ปลูกมะม่วงอย่างไรในภาวะที่อุณหภูมิโลกสูงขึ้น

ความรู้วิชาการเกษตร หมวดนี้สำหรับรวบรวม ความรู้ทางการเกษตร ทุกรูปแบบ
yositacha
โพสต์: 5
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ 27 พ.ค. 2020 10:36 am

ปลูกมะม่วงอย่างไรในภาวะที่อุณหภูมิโลกสูงขึ้น

ข้อมูล โดย yositacha »

o31de8c48ac444f3551f9f0ec3a4312b0_4620693218559945013_200317_0058.jpg
อุณหภูมิโลกที่สูงขึ้น ส่งผลต่อการผลิตมะม่วงอย่างไร สาเหตุนี้ใช่หรือไม่ที่ทำให้เกษตรกรต้องเผชิญกับปัญหาคุณภาพและปริมาณผลผลิตที่ลดลง หากกล่าวถึงอุณหภูมิโลกที่สูงขึ้น หลายคนคงนึกถึงภาวะโลกร้อน การเพิ่มขึ้นของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ การเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลจากน้ำแข็งขั้วโลกที่ละลาย แต่แท้จริงแล้วยังมีอีกหนึ่งผลกระทบที่ส่งผลต่อมนุษย์โดยตรง คือภาวะขาดแคลนอาหาร คำถามต่อมาคือ แล้วอุณหภูมิที่สูงขึ้นนี้จะทำให้ขาดแคลนอาหารได้อย่างไร กรณีศึกษาที่เห็นได้ชัดเจนคือเรื่องของการผลิตพืชซึ่งเป็นอาหารของมนุษย์ ตัวอย่างไม้ผลที่ได้รับผละกระทบจนเป็นที่กล่าวถึงในสังคมของเกษตรกร คือการหลุดร่วงของผลมะม่วงน้ำดอกไม้ซึ่งมีสาเหตุจากอุณหภูมิโลกที่สูงขึ้น ซึ่งมะม่วงน้ำดอกไม้ถือว่าเป็นไม้ผลที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจและนิยมรับประทานกันอย่างแพร่หลาย

ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับมะม่วง
  • มะม่วงน้ำดอกไม้ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Mangifera indica Linn. เป็นพืชในวงศ์ Anacardiaceae เป็นผลไม้ที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจชนิดหนึ่งของประเทศไทย ที่นิยมปลูกกันอย่างแพร่หลายในทุกภูมิภาค และเป็นพืชที่มีความสำคัญเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากความต้องการมะม่วงทั้งในตลาดภายในประเทศและต่างประเทศค่อนข้างสูงทุกปี จากสถิตรายสินค้าของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรปี พ.ศ. 2561 พื้นที่ปลูกมะม่วงในประเทศไทยมีจำนวนรวมทั้งสิ้น 1.9 ล้านไร่ ผลผลิตรวม 3.12 ล้านตัน ผลผลิตเฉลี่ย 1,583 กิโลกรัมต่อไร่ (สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร,2561) มูลค่าส่งออกผลมะม่วงสดประมาณ 65,579 ตัน มูลค่า 2,392 ล้านบาท พ.ศ. 2562 มูลค่าส่งออกผลมะม่วงสดประมาณ 60,329 ตัน มูลค่า 2,139 ล้านบาท ตลาดที่สำคัญในการส่งออกมะม่วงที่สำคัญ ได้แก่ ประเทศญี่ปุ่น เกหลีใต้ สหรัฐอเมริกา เวียดนาม เป็นต้น (สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร,2563)

  • มะม่วงน้ำดอกไม้เป็นผลไม้ที่นิยมรับประทานผลสุก เมื่อดิบมีรสเปรี้ยว ผิวสีเขียวนวล เมื่อสุกผิวสีเหลือง เนื้อสีเหลือง มีกลิ่นหอม ลักษณะเนื้อละเอียดมีเสี้ยนค่อนข้างน้อย รสหวาน โดยปกติมะม่วงออกดอกได้ดีเมื่อต้นมะม่วงมีความสมบูรณ์พร้อมและอุณหภูมิต่ำในช่วงก่อนออกดอกอยู่ระหว่าง 15–20 องศาเซลเซียส ติดกันอย่างน้อย 5-7 วัน และหลังจากอุณหภูมิที่สูงขึ้นมะม่วงจะแทงช่อทันที (มนู, 2538) แต่ในปี พ.ศ. 2562 ประเทศไทยมีอุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปี 28.1 องศาเซลเซียส (กรมอุตุนิยมวิทยา, 2562) อุณหภูมิที่สูงขึ้น ส่งผลต่อการออกดอก และติดผลของมะม่วง ทำให้มะม่วงมีการผสมเกสรลดลง มีการหลุดร่วงของผล อีกทั้งอุณหภูมิที่สูงขึ้น ยังส่งผลให้ปริมาณเพลี้ยไฟเพิ่มมากขึ้น การทำลายของเพลี้ยไฟในระยะออกดอก ทำให้ช่อดอกหงิกงอ ดอกร่วงไม่ติดผล และหากเพลี้ยไฟทำลายในระยะติดผล จะส่งผลให้ผิวของผลมะม่วงเป็นสีดำเกือบทั้งหมด ทำให้ผลผลิตมีราคาต่ำลง (กรมวิชาการเกษตร, 2563)


