กล้วย (Banana) ชื่อวิทยาศาสตร์ ภาษาอังกฤษ Musa sapientum Linn.

ความรู้วิชาการเกษตร หมวดนี้สำหรับรวบรวม ความรู้ทางการเกษตร ทุกรูปแบบ
admin
Administrator
โพสต์: 423
ลงทะเบียนเมื่อ: จันทร์ 14 ม.ค. 2013 4:02 am

กล้วย (Banana) ชื่อวิทยาศาสตร์ ภาษาอังกฤษ Musa sapientum Linn.

ข้อมูล โดย admin »

กล้วย (Banana) ชื่อวิทยาศาสตร์ ภาษาอังกฤษ Musa sapientum Linn.
วงศ์ : MUSACEAE
kruy1.jpg
kruy1.jpg (40.92 KiB) Viewed 2455 times
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ลักษณะแต่ละส่วนของกล้วย

รากกล้วย : มีระบบรากฝอย รากแผ่กระจายได้ถึง 5.2 ม. และลึกประมาณ 75 ซม.

ลำต้นกล้วย : กล้วยมีลำต้นอยู่ใต้ดินเรียกว่า rhizome และมีการเจริญเติบโตคล้ายการเจริญเติบโตแบบซิมโปเดียล ที่ลำต้นของกล้วยมีตาอยู่ทางด้านข้าง โดยมีกาบใบหุ้มอยู่ เรียกว่าหยวกกล้วย

กาบใบและใบกล้วย : กาบใบกล้วยมีช่องอากาศครึ่งหนึ่งของพื้นที่และต่อกันเป็นท่อยาว มีท่อน้ำ ท่ออาหารเรียงขนานกันอย่างต่อเนื่อง ผิวด้านนอกของกาบใบเป็นเงา เป็นใบเดี่ยว แผ่นใบยาวประมาณ 1.5 - 3 ม. กว้างประมาณ 40 - 60 ซม. แกนใบเห็นได้ชัดเจน เส้นใบขนานกัน ก้านใบยาวมากกว่า 30 ซม.

ดอกกล้วย : ออกเป็นช่อเรียกว่า หัวปลี ห้อยลงมายาวประมาณ 60 - 130 ซม. มีกาบใบหุ้มช่อดอกสีแดงปนม่วง มีลักษณะกลมรียาวประมาณ 15 - 30 ซม. ดอกย่อยออกติดกันเป็นแผง ดอกที่ฐานเป็นดอกตัวเมีย ส่วนปลายเป็นดอกตัวผู้ เมื่อดอกตัวเมียเริ่มเจริญไปเป็นผล ดอกตัวผู้จะร่วงหล่นไป ช่อดอกจะเจริญไปเป็นเครือกล้วยซึ่งประกอบด้วยหวีกล้วย ในเครือกล้วยหนึ่งๆ จะประกอบด้วยกล้วย 1 - 8 หวี

ผลกล้วย :กล้วยแต่ละหวีประกอบด้วยกล้วยประมาณ 10 - 20 ผล เนื้อกล้วยสุกมีสีเหลือง ผลเป็นแบบ Berry รูปร่างของผลกลมยาว ขนาดและรูปร่างกล้วยขึ้นอยู่กับชนิดกล้วย แต่ละต้นของกล้วยให้ผลเพียงครั้งเดียวเท่านั้น/ เมล็ด : มีสีดำ กล้วยบางต้นและบางพันธุ์เท่านั้นที่มีเมล็ด

พันธุ์กล้วยที่พบมาก
กล้วยตานี / กล้วยน้ำว้า / กล้วยไข่ / กล้วยหอมชนิดต่างๆ / กล้วยหักมุก / กล้วยหิน / กล้วยงาช้าง / กล้วยนางพญา
ในหน้าเว็บจะมีบทความจำแนกพันธุ์กล้วยแต่ละสายพันธุ์ไว้ ดูได้ที่ลิงค์นี้
https://www.kasettambon.com/tag/%e0%b8% ... %e0%b8%a2/
พร้อมเมนูอาหารที่จำจากกล้วยได้ที่นี่
https://www.kasettambon.com/tag/%e0%b9% ... %e0%b8%a2/

การขยายพันธุ์กล้วย
การเพาะเมล็ด / การแยกหน่อ / การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ

การปลูกกล้วย
การเตรียมดินปลูกกล้วย วิเคราะห์ดิน เพื่อประมาณค่าความอุดมสมบูรณ์ของธาตุอาหารในดิน ไถพรวน ตากดินไว้ 1 เดือน

วิธีปลูกกล้วย ใช้หน่อที่สมบูรณ์ในระยะที่มีใบแคบ ลำต้นสูง 30-50 ซม. ระยะปลูก 2x2 ม. หรือ 2.5x2.5 ม. ขุดหลุมขนาด 50x50x50 ซม. รองก้นหลุมด้วยดินผสมกับปุ๋ยคอก อัตรา 5 กก./หลุม วางหน่อพันธุ์ที่ก้นหลุมให้ลึกประมาณ 25 ซม. โดยจัดวางให้หน่อพันธุ์ให้ด้านที่ติดต้นแม่อยู่ในทิศทางเดียวกัน กลบดินที่เหลือลงในหลุม กดดินบริเวณโคนให้แน่น และคลุมด้วยฟางข้าว หรือหญ้าแห้ง รดน้ำให้ชุ่ม

การตัดแต่งและควบคุมทรงพุ่มของกล้วย
แต่งหน่อตามเพื่อให้ต้นแม่มีความอุดมสมบูรณ์โดยใช้มีดยาวปลายขอปาดเฉียงตัดขวางลำต้น ตัดใบและลอกกาบใบที่เป็นโรค ตัดใบให้เหลือต้นละ 12 ใบ ภายหลังกล้วยตกเครือแล้วให้เหลือต้นละ 9 ใบ

การให้ปุ๋ยกล้วย
ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ 1ครั้ง เช่น ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักก่อนปลูก 3-5 กก./หลุม ใส่ปุ๋ยเคมี 4 ครั้ง/ปี ใส่ปุ๋ยเคมีครั้งที่ 1 และ 2 หลังจากปลูก 1 เดือน และ 3 เดือน ใช้ปุ๋ยสูตร 20-10-10 หรือ 15-15-15 อัตรา 125-500 กก./ต้น/ครั้ง ใส่ปุ๋ยเคมีครั้งที่ 3 และ 4 หลังจากปลูกนาน 5 เดือน และ 7 เดือน ใช้ปุ๋ยสูตร 12-12-24 หรือ 14-14-21 อัตรา 125-500 ก./ต้น/ครั้ง ปุ๋ยเคมีใส่โดยโรยห่างต้นประมาณ 30 ซม. หรือใส่ในหลุมลึกประมาณ 10 ซม. 4 ด้าน แล้วพรวนดินกลบ
การให้น้ำกล้วย
ในฤดูฝน เมื่อฝนทิ้งช่วง สังเกตหน้าดินแห้งและเริ่มแตกควรรีบให้น้ำ ในฤดูแล้ง เริ่มให้น้ำตั้งแต่หมดฝน ประมาณปลายเดือน ม.ค.-พ.ค. วิธีการให้น้ำชาวสวนนิยมปล่อยให้น้ำไหล เข้าไปในแปลงย่อยเป็นแปลงๆ เมื่อดินมีความชุ่มชื้นดีแล้วจึงให้กับแปลงอื่นต่อไป

โรคและศัตรูพืชของกล้วย
ด้วงงวงกล้วย/ ด้วงเจาะลำต้น/ หนอนม้วนใบกล้วย/

การเก็บเกี่ยวกล้วย
เก็บเกี่ยวหลังตัดปลีประมาณ 45 วัน สำหรับการส่งออกเลือกตัดเครือกล้วยที่มีคุณภาพดีและควรตัดก่อนการเก็บเกี่ยวปกติ 3-5 วัน วิธีการเก็บเกี่ยวโดยใช้มีดคมตัดเครือกล้วย เรียงเครือกล้วยบนพื้นดินที่ปูด้วยแผ่นพลาสติก และใช้แผ่นโฟมหรือฟองน้ำคั่นระหว่างเครือกล้วย เพื่อป้องกันการเสียดสี หามเครือกล้วยไปโรงคัดบรรจุ
การปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว/การเก็บรักษา
ทำความสะอาดเครือกล้วยด้วยน้ำสะอาด และคัดเลือกหวีที่ไม่ได้คุณภาพออก ตัดหวีโดยไม่ทำให้ขั้วหวีช้ำ ปลิดซากดอกแห้งที่ปลายผลออก แช่หวีกล้วยในสารป้องกันกำจัดเชื้อรา ผึ่งหวีกล้วยให้แห้ง บรรจุในกล่องกระดาษลูกฟูก

สุขลักษณะและความสะอาด
ควรทำความสะอาดแปลงอยู่เสมอกำจัดวัชพืชต้นกล้วยที่ตัดเครือแล้วต้องตัดต้นแล้วนำไปทำลายนอกแปลง เครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆ หลังใช้งานแล้วควรทำความสะอาด ดูแล และว่อมบำรุงให้อยู่ในสภาพเรียบร้อยพร้อมใช้งาน เก็บสารป้องกันกำจัดศัตรูพืช และปุ๋ยเคมีในที่ปลอดภัย และใส่กุญแจ

แหล่งปลูกกล้วยในภาคใต้
กล้วยหอม ส่วนใหญ่มีการปลูกเชิงการค้าแหล่งปลูกได้แก่ ชุมพร ระนอง สงขลา นราธิวาส และกรุงเทพมหานคร

กล้วยไข่ เป็นกล้วยที่ปลูกเชิงการค้าเป็นส่วนใหญ่ แหล่งปลูกสำคัญ จังหวัดกำแพงเพชร เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ นครสวรรค์ สุโขทัย ชลบุรี ตรัง นครศรีธรรมราช

กล้วยน้ำว้า มีการปลูกกันทั่วไปทั้งแถบหลังบ้านและเชิงการค้า แหล่งปลูกได้แก่ เลย นครพนม หนองคาย ชุมพร ระนอง และนครราชสีมา

ผลผลิตโดยประมาณของกล้วย
่ปี 2538 กล้วยหอมมีพื้นที่ปลูก 53,560 ไร่ ผลผลิต 90,439 ตัน ผลผลิตเฉลี่ย 2,391 กิโลกรัม/ไร่
ปี 2538 กล้วยไข่ มีพื้นที่ปลูก 93,000 ไร่ ผลผลิต 150,000 ตัน ผลผลิตเฉลี่ย 2,140 กิโลกรัม/ไร่
ปี 2538 กล้วยน้ำว้า มีพื้นที่ปลูก 732,000 ไร่ ผลผลิต 1,185,000 ตัน

ข้อมูลจาก natres.psu.ac.th

ย้อนกลับไปยัง “ความรู้วิชาการเกษตร”