จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง

ความรู้วิชาการเกษตร หมวดนี้สำหรับรวบรวม ความรู้ทางการเกษตร ทุกรูปแบบ
Thawatchai
โพสต์: 23
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ 28 พ.ย. 2018 8:46 pm

จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง

ข้อมูล โดย Thawatchai »

วิธีทำจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง

จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง มันคืออะไรกันแน่ ปกติแล้วจุลินทรีย์จะต้องเกิดจากการหมักวัตถุอินทรีย์ เช่น
จุลินทรีย์หน่อกล้วย จุลินทรีย์อีเอ็ม ฯ แต่เท่าที่ทราบคือการทำจุลินทรีย์สังเคราะห์แสงกระบวนการทำ
นั้นจะต้องนำไปตากแดดก็จะได้ออกมาเป็นจุลินทรีย์เอาไว้ใช้ได้เลย จุลินทรีย์สังเคราะห์แสงนั้นทำง่าย
แต่ในการทำจุลินทรีย์สังเคราะห์แสงทดลองบางครั้งก็อาจไม่เกิดจุลินทรีย์สังเคราะห์แสงได้เช่นกัน
ถึงจะทำง่าย แต่ผลที่ได้ไม่แน่นอน

ก่อนอื่นก็เริ่มศึกษาหาข้อมูลก็พบว่ากระบวนการทำจุลินทรีย์สังเคราะห์แสงนั้น เราจะต้องนำอาหาร
มาเลี้ยงตัวจุลินทรีย์ โดยนำอาหารมาเพาะเชื้อใส่ลงไปในขวดที่มีน้ำแล้วนำขวดที่มีอาหารและน้ำไปตั้ง
ตากแดด โดยอาหารก็คือไข่ไก่ ในอินเทอร์เน็ตนั้นมีมากมายหลายสูตร ทั้งผสมน้ำปลาและผงชูรส
หรือไม่ก็ต้องนำแหล่งน้ำมาจากธรรมชาติบ้าง
22.PNG
(497.01 KiB) ดาวน์โหลดแล้ว 148 ครั้ง
ประโยชน์ของจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง
-ช่วยตรึงไนโตเจนในดิน เพิ่มไนโตเจนให้กับพืช
-เร่งการเจริญเติบโต ทำให้พืชแข็งแรงแล้วโตเร็วเป็น 3 เท่า
-เมื่อใช้ทางดินทำให้รากพืชแข็งแรงและหาอาหารได้ดีขึ้น ใช้กับนาข้าวช่วยเร่งการแตกกอของข้าว
-ช่วยในการย่อยธาตุอาหารและวัตถุอินทรีย์ในดิน เพื่อให้พืชดูดซึมไปใช้ได้อย่างง่ายดาย
-ป้องกันพืชโดยการทำลายจุลินทรีย์ไม่ดีในดิน ที่เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคพืช

สิ่งที่ต้องเตรียม
น้ำปลา.jpg
(60.29 KiB) ดาวน์โหลดแล้ว 148 ครั้ง
1.น้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติ หรือน้ำปะปาก็ได้ (แต่น้ำธรรมชาติจะเป็นเร็วกว่า)
2.ขวดขนาด 1.5 ลิตรหรือมากกว่า
3.ไข่ไก่ 1 ฟอง
4.น้ำปลายี่ห้อใดก็ได้


วิธีทำจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง

1.ตอกไข่ใส่ถ้วยแล้วเติมน้ำปลาลง 1 ช้อนโต๊ะ คนให้เข้ากัน

2.นำน้ำใส่ขวดขนาด 1.5 ลิตรไปตากแดดประมาณ 4-5 วัน ก่อนเติมไข่ไก่ที่เตรียมไว้ลงไป 1 ช้อนโต๊ะ

3.นำไปตั้งไว้ในบริเวณกลางแจ้งที่มีแดดส่องถึงทุกวัน (ทิ้งไว้ประมาณ 30 วัน หรือ 4 สัปดาห์ ก็จะหัวเชื้อจุลินทรีย์ดีๆนั้นเอง)
admin
Administrator
โพสต์: 423
ลงทะเบียนเมื่อ: จันทร์ 14 ม.ค. 2013 4:02 am

Re: จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง

ข้อมูล โดย admin »

มีใคร ลองทำตามบ้างแล้ว
ตอบกลับโพส

ย้อนกลับไปยัง “ความรู้วิชาการเกษตร”