พันธุ์ข้าวที่ได้รับการรับรอง 2554 ข้าวเจ้าลูกผสม กขผ1

ความรู้วิชาการเกษตร หมวดนี้สำหรับรวบรวม ความรู้ทางการเกษตร ทุกรูปแบบ
KasetTaln
โพสต์: 176
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ 16 ม.ค. 2013 1:24 pm

พันธุ์ข้าวที่ได้รับการรับรอง 2554 ข้าวเจ้าลูกผสม กขผ1

ข้อมูล โดย KasetTaln »

ข้าวเจ้าลูกผสม
1. พันธุ์ กขผ1
กขผ1-1.jpg
กขผ1-1.jpg (76.11 KiB) Viewed 5566 times
กขผ1-2.jpg
กขผ1-2.jpg (18.15 KiB) Viewed 5566 times

ประวัติ
เป็นข้าวลูกผสมสายพันธุ์ PTT06001H ที่ผลิตในระบบ 3 สายพันธุ์ โดยมีพันธุ์แม่คือ สายพันธุ์เรณูเป็นหมันIR79156A ของสถาบันวิจัยข้าวนานาชาติ ที่มีสายพันธุ์ IR79156B เป็นสายพันธุ์รักษาเรณูเป็นหมัน ส่วนพันธุ์พ่อคือ สายพันธุ์แก้ความเป็นหมัน (สายพันธุ์ R) คือ JN29-PTT-43-1-5-5-1-3-1R ฤดูนาปี 2549 ปลูกศึกษาสมรรถนะการผสมและความดีเด่นของลูกผสม และเปรียบเทียบผลผลิตข้าวลูกผสมภายในสถานีที่ศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี ฤดูนาปรัง 2550ปลูกเปรียบเทียบผลผลิตข้าวลูกผสมระหว่างสถานีในศูนย์วิจัยข้าว 3 แห่ง คือ ศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี สุพรรณบุรี และชัยนาท พร้อมทั้งทดสอบปฏิกิริยาต่อโรคไหม้และเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล และวิเคราะห์คุณภาพเมล็ดทางกายภาพและเคมีฤดูนาปี 2550 ทดสอบเสถียรภาพผลผลิตในศูนย์วิจัยข้าว 10 แห่ง คือ ศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี สุพรรณบุรี ชัยนาท ปราจีนบุรีคลองหลวง ฉะเชิงเทรา พิษณุโลก แพร่ เชียงใหม่ และแม่ฮ่องสอน ฤดูนาปรัง 2551 ถึง ฤดูนาปี 2551 ปลูกเปรียบเทียบผลผลิตในนาราษฎร์ 8 จังหวัด คือ ปทุมธานี สุพรรณบุรี ชัยนาท ปราจีนบุรี สระบุรี ฉะเชิงเทรา อุตรดิตถ์ และพิษณุโลกฤดูนาปรัง 2552 ปลูกเปรียบเทียบผลผลิตในนาราษฎร์ 6 จังหวัด คือ ปทุมธานี สุพรรณบุรี ชัยนาท ปราจีนบุรี อุตรดิตถ์และพิษณุโลก ฤดูนาปรัง พ.ศ. 2551 ถึง พ.ศ. 2554 ทดสอบผลผลิตในนาเกษตรกร จังหวัด ปทุมธานี สุพรรณบุรีชัยนาท ปราจีนบุรี และฉะเชิงเทรา กรมการข้าวรับรองพันธุ์ เมื่อวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2554
ลักษณะประจำพันธุ์
เป็นข้าวเจ้าไม่ไวต่อช่วงแสง มีอายุเก็บเกี่ยว 115 วัน (โดยวิธีปักดำ) ความสูงของต้น 116 เซนติเมตร มีจำนวน
รวงต่อกอ 8 รวง (ระยะปักดำ 20 x 20 ซม.) จำนวนเมล็ดต่อรวง 200-250 เมล็ด มีเมล็ดดีต่อรวง 85เปอร์เซ็นต์
น้ำหนัก 1,000 เมล็ด หนัก 24.72 กรัม ต้านทานต่อโรคไหม้ในบางพื้นที่ ค่อนข้างต้านทานต่อเพลี้ยกระโดดหลังขาว แต่
อ่อนแอต่อเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล และโรคขอบใบแห้ง มีเปลือกเมล็ดสีฟาง ข้าวเปลือก ยาว 10.38 ± 0.28 มิลลิเมตร
กว้าง 2.44 ± 0.07 มิลลิเมตร และหนา 1.97 ± 0.03 มิลลิเมตร ข้าวกล้องมีสีขาวยาว 7.28 ± 0.28 มิลลิเมตร กว้าง
2.08 ± 0.07 มิลลิเมตร และหนา 1.76 ± 0.08 มิลลิเมตร ข้าวสารยาว 7.23 ± 0.25 มิลลิเมตร กว้าง 2.07 ± 0.07
มิลลิเมตร หนา 1.74 ± 0.04 มิลลิเมตร มีค่าท้องไข่น้อย (0.61) คุณภาพการสีดีได้ข้าวเต็มเมล็ด และต้นข้าว 42.08
เปอร์เซ็นต์ มีปริมาณอมิโลสสูง (27.0 %) ค่าการสลายเมล็ดในด่าง (1.7% KOH) 5.98 ความคงตัวของแป้งสุกในระดับ
แป้งอ่อน มีค่าการไหลของแป้งเปียก 83.6 มิลลิเมตร การยืดตัวของข้าวสุกอยู่ในเกณฑ์ปกติ (1.69 เท่า) อุณหภูมิแป้งสุก
ต่ำ ลักษณะข้าวสวย ร่วน ไม่เกาะติด
ลักษณะเด่น
• ให้ผลผลิตเฉลี่ย 1006 กก./ไร่ สูงกว่าพันธุ์ปทุมธานี 1 (666 กก./ไร่) และสุพรรณบุรี 1 (817 กก./ไร่) คิดเป็นร้อยละ 51 และ 23 ตามลำดับ
พื้นที่แนะนำ พื้นที่นาชลประทานในภาคกลางและภาคเหนือตอนล่าง
ข้อควรระวัง อ่อนแอต่อเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล และโรคขอบใบแห้ง ค่อนข้างอ่อนแอต่อโรคไหม้ในเขตพิษณุโลก__
แก้ไขล่าสุดโดย KasetTaln เมื่อ อาทิตย์ 24 ก.พ. 2013 11:00 pm, แก้ไขไปแล้ว 1 ครั้ง.

ย้อนกลับไปยัง “ความรู้วิชาการเกษตร”