การปลูกมะม่วง
สำหรับเกษตรกรที่ประสบปัญหาคุณภาพผลผลิตที่ลดลง เกษตรกรทุกท่านสามารถผลิตมะม่วงน้ำดอกไม้ได้ แต่หากจะผลิตให้มีคุณภาพนั้น จำเป็นต้องมีกลยุทธ์หรือวิธีการในการปลูก เกษตรกรจำเป็นต้องทำความเข้าใจและใส่ใจตั้งแต่กระบวนการเลือกกิ่งพันธุ์ แหล่งผลิตกิ่งพันธุ์ที่ดีจะต้องมีคุณสมบัติตรงตามพันธุ์และปราศจากโรค การขยายพันธุ์มะม่วงน้ำดอกไม้นั้นสามารถทำได้หลายวิธี เช่น การเพาะเมล็ด การตอน การติดตา การเสียบยอด และการทาบกิ่ง จากนั้นจึงเตรียมดิน ก่อนปลูกพืชจำเป็นต้องมีการวิเคราะห์คุณสมบัติของดิน ธาตุอาหารในดิน หากดินมีปัญหาดินเปรี้ยว ดินเค็ม อุ้มน้ำหรือไม่ หากเป็นดินเหนียวอาจต้องทำการขุดร่องน้ำ พื้นที่แห้งแล้งจำเป็นต้องมีการขุดบ่อพักน้ำ หรือสำรองน้ำไว้ใช้ เมื่อวิเคราะห์แล้วหากพบว่าดินบริเวณที่จะปลูกมีคุณสมบัติม่เหมาะกับการปลูกมะม่วง เกษตรกรจำเป็นต้องทำการแก้ไขปัญหาในส่วนนี้ก่อนปลูกพืช มิเช่นนั้นจะส่งผลต่อการเจริญเติบโตและการดูดซึมธาตุอาหารของพืช เมื่อทำการเขตกรรมดินแล้ว จึงกำหนดระยะปลูก ซึ่งระยะปลูกโดยทั่วไปคือระยะระหว่างต้น 5-6 เมตร และระยะระหว่างแถว 6 เมตร พื้นที่ 1 ไร่สามารถปลูกได้โดยประมาณ 45-52 ต้น ขั้นตอนต่อไปคือการขุดหลุมเพื่อปลูก โดยหลุมควรมีความกว้าง 50-70 เซนติเมตร ความลึก 50 เซนติเมตร และก่อนปลูกต้องทำการงดน้ำกิ่งพันธุ์หรือต้นมะม่วงที่จะนำมาปลูก 2 วัน เพื่อให้ดินในถุงแห้ง และเพื่อให้พืชมีการปรับตัว มีการรองก้นหลุมด้วยปุ๋ยสูตร 16-1-1-6 ต้นละ 1 ช้อน จากนั้นกลบดิน และทำการรดน้ำ

การให้น้ำมะม่วง
การให้น้ำพืชเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญอย่างมาก การปลูกจำเป็นต้องมีการชลประทานที่ดี มีการขุดบ่อเพื่อเก็บน้ำ หรือสำรองน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้ง การให้น้ำมะม่วงมีทั้งการให้น้ำทางใต้ผิวดิน การให้น้ำแบบหัวฉีดฝอย การให้น้ำแบบน้ำหยด การให้น้ำแบบสายยาง การให้น้ำแบบเรือดำน้ำ และการให้น้ำแบบตักรด การให้น้ำที่นิยมในปัจจับคือการให้น้ำแบบระบบสปริงเกอร์ เนื่องจากเป็นการให้น้ำที่สามารถกำหนดปริมาณน้ำ และตั้งระยะเวลาเปิดปิดอัตโนมัติได้ ทั้งนี้ยังมีงานวิจัยเกี่ยวกับการให้น้ำด้วยระบบสปริงเกอร์บริเวณทรงพุ่มนั้นยังช่วยลดอุณหภูมิเรือนยอด ซึ่งเป็นสาเหตุของการหลุดร่วงของดอกและผลมะม่วงอีกด้วย และสำหรับช่วงเวลาที่มะม่วงต้องการน้ำคือช่วงที่มะม่วงมีการเจริญเติบโตของกิ่งก้านและใบ และช่วงหลังจากที่ติดผลแล้ว ส่วนช่วงที่ความต้องการน้ำจะลดลงคือช่วงเวลาก่อนที่มะม่วงจะออกดอก และก่อนการเก็บเกี่ยว

ปัจจัยที่มีผลต่อการผลิตมะม่วง
1.แมลงผสมเกสร
2.ลม โดยลมจะช่วยพัดเอาอับเรณูไปตกบนเกสรตัวเมีย
3.อัตราส่วนระหว่างเพศดอกของมะม่วง ซึ่งอัตราส่วนเพศดอกตัวผู้ต่อดอกสมบูรณ์เพศที่ติดผลดีควรอยู่ในช่วง 3:1 หรือน้อยกว่านั้น
4.การแตกของอับเรณู และความมีชีวิตของเรณู
5.อุณหภูมิ มีผลต่อการแทงช่อดอก โดยปกติแล้วมะม่วงจะออกดอกได้ดีเมื่อต้นมะมม่วงมีความสมบูรณ์พร้อมและอุณหภูมิในช่วงออกดอกจะต่ำอยู่ระหว่าง 15-20 องศาเซลเซียส และหากสภาพอกาศมีอุณหภูมิสูงและแห้ง จะส่งผลให้มีปริมาณเพี้ยไฟเพิ่มมากขึ้น
6.ความชื้น มีอิทธิพลต่ิการเจริญเติบโตของช่อดอก อับเรณู การงอกของดรณูไปผสมกับไข่ ปริมาณโรค การละลายอาหาร การร่วงของดอกและผล
8.แสง
9.อาหารที่ต้นมีอยู่และได้รับ
10.สารควบคุมการเจริญเติบโต เช่น สารแพคโคลบิวทราโซล สารกลุ่มออกซิน จิบเบอเรลลิน เป็นต้น
(มนู,2538)

การใส่ปุ๋ย
การปลูกมะม่วงจำเป็นต้องมีการใส่ทั้งปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยอินทรีย์ ในส่วนของปุ๋ยคอก เช่น ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยพืชสด ซึ่งเป็นการเพิ่มธาตุอาหารให้กับพืชและช่วยในการบำรุงดิน ส่วนปุ๋ยเคมี นั้น จะให้ธาตุอาหารที่พืชสามารถนำไปใช้ได้ทันที ตัวอย่างปุ๋ยเคมีที่นิยมใช้ในการผลิตมะม่วง ได้แก่ ปุ๋ยสูตรเสมอ 15-15-15 หรือ 16-16-16 เป็นต้น

โรคที่ควรระวังในการผลิตมะม่วงให้มีคุณภาพดี ได้แก่ โรคแอนแทรกโนส โรคราแป้ง โรคราดำ โรคใบจุดสนิม โรคราสีชมพู เป็นต้น

แมลงศัตรูพืชที่มีความสำคัญ ได้แก่ เพลี้ยจั๊กจั่นมะม่วง หนอนเจาะลำต้น ด้วงมะม่วง แมลงวันผลไม้ทำลายผลมะม่วง เพลี้ยแป้ง และเพลี้ยไฟ เป็นต้น

สรุปประเด็นสำคัญ
เมื่อทราบถึงกลยุทธ์ในการผลิตมะม่วง ปัจจัยในการผลิตมะม่วงให้มีคุณภาพ และสาเหตุของการลดลองของปริมาณและคุณภาพผลผลิตแล้ว เกษตรกรควรตระหนักถึงปัจจัยเหล่านั้น โดยเฉพาะอุณหภูมิที่สูงขึ้น การแก้ไขปัญหาเบื้องต้นสามารถทำได้โดยการใช้สารควบคุมการเจริญเติบโตเพื่อเพิ่มการติดผล และลดการหลุดร่วงของผล เข้าใจความต้องการธาตุอาหาร และปริมาณน้ำของมะม่วงน้ำดอกไม้ มีการดูแลรักษา เข้าใจหลักการเจริญเติบโตของมะม่วง

ย้อนกลับไปยัง “ความรู้วิชาการเกษตร”