ปลูกผักสวนครัวในบ้านเดี่ยวไว้กินเอง ผักสวนหย่อม ผักริมรั้ว

เกษตรกร Showcase เป็นหมวดสำหรับ โชว์ผลงาน ของ เกษตรกรชาวไร่ ชาวนา ชาวสวน เอามาโชว์เพื่อนๆ กันได้ที่หมวดนี้
BabyPink
โพสต์: 93
ลงทะเบียนเมื่อ: จันทร์ 28 ม.ค. 2013 11:51 am

ปลูกผักสวนครัวในบ้านเดี่ยวไว้กินเอง ผักสวนหย่อม ผักริมรั้ว

ข้อมูล โดย BabyPink »

ปลูกผักสวนครัวในบ้านเดี่ยวไว้กินเอง
เรามาปลูกผักไว้กินเองกันเถอะ ประหยัดทั้งเงินและยังได้สุขภาพที่ดีจากการกินผักไร้สารพิษที่เราปลูกเองอีกต่างหาก การปลูกผักสวนครัวไม่ใช่เรื่องยากอย่างที่คิดครับ สำหรับลักษณะบ้านเดี่ยวนั้นส่วนใหญ่จะมีเนื้อที่ไม่ต่ำกว่า 50 ตาราวา ซึ่งเมื่อปลูกบ้านแล้ว มีเนื้อที่ปลูกผักสวนครัวได้ประมาณ 50-100 ตารางเมตร ลักษณะการปลูกผักสวนครัวในที่อยู่อาศัยที่มีลักษณะเป็นบ้านเดี่ยวนั้นมีทางเลือกค่อนข้างมากกว่าที่อยู่อาศัยประเภทอื่นๆ   ซึ่งการเลือกทางเลือกใดก็ขึ้นอยู่กับความชอบของแต่ละคน หรืออาจจะนำเอาหลายๆ รูปแบบมาประยุคต์เข้าด้วยกันก็ได้  ทางที่ดีน่าจะหยั่งเสียงกันในครอบครัวก่อนว่าชอบรูปแบบใด  ซึ่งเป็นการส่งเสริมประชาธิปไตยและความสามัคคีในครอบครัวด้วย นอกจากนี้ยังทำให้คนในครอบครัวทุกคนมีความรู้สึกเป็นเจ้าของสวนครัวที่ได้เลือกขึ้นมาด้วยการดูแลรักษา  จึงเป็นหน้าที่ของทุกคนในครอบครัว ซึ่งนับว่าเป็นผลดีทางอ้อมของการทำสวนครัวในบ้าน รูปแบบการปลูกผักสวนครัวในบ้านเดี่ยว  มีทางเลือกหลายแบบดังต่อไปนี้

*จัดเป็นสวนหย่อมสวนครัว  *ทั้งนี้อาจจัดเป็นมุมสวนครัวหรือการตกแต่งบริเวณนั้นด้วยพืชผักสวนครัว ซึ่งนอกจากจะได้ประโยชน์ในการใช้บริโภคแล้ว ยังได้ความสวยงามที่แปลกตาอีกด้วย หรืออาจปลูกใส่กระถางแล้วไปตั้งไว้ตามมุมใด มุมหนึ่ง แต่เน้นในความสะดวกในการขนย้าย
เมื่อต้องการจัดตกแต่งใหม่......เน้นผักที่ไม่ต้องการดูแลมากนัก หรือผักที่ต้องการร่มเงาเพราะอาจจะปลูกไว้ใต้ร่มเงาบริเวณบ้าน เช่น โหระพา กะเพรา เป็นต้น อย่างไรก็ตาม บางบ้านเทคอนกรีตบริเวณบ้านทั้งหมดจนไม่มีพื้นที่เพียงพอจะปลูกพืชผักสวนครัว หรือต้องการปลูกพืชผักสวนครัวแบบประหยัดเนื้อที่โดยเอาพื้นที่ด้านล่างปลูกไม้อื่นที่ต้องการร่มเงา เช่น หน้าวัว เฟิร์น หรือปลูกผักบางประเภทที่ทนร่มเงา เช่น ชะพลู ขิง กระชาย ขมิ้น ขมิ้นขาว เป็นต้น ซึ่งกรณีนี้อาจยืมแนวความคิดในเรื่องการปลูกสวรครัวลอยฟ้า และการปลูกสวนครัวในพื้นที่จำกัดมาประยุคต์ใช้ด้วยก็ได้


ปลูกริมรั้ว* * หรือการทำค้างให้ผักเลี้อยเกาะ การปลูกผักประเภทนี้เน้นการปลูกเป็นแถวตามแนวรั้วกินด้ เช่น ตำลึง กระถิน ชะอม ผักหวานบ้าน ถั่วพู เป็นต้น ซึ่งผักประเภทนี้ควรเริ่มปลูกในช่วงต้นฤดูฝน รวมทั้งต้องมีการดูแลรักษาบ้าง เช่นเดียวกับผักสวนครัวประเภทอื่นๆ ไม่ควรปล่อยปละละเลยด้วยเห็นว่าเป็นผักที่ขึ้นง่าย  นอกจากนี้เมื่อถึงเวลาอันควรก็ต้องมีการรื้อแปลงทิ้งแล้วปลูกใหม่ เช่น ชะอมควรมีการรื้อแปลงทิ้งทุกๆ4 ปี แล้วปลูกใหม่เพื่อการเก็บผลผลิตที่ดีกว่า


ปลูกผักลงแปลงปลูก ในกรณีที่มีบริเวณบ้านเพียงพอชนิดผักที่เลือกปลูก ควรเป็นผักอายุสั้นหรือที่เยกกันว่า พืชผักล้มลุก ปลูกหมุนเวียนสลับกันไปหรือปลูกผักหลายชนิดในแปลงเดียวกัน  โดยปลูกผักที่มีอายุเก็บเกี่ยวที่แตกต่างกันคละกัน หรือปลูกในแปลงเดียวกันแต่ทยอยปลูกครั้งละ 3-5 ต้น หรือประมาณว่าพอรับประทานได้ในครอบครัวในแต่ละครั้งที่เก็บเกี่ยวเท่ากับว่าชนิดของผักปรับได้ตามความเหมาะสมของพื้นที่และความต้องการในการบริโภค  ซึ่งทำให้มีผักสดเก็บไว้รับประทานได้ทุกวันตลอดปี
 ... แปลงปลูกผักสวนครัวควรอยู่ด้าเหนือหรือด้านใต้ของตัวบ้านหรือแปลงผักให้หลีกเลี่ยงเงาบ้านทอดทับแปลงผัก  การเตรียมแปลงปลูกทำได้ 2 วิธี แล้วแต่การวางแผนการปลูกพืชผักสวนครัวในแต่ละบ้าน


*การเตรียมแปลงปลูกแบบธรรมดา* ขนาด 1 เมตร และยาว 4 เมตร เพียง 3-4 แปลงก็นับว่าพอ แปลงปลูกแต่ละแปลงควรห่างกันประมาณ 50 เซนติเมตร สำหรับใช้เป็นทงเดิน  ขุดดินด้วยจอบพลิกดินลึก 6-8นิ้ว ตากดินจนแห้งใช้เวลา 1-2 สัปดาห์ จากนั้นย่อยดินให้มีขนาดเล็กลง ยกแปลงสูงจากระดับพื้นดิน 20-25 เซนติเมตร ขุดเปิดตอนกลางของแต่ละแปลงเป็นร่องกว้าง 1 ฟุต ลึก 6-8 นิ้ว นำเศษไม้ใบหญ้า หรือ ฟางข้าวใส่จนเต็มอัดให้แน่นพอประมาณ จะช่วยระบายน้ำเก็บความชื่นได้ดียิ่งขึ้น  ย่อยดินปลับผิวแปลงให้เรียบ ใส่ปูนขาว 3-5 กิโลกรัม และปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก 4-5 บุ้งกี๋ คลุกเคล้าให้เข้ากันเกลี่ยปลับผิวแปลงให้เรียบอีครั้ง

การเตรียมแปลงปลูกแบบล้อมรั้ว ซึ่งวัตถุประสงค์การทำรั้วเพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงเข้าไปทำลายพืชผัก การปลูกพืชผักสวนครัวในลักษณะนี้คงต้องมีที่กว้างขวางหน่อยใช้เนื้อที่ประมาณ 36 ตารางเมตร กว้าง 6 เมตร ยาว 6 เมตร เหมาะสำหรับครอบครัวที่มีสมาชิกไม่เกิน5 คน รูปแบบนี้ได้รับการยอมรับมากที