พันธุ์ข้าวที่ได้รับการรับรอง ปี 2550 รวม 8 พันธุ์

ความรู้วิชาการเกษตร หมวดนี้สำหรับรวบรวม ความรู้ทางการเกษตร ทุกรูปแบบ
KasetTaln
โพสต์: 176
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ 16 ม.ค. 2013 1:24 pm

พันธุ์ข้าวที่ได้รับการรับรอง ปี 2550 รวม 8 พันธุ์

ข้อมูล โดย KasetTaln »

พันธุ์แนะนำ ข้าวไร่พันธุ์
1. เจ้าขาวเชียงใหม่
ขาวเชียงใหม่1.jpg
ขาวเชียงใหม่1.jpg (83.86 KiB) Viewed 13847 times
ขาวเชียงใหม่2.jpg
ขาวเชียงใหม่2.jpg (22.42 KiB) Viewed 13847 times
ประวัติ
เจ้าขาวเชียงใหม่ ได้จากการเก็บรวบรวมพันธุ์ ในอำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย โดยนายวิทูรย์ ขันธิกุล เจ้าหน้าที่การเกษตร สถานีทดลองข้าวสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อ พ.ศ. 2523 โดยมีรหัสการรวบรวมคือSPTC80187-126 ปลูกคัดเลือกที่สถานีทดลองข้าวสันป่าตองเพื่อให้ได้พันธุ์บริสุทธิ์ ระหว่าง พ.ศ. 2524 – 2530 ต่อมานำมาปลูกเปรียบเทียบผลผลิตตามขั้นตอนการปรับปรุงพันธุ์ระหว่าง พ.ศ. 2531-2546 คณะกรรมการบริหารกรมวิชาการเกษตร มีมติให้เป็นพันธุ์แนะนำ ชื่อ เจ้าขาวเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 23 เมษายน 2550
ลักษณะประจำพันธุ์
เจ้าขาวเชียงใหม่ เป็นข้าวเจ้าไวต่อช่วงแสง กาบใบ และใบมีสีเขียว ปล้องสีเหลืองอ่อน ทรงกอตั้งตรง สูงประมาณ 145 เซนติเมตร เก็บเกี่ยวประมาณวันที่ 20 ตุลาคม ข้าวเปลือกสีฟาง ยาว 10.03 มิลลิเมตร กว้าง 3.12 มิลลิเมตร หนา 2.41 มิลลิเมตร ข้าวกล้องรูปร่างค่อนข้างป้อม ยาว 7.29 มิลลิเมตร กว้าง 2.70 มิลลิเมตรหนา 1.99 มิลลิเมตร มีปริมาณแอมิโลส (18.7%) ระยะพักตัวของเมล็ด 4 สัปดาห์
ผลผลิต
เฉลี่ย 350 -389 กิโลกรัมต่อไร่
ลักษณะเด่น
1. ผลผลิตเฉลี่ย 350 กิโลกรัมต่อไร่ เมื่อปลูกในพื้นที่ระดับความสูงไม่เกิน 1,000 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง และ 389 กิโลกรัมต่อไร่ เมื่อปลูกในพื้นที่ระดับความสูง 1,000 – 1,300 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง
2. ปลูกได้ในพื้นที่ระดับความสูง 800 – 1,250 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง
3. คุณภาพการสีดี ให้เปอร์เซ็นต์ต้นข้าวและข้าวเต็มเมล็ดสูง ข้าวสุกอ่อนนุ่ม
4. ต้านทานต่อโรคไหม้ (Pyricularia grisea Sacc.)
พื้นที่แนะนำ
พื้นที่สภาพไร่ในภาคเหนือตอนบนที่มีระดับความสูง 800 – 1,250 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง
ข้อควรระวัง
เจ้าขาวเชียงใหม่ ค่อนข้างอ่อนแอต่อเพลี้ยกระโดดหลังขาวในสภาพธรรมชาติ
แก้ไขล่าสุดโดย KasetTaln เมื่อ เสาร์ 23 ก.พ. 2013 10:12 pm, แก้ไขไปแล้ว 1 ครั้ง.
KasetTaln
โพสต์: 176
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ 16 ม.ค. 2013 1:24 pm

Re: พันธุ์ข้าวที่ได้รับการรับรอง ปี 2550

ข้อมูล โดย KasetTaln »

พันธุ์รับรอง ข้าวเจ้าพันธุ์
3. พิษณุโลก 80
พิโลก80-1.jpg
พิโลก80-1.jpg (29.59 KiB) Viewed 13845 times
พิโลก80-2.jpg
พิโลก80-2.jpg (53.74 KiB) Viewed 13845 times
ประวัติ
พิษณุโลก 80 ได้จากการผสมพันธุ์สามทางระหว่างพันธุ์ข้าวสุพรรณบุรี 90 และ IR56 กับ กข27เมื่อ พ.ศ. 2534 และ พ.ศ. 2535 ที่ศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลก ปลูกลูกผสมชั่วที่ 1 พ.ศ. 2536 ปลูกคัดเลือกพันธุ์ผสมชั่วที่ 2 แบบรวม(bulk) และชั่วที่ 3 – 5 แบบสืบตระกูล (pedigree) ใน พ.ศ. 2537 – 2540 จนได้สายพันธุ์ PSL92147-1-2-4 ปลูกศึกษาพันธุ์ใน พ.ศ. 2541และปลูกเปรียบเทียบผลผลิตภายในสถานี ใน พ.ศ. 2542ที่ศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลก นำเข้าปลูกเปรียบเทียบผลผลิตระหว่างสถานี ระหว่าง พ.ศ. 2543 - 2548 ที่ศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลก ชัยนาท และลพบุรี ปลูกเปรียบเทียบผลผลิตในนาราษฎร์ ระหว่าง พ.ศ. 2544 - 2546 ที่จังหวัดพิษณุโลก พิจิตร ลพบุรี นครสวรรค์ อุทัยธานี เพชรบูรณ์และสิงห์บุรี ทดสอบการตอบสนองต่ออัตราปุ๋ยไนโตรเจนระหว่าง พ.ศ. 2545 - 2546 ที่ศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลก ชัยนาท และลพบุรี ทดสอบเสถียรภาพในการให้ผลผลิตร่วมกับศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี คลองหลวง ฉะเชิงเทราสุพรรณบุรี และราชบุรี ใน พ.ศ. 2545, 2547 และ 2548คณะกรรมการบริหารกรมวิชาการเกษตร มีมติให้เป็นพันธุ์รับรอง ชื่อ พิษณุโลก 80 เมื่อวันที่ 23 เมษายน 2550
ลักษณะประจำพันธุ์
พิษณุโลก 80 เป็นข้าวเจ้าไวต่อช่วงแสง เก็บเกี่ยวต้นเดือนธันวาคม ทรงกอตั้ง ต้นแข็งไม่ล้มง่าย ใบสีเขียวใบธงตั้งตรง คอรวงยาว รวงแน่นปานกลาง ความสูงเฉลี่ย 141 เซนติเมตร น้ำหนักข้าวเปลือก 10.6 กิโลกรัมต่อถัง ข้าวเปลือก 1,000 เมล็ด หนัก 29.2 กรัม เปลือกเมล็ดสีฟาง ข้าวเปลือกยาว 10.10 มิลลิเมตร กว้าง 2.53มิลลิเมตร หนา 1.98 มิลลิเมตร ข้าวกล้องรูปร่างเรียวยาว 7.45 มิลลิเมตร กว้าง 2.16 มิลลิเมตร หนา 1.74มิลลิเมตร มีปริมาณแอมิโลสต่ำ (17.3%) มีระยะพักตัวของเมล็ด 7 สัปดาห์
ผลผลิต
เฉลี่ย 637 กิโลกรัมต่อไร่
ลักษณะเด่น
1. พิษณุโลก 80 ให้ผลผลิตสูง เสถียรภาพในการให้ผลผลิตดีในสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน
2. กอตั้ง ต้นแข็ง ไม่ล้มง่าย
3. คุณภาพเมล็ดดี เป็นท้องไข่น้อย
4. คุณภาพการสีดีมาก ได้ข้าวเต็มเมล็ดและต้นข้าว 61.3
เปอร์เซ็นต์
พื้นที่แนะนำ
นาน้ำฝนพื้นที่ลุ่มในเขตภาคเหนือตอนล่าง และเกษตรกรที่ต้องการปลูกข้าวที่มีอายุเก็บเกี่ยวต้นเดือน
ธันวาคม
ข้อควรระวัง
พิษณุโลก 80 ไม่ต้านทานต่อเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลค่อนข้างอ่อนแอต่อโรคไหม้ในจังหวัดพิษณุโลก และค่อนข้างอ่อนแอต่อโรคขอบใบแห้ง
KasetTaln
โพสต์: 176
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ 16 ม.ค. 2013 1:24 pm

Re: พันธุ์ข้าวที่ได้รับการรับรอง ปี 2550

ข้อมูล โดย KasetTaln »

พันธุ์รับรอง ข้าวเจ้าพันธุ์
4. กข29 (ชัยนาท 80)
กข29.jpg
กข29.jpg (68.15 KiB) Viewed 13845 times
กข29-2.jpg
กข29-2.jpg (82.37 KiB) Viewed 13845 times
ประวัติ
กข29 (ชัยนาท 80) ได้จากการผสมพันธุ์สามทางระหว่างลูกผสมชั่วที่ 1 ของพันธุ์สุพรรณบุรี 60 และสายพันธุ์ IR29692-99-3-2-1 กับสายพันธุ์ IR11418-19-2-3 ที่ศูนย์วิจัยข้าวชัยนาทเมื่อ พ.ศ. 2532 คัดเลือกจนได้สายพันธุ์ CNT89098-281-2-1-2-1
ศึกษาพันธุ์ และเปรียบเทียบผลผลิตภายในสถานีที่ศูนย์วิจัยข้าวชัยนาท ระหว่าง พ.ศ. 2533 – 2541 จากนั้นนำเข้าเปรียบเทียบผลผลิตระหว่างสถานีที่ศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลก ศูนย์วิจัยข้าวลพบุรี และศูนย์วิจัยข้าวชัยนาทในฤดูนาปี พ.ศ. 2541 ถึง ฤดูนาปีพ.ศ. 2547 นำเข้าเปรียบเทียบผลผลิตในนาราษฎร์ จังหวัดพิษณุโลก ลพบุรี สิงห์บุรี และชัยนาท ในฤดูนาปี พ.ศ. 2542 ถึงฤดูนาปี พ.ศ. 2547 นำเข้าทดสอบเสถียรภาพผลผลิต ที่ศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลก แพร่ อุบลราชธานี สกลนคร สุรินทร์ ปทุมธานีสุพรรณบุรี พัทลุง คลองหลวง ราชบุรี ชัยนาท ลพบุรี และฉะเชิงเทรา คัดเลือกเข้าทดสอบผลผลิตในนาเกษตรกร ในจังหวัดพิษณุโลก อุตรดิตถ์ พิจิตร สุโขทัย ชัยนาท และสิงห์บุรี ในฤดูนาปรังพ.ศ. 2544 ถึง ฤดูนาปรัง พ.ศ. 2548 คณะกรรมการพิจารณาพันธุ์กรมการข้าว มีมติให้เป็นพันธุ์รับรอง ชื่อ กข29 (ชัยนาท 80) เพื่อแนะนำให้เกษตรกรปลูก เมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2550
ลักษณะประจำพันธุ์
กข29 (ชัยนาท 80) เป็นข้าวเจ้าไม่ไวต่อช่วงแสง อายุเก็บเกี่ยว103 วัน ในฤดูนาปี และ 99 วันในฤดูนาปรัง เมื่อปลูกโดยวิธีหว่านน้ำตม กอตั้ง ต้นแข็งไม่ล้มง่าย สูงเฉลี่ย 104 เซนติเมตรใบสีเขียวเข้ม ใบธงตั้งตรง รวงแน่นปานกลาง คอรวงยาว เปลือกเมล็ดสีฟาง ข้าวกล้องสีขาว เป็นท้องไข่น้อย รูปร่างเรียว ยาว 7.34มิลลิเมตร กว้าง 2.23 มิลลิเมตร หนา 1.80 มิลลิเมตร มีปริมาณแอมิโลสสูง (26.6-29.4%) ระยะพักตัวของเมล็ด 4-6 สัปดาห์
ผลผลิต
เฉลี่ย 876 กิโลกรัม/ไร่
ลักษณะเด่น
1. อายุสั้น มีอายุวันเก็บเกี่ยว 99 วัน ในฤดูนาปรัง และ103 วันในฤดูนาปี เมื่อปลูกโดยวิธีหว่านน้ำตม
2. ผลผลิตสูง เฉลี่ย 876 กิโลกรัมต่อไร่
3. ค่อนข้างต้านทานต่อเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในภาคเหนือตอนล่าง และโรคขอบใบแห้ง
4. เป็นข้าวเจ้าเมล็ดยาวเรียว ท้องไข่น้อย คุณภาพการสีดีมากสามารถสีเป็นข้าวขาว 100 เปอร์เซ็นต์ ได้
5. มีปริมาณธาตุเหล็กในข้าวกล้อง 15.7 มิลลิกรัม ต่อ1 กิโลกรัม ในข้าวสาร 6.7 มิลลิกรัมต่อ 1 กิโลกรัม
พื้นที่แนะนำ
พื้นที่นาชลประทาน ภาคเหนือตอนล่างและภาคกลางตอนบน ที่ต้องการข้าวอายุสั้น โดยเริ่มปลูกในเดือนสิงหาคมธันวาคม และเมษายน หรือสำหรับปลูกหลังถูกน้ำท่วมในฤดูฝนและสามารถปลูกและเก็บเกี่ยวได้ 2 ครั้งในฤดูนาปรังก่อนถูกน้ำท่วม
ข้อควรระวัง
1. ไม่ควรปลูกในช่วงกลางเดือนกันยายนถึงปลายเดือนพฤศจิกายน ซึ่งมีอากาศเย็น ทำให้เมล็ดลีบมาก ผลผลิตต่ำ
2. กข29 (ชัยนาท 80) อ่อนแอต่อเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ในเขตจังหวัดนครปฐม ปทุมธานี ราชบุรี และฉะเชิงเทรา
KasetTaln
โพสต์: 176
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ 16 ม.ค. 2013 1:24 pm

Re: พันธุ์ข้าวที่ได้รับการรับรอง ปี 2550

ข้อมูล โดย KasetTaln »

พันธุ์รับรอง ข้าวเจ้าพันธุ์
5. กข31 (ปทุมธานี 80)
กข31-1.jpg
กข31-1.jpg (72.89 KiB) Viewed 13845 times
กข31-2.jpg
กข31-2.jpg (37.78 KiB) Viewed 13845 times
ประวัติ
กข31 (ปทุมธานี 80) จากการผสมพันธุ์ระหว่างสายพันธุ์ SPR85163-5-1-1-2 กับสายพันธุ์ IR54017-131-1-3-2 ที่ศูนย์วิจัยข้าวสุพรรณบุรี เมื่อ พ.ศ. 2536 ปลูกคัดเลือก ตั้งแต่ พ.ศ. 2537 ถึง พ.ศ. 2539 ได้สายพันธุ์SPR93049-PTT-30-4-1-2 ศึกษาพันธุ์ ประเมินลักษณะประจำพันธุ์และลักษณะทางการเกษตร ทดสอบความต้านทานต่อโรคและแมลงศัตรูข้าวที่สำคัญ วิเคราะห์คุณภาพเมล็ดทางกายภาพและเคมีที่ศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี ประเมินผลผลิตและทดสอบการตอบสนองต่อปุ๋ยไนโตรเจน ในศูนย์วิจัยข้าวภาคกลาง และปลูกเปรียบเทียบผลผลิตในนาเกษตรกร 8 จังหวัดในภาคกลางจนถึง พ.ศ. 2549 คณะกรรมการพิจารณาพันธุ์ กรมการข้าวมีมติให้เป็นพันธุ์รับรอง ชื่อ กข31 (ปทุมธานี 80) เพื่อแนะนำให้เกษตรกรปลูก เมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2550
ลักษณะประจำพันธุ์
กข31 (ปทุมธานี 80) เป็นข้าวเจ้าไม่ไวต่อช่วงแสงกอตั้ง ต้นแข็งไม่ล้มง่าย ต้นสูงเฉลี่ย 117 เซนติเมตร อายุเก็บเกี่ยว 118 วัน เมื่อปลูกโดยวิธีปักดำ และ 111 วัน เมื่อปลูกโดยวิธีหว่านน้ำตม ใบสีเขียว กาบใบสีเขียว ใบธงตั้งคอรวงยาว รวงยาว 29.9 เซนติเมตร ติดเมล็ด 90 เปอร์เซ็นต์จำนวนเมล็ดดีต่อรวง 130 เมล็ด นวดง่าย เปลือกเมล็ดสีฟางเมล็ดไม่มีหาง ข้าวกล้องสีขาว เป็นท้องไข่น้อย รูปร่างเรียวยาว 7.39 มิลลิเมตร กว้าง 2.13 มิลลิเมตร หนา 1.84มิลลิเมตร คุณภาพการสีดี ได้ข้าวเต็มเมล็ดและต้นข้าว 47.5เปอร์เซ็นต์ ปริมาณแอมิโลส 27.3 – 29.8 เปอร์เซ็นต์อุณหภูมิแป้งสุกระดับปานกลาง แป้งสุกอ่อน ข้าวสุกค่อนข้างแข็ง ไม่หอม ระยะพักตัวของเมล็ด 5 สัปดาห์
ผลผลิต
เฉลี่ย 745 กิโลกรัม/ไร่ (ปักดำ)
เฉลี่ย 738 กิโลกรัม/ไร่ (นาหว่านน้ำตม)
ลักษณะเด่น
1. คุณภาพเมล็ดทางกายภาพสม่ำเสมอกว่าพันธุ์สุพรรณบุรี 1
2. ต้านทานต่อเพลี้ยกระโดดหลังขาว ค่อนข้างต้านทานต่อเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล โรคขอบใบแห้ง โรคใบจุดสีน้ำตาล และโรคเมล็ดด่าง
3. กอตั้ง ต้นแข็ง ไม่ล้มง่าย ผลผลิตสูง ปลูกโดยวิธีปักดำให้ผลผลิต 745 กิโลกรัมต่อไร่ สูงกว่าผลผลิตของพันธุ์สุพรรณบุรี 1 ประมาณ 6 เปอร์เซ็นต์ และปลูกโดยวิธีหว่านน้ำตมให้ผลผลิตเฉลี่ย 738 กิโลกรัมต่อไร่ สูงกว่าผลผลิตของพันธุ์สุพรรณบุรี 1 ประมาณ 5 เปอร์เซ็นต์
พื้นที่แนะนำ
นาชลประทานภาคกลาง
ข้อควรระวัง
กข31 (ปทุมธานี 80) อ่อนแอต่อโรคไหม้ โรคใบหงิกและโรคใบสีส้ม
KasetTaln
โพสต์: 176
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ 16 ม.ค. 2013 1:24 pm

Re: พันธุ์ข้าวที่ได้รับการรับรอง ปี 2550

ข้อมูล โดย KasetTaln »

พันธุ์รับรอง ข้าวเจ้าพันธุ์
6. กข33 (หอมอุบล 80)
กข33-1.jpg
กข33-1.jpg (63.14 KiB) Viewed 13845 times
กข33-2.jpg
กข33-2.jpg (31.75 KiB) Viewed 13845 times
ประวัติ
กข33 (หอมอุบล 80) เป็นผลงานวิจัยระหว่างสถาบันวิจัยข้าวนานาชาติ (IRRI) กับ ศูนย์วิจัยข้าวอุบลราชธานีสำนักวิจัยและพัฒนาข้าว กรมการข้าว โดยทำการผสมพันธุ์ที่สถาบันวิจัยข้าวนานาชาติ สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ เมื่อ พ.ศ. 2538ระหว่างพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 เป็นพันธุ์แม่กับสายพันธุ์ IR70177-76-3-1 ซึ่งมีความต้านทานต่อโรคไหม้และปรับตัวได้ดีในสภาพนาน้ำฝนเป็นพันธุ์พ่อ ใน พ.ศ. 2539 ปลูกลูกผสมชั่วที่ 1
ที่ศูนย์วิจัยข้าวอุบลราชธานี พ.ศ. 2540 ปลูกพันธุ์ผสมชั่วที่ 2คัดเลือกต้นที่มีความต้านทานโรคไหม้ และมีลักษณะทางการเกษตรดี ปลูกทดสอบความหอม พ.ศ. 2540 - 2541 ใช้ต้นที่เมล็ดมีความหอมผสมกลับกับพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 สร้างประชากรผสมกลับชั่วที่ 1 และชั่วที่ 2 คัดเลือกสายพันธุ์ที่มีความต้านทานโรคไหม้และคุณภาพการหุงต้มดี พ.ศ. 2542–2545ทดสอบการให้ผลผลิตเบื้องต้น ที่ศูนย์วิจัยข้าวอุบลราชธานี ในฤดูนาปรัง พ.ศ.2546 และในฤดูนาปี พ.ศ.2546-2548 เปรียบเทียบผลผลิตระหว่างสถานีและในนาราษฎร์ ที่ศูนย์วิจัยข้าวในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือตอนบน และประเมินการยอมรับของเกษตรกรในกระบวนการปรับปรุงพันธุ์แบบเกษตรกรมีส่วนร่วมได้สายพันธุ์ ดีเด่น IR77924-UBN-62-71-1-2 คณะกรรมการพิจารณาพันธุ์ กรมการข้าว มีมติให้เป็นพันธุ์รับรอง ชื่อ กข33(หอมอุบล 80) เพื่อแนะนำให้เกษตรกรปลูก เมื่อวันที่ 6 มีนาคม2550
ลักษณะประจำพันธุ์
กข33 (หอมอุบล 80) เป็นข้าวเจ้าไม่ไวต่อช่วงแสง อายุเก็บเกี่ยว 130 วัน ต้นสูงเฉลี่ย 154 เซนติเมตร กอตั้ง ต้นค่อนข้างแข็งใบสีเขียว ใบธงหักลง รวงแน่นปานกลาง คอรวงยาว ข้าวเปลือกสีฟาง ยาว 10.61 มิลลิเมตร กว้าง 2.55 มิลลิเมตร หนา 2.01มิลลิเมตร ข้าวกล้องสีขาวรูปร่างเรียว ยาว 7.47 มิลลิเมตร กว้าง2.11 มิลลิเมตร หนา 1.80 มิลลิเมตร คุณภาพการสีดีมาก ได้ข้าวเต็มเมล็ดและต้นข้าว ร้อยละ 54 ปริมาณแอมิโลสต่ำ (14.0 -16.8 %)มีกลิ่นหอม ระยะพักตัวของเมล็ด 8 สัปดาห์
ผลผลิต
เฉลี่ย 493 กิโลกรัม/ไร่
ลักษณะเด่น
1. กข33 (หอมอุบล 80) ต้านทานโรคไหม้โดยเฉพาะเชื้อราสาเหตุโรคไหม้(Pyricularia grisea Sacc.) ที่พบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือตอนบนหลายสายพันธุ์
2. คุณภาพเมล็ดทางกายภาพ คุณสมบัติทางเคมีและคุณภาพการหุงต้มและรับประทาน ใกล้เคียงพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105
3. เป็นพันธุ์ข้าวเจ้าหอมไม่ไวต่อช่วงแสง อายุเก็บเกี่ยวประมาณ130 วัน เหมาะสำหรับปลูกในพื้นที่นาอาศัยน้ำฝนที่ฝนหมดเร็ว
พื้นที่แนะนำ
พื้นที่นาอาศัยน้ำฝนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือตอนบนที่ฝนหมดเร็ว
ข้อควรระวัง
กข33 (หอมอุบล 80) ค่อนข้างอ่อนแอต่อโรคขอบใบแห้งและเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล
KasetTaln
โพสต์: 176
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ 16 ม.ค. 2013 1:24 pm

Re: พันธุ์ข้าวที่ได้รับการรับรอง ปี 2550

ข้อมูล โดย KasetTaln »

พันธุ์รับรอง ข้าวเจ้าพันธุ์
7. กข35 (รังสิต 80)
กข35-1.jpg
กข35-1.jpg (74.64 KiB) Viewed 13845 times
กข35-2.jpg
กข35-2.jpg (34.53 KiB) Viewed 13845 times
ประวัติ
กข35 (รังสิต 80) ได้จากการผสมพันธุ์สามทางระหว่างลูกผสมชั่วที่ 1 ของสายพันธุ์ IR5201-65-1-2 และพันธุ์ปิ่นแก้วเบา 27 กับพันธุ์เจ้าเหลือง 11 ที่ศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี เมื่อ พ.ศ. 2522-2523 ปลูกคัดเลือกพันธุ์ผสมชั่วที่ 2 แบบรวม (bulk) และ ชั่วที่ 3-6 แบบสืบตระกูล(pedigree) ในปี พ.ศ.2525-2529 ได้สายพันธุ์ RSTLR79009-43-1-1-5 ปลูกศึกษาพันธุ์และเปรียบเทียบผลผลิตภายในสถานี ทดสอบความต้านทานต่อโรคและแมลงศัตรูข้าวที่สำคัญ รวมทั้งวิเคราะห์คุณภาพเมล็ดข้าวทางกายภาพและทางเคมี ที่ศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี ใน พ.ศ.2530–2532 ปลูกเปรียบเทียบผลผลิตระหว่างสถานีที่ศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี สุพรรณบุรี คลองหลวง ฉะเชิงเทราและราชบุรี รวมทั้งทดสอบความต้านทานต่อโรคและแมลงที่สำคัญ วิเคราะห์คุณภาพเมล็ดทางกายภาพและทางเคมีที่ศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี ระหว่าง พ.ศ.2533-
2544 เปรียบเทียบผลผลิตในนาราษฎร์ และทดสอบการตอบสนองต่อปุ๋ยไนโตรเจน ใน พ.ศ. 2541-2544 ประเมินผลผลิตในสภาพดินเปรี้ยวและในนาเกษตรกร ในปี พ.ศ.2544-2545 คณะกรรมการพิจารณาพันธุ์ กรมการข้าวมีมติให้เป็นพันธุ์รับรอง ชื่อ กข35 (รังสิต 80) เพื่อแนะนำให้เกษตรกรปลูก เมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2550
ลักษณะประจำพันธุ์
กข35 (รังสิต 80) เป็นข้าวเจ้าไวต่อช่วงแสงต้นค่อนข้างเตี้ย สูงเฉลี่ย 132 เซนติเมตร กอตั้ง ต้นแข็งมากใบสีเขียว ใบธงตั้งตรง แตกกอ 13-15 หน่อต่อกอ รวงแน่นปานกลาง คอรวงยาว อายุเก็บเกี่ยวอยู่ในช่วงปลายเดือนพฤศจิกายนถึงต้นเดือนธันวาคม มีจำนวนรวงต่อตารางเมตร
224 รวง ติดเมล็ด ประมาณ 92 เปอร์เซ็นต์ จำนวนเมล็ดดีต่อรวง 204 เมล็ด น้ำหนัก 1,000 เมล็ด 28.1 กรัมเมล็ดข้าวเปลือกสีฟาง ยาว 10.54 มิลลิเมตร กว้าง 2.59มิลลิเมตร หนา 2.01 มิลลิเมตร น้ำหนักข้าวเปลือกต่อถัง11.3 กิโลกรัม ข้าวกล้องสีขาวรูปร่างเรียว ยาว 7.41มิลลิเมตร กว้าง 2.14 มิลลิเมตร หนา 1.74 มิลลิเมตร เป็นท้องไข่น้อย ปริมาณแอมิโลสสูง (26.1-29.3%) ข้าวสุกแข็ง
จัดอยู่ในประเภทข้าวเสาไห้ เมล็ดมีระยะพักตัว 6-9สัปดาห์
ผลผลิต
เฉลี่ย 650 กิโลกรัมต่อไร่ (ปักดำ)
ลักษณะเด่น
1. กข35 (รังสิต 80) เจริญเติบโตและให้ผลผลิตดีในดินเปรี้ยว เฉลี่ย 600 กิโลกรัม/ไร่
2. กอตั้ง ฟางแข็ง ค่อนข้างเตี้ย
3. คุณภาพเมล็ดดี ทำข้าวสาร 100 เปอร์เซ็นต์ได้ คุณภาพการสีดี ได้ข้าวเต็มเมล็ดและต้นข้าว 49.7 เปอร์เซ็นต์จัดเป็นประเภทข้าวเสาไห้
4. ค่อนข้างต้านทานต่อโรคขอบใบแห้งและเพลี้ยกระโดดหลังขาว
พื้นที่แนะนำ
พื้นที่นาน้ำฝนภาคกลาง ที่มีระดับน้ำลึกไม่เกิน 50เซนติเมตร น้ำแห้งนาปลายเดือนพฤศจิกายน
ข้อควรระวัง
กข35 (รังสิต 80) ค่อนข้างอ่อนแอต่อเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล
KasetTaln
โพสต์: 176
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ 16 ม.ค. 2013 1:24 pm

Re: พันธุ์ข้าวที่ได้รับการรับรอง ปี 2550

ข้อมูล โดย KasetTaln »

พันธุ์แนะนำ ข้าวเจ้าพันธุ์
8. สังข์หยดพัทลุง
สังข์หยด-2.jpg
สังข์หยด-2.jpg (89.03 KiB) Viewed 13845 times
สังข์หยด-1.jpg
สังข์หยด-1.jpg (54.19 KiB) Viewed 13845 times
ประวัติ
สังข์หยดพัทลุง เป็นพันธุ์ข้าวพื้นเมืองที่ปลูกดั้งเดิมในจังหวัดพัทลุง ในฤดูนาปี พ.ศ. 2531/32 ได้เริ่มคัดเลือกพันธุ์สังข์หยด KGTC82239) จากแหล่งเก็บ ตำบลท่ามะเดื่อ อำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง หนึ่งในสามแหล่งของข้าวสังข์หยดในจังหวัด ซึ่งมีความแปรปรวนในลักษณะทางพันธุกรรมของประชากรที่เก็บ คัดเลือกได้สายพันธุ์ข้าวสังข์หยดบริสุทธิ์ มีความสูงของลำต้นสม่ำเสมอ เก็บเกี่ยวได้พร้อมกัน มีคุณภาพเมล็ดดีสม่ำเสมอ โดยคัดเลือกแบบหมู่ (mass selection) ในลักษณะดังกล่าวจำนวน 4 ชั่วอายุ จนได้สายพันธุ์สังข์หยด(KGTC82239-2) เป็นสายพันธุ์บริสุทธิ์ เมื่อ พ.ศ. 2543 มีลักษณะดีกว่าสายพันธุ์เดิมในลักษณะความสม่ำเสมอในการสุกแก่ คณะกรรมการบริหารกรมวิชาการเกษตร มีมติ
ให้เป็นพันธุ์แนะนำ ชื่อ สังข์หยดพัทลุง เมื่อวันที่ 23เมษายน 2550
ลักษณะประจำพันธุ์
สังข์หยดพัทลุงเป็นข้าวเจ้าไวต่อช่วงแสง เก็บเกี่ยวประมาณวันที่ 10 กุมภาพันธ์ เมื่อปลูกตามฤดูนาปีภาคใต้ (ปักดำกลางเดือนกันยายน) ต้นสูง 140 เซนติเมตรกอตั้ง ใบเขียว เมล็ดข้าวเปลือก ยาว 9.33 มิลลิเมตรกว้าง 2.11 มิลลิเมตร หนา 1.77 มิลลิเมตร ข้าวกล้องสีแดงรูปร่างเรียว ยาว 6.70 มิลลิเมตร กว้าง 1.18 มิลลิเมตรหนา 1.64 มิลลิเมตร ข้าวซ้อมมือมีสีแดงปนสีขาว ข้าวจากรวงเดียวกันเมื่อขัดสีแล้วบางเมล็ดมีสีขาวใส แต่ส่วนใหญ่มีลักษณะขาวขุ่น ข้าวหุงสุกนุ่ม เป็นข้าวที่มีความคงตัวของแป้งสุกอ่อน (94 มิลลิเมตร) มีปริมาณแอมิโลสต่ำ (15 ± 2 %)ระยะพักตัวของเมล็ด 8 สัปดาห์
ผลผลิต
ผลผลิตเฉลี่ย 330 กิโลกรัมต่อไร่
ลักษณะเด่น
1. สังข์หยดพัทลุง มีเยื่อหุ้มเมล็ดสีแดง ข้าวกล้องเมื่อหุงสุกนุ่มเล็กน้อย ส่วนข้าวซ้อมมือเมื่อหุงสุกนุ่ม
2. ข้าวกล้อง มีคุณค่าทางโภชนาการสูงกว่าพันธุ์เล็บนก-ปัตตานี จากตัวอย่างข้าวกล้อง 100 กรัม มีปริมาณไนอาซิน(Niacin) 6.46 มิลลิกรัม ใยอาหาร 4.81 กรัม และธาตุเหล็ก0.52 มิลลิกรัม
พื้นที่แนะนำ
พื้นที่ปลูกข้าวนาปี จังหวัดพัทลุง
ข้อควรระวัง
1. สังข์หยดพัทลุง ไม่ต้านทานโรคไหม้
2. ไม่ควรปลูกใกล้เคียงกับแปลงปลูกข้าวขาว และควรแยกเก็บเมล็ดพันธุ์ไว้โดยเฉพาะ
ตอบกลับโพส

ย้อนกลับไปยัง “ความรู้วิชาการเกษตร”