป็นอาหาร

24. ผักชีฝรั่ง ส่วนที่ใช้ ทั้งต้น /เมล็ด วิธีใช้ นำต้นผักชีฝรั่ง 1 กำมือ ต้มน้ำดื่ม หรือนำเมล็ดผักชีฝรั่งมาบดเป็นผงชงน้ำร้อนดื่มตอนเช้าๆ 

25.พริกไทยดำ วิธีใช้ ใช้เมล็ดพริกไทยดำมาปรุงอาหาร 

26. พริกหยวก ส่วนที่ใช้ ผล /ใบ วิธีใช้ นำผลพริกหยวก มาผัดปรุงรสอาหาร หรือนำใบ 1 กำมือมาต้มดื่ม 

27. พลูคาว วิธีใช้นำใบ ต้นพลูคาว 7 ใบมาคั้นน้ำดื่ม เช้า-เย็น 

28. ฟักทอง วิธีใช้ นำเมล็ดฟักทอง มากินเป็นของว่าง 

29. มะกรูด วิธีใช้ นำใบมะกรูด 7-10 ใบ นำมาต้มน้ำดื่ม เช้า -เย็น

30. มะเฟือง วิธีใช้ ผลนำมาคั้นน้ำดื่ม 1-2 ผล เช้า-เย็น 

31. มะไฟ วิธีใช้ นำผลมะไฟ มากิน เช้า-เย็น 

32. มะละกอ วิธีใช้ นำผลสุกมากินเป็นอาหาร หรือนำผลดิบ 1 ผล/น้ำ 1 ลิตร ต้มน้ำดื่มแทนน้ำ 

33. มะลิ วิธีใช้ นำดอก /ใบ 1 กำมือ ต้มน้ำดื่ม เช้า -เย็น 

34. มันฝรั่ง วิธีใช้นำหัวมันฝรั่ง มาปรุงเป็นอาหาร 

35. ยอบ้าน วิธีใช้ นำผลโตเต็มที่ไม่สุก มาคั้นน้ำดื่ม ผสมเกลือและมะนาว เพื่อเพิ่มรส ดื่มเช้า-เย็น 

36. สะระแหน่ วิธีใช้ นำใบสะระแหน่ 1 กำมือมาปั่นหรือต้มน้ำดื่มตอนเช้า-เย็น

37. หอมใหญ่ วิธีใช้ หัวหอมใหญ่ เป็นเครื่องเทศที่เผ็ดร้อนใช้แต่งกลิ่นอาหารได้หลายชนิด 

38. โหระพา วิธีใช้ นำทั้งใบต้น 1กำมือต้มน้ำดื่มหรือนำใบมาปรุงเป็นอาหาร 

39. องุ่น วิธีใช้ ผล จำนวนพอควรคั้นน้ำเป็นเครื่องดื่ม 




ขอบคุณข้อมูล จากหนังสือสมุนไพร ลดความดันโลหิตสูง โดย เภสัชกรหญิง จุไรรัตน์ เกิดดอนแฝก เภสัช 8 วช.ศูนย์บริการสาธาณสุข 53 ทุ่งสองห้อง กทม.

ด้วยความปรารถนาดี กานดา แสนมณี(kandanalike)

ย้อนกลับไปยัง “ความรู้วิชาการเกษตร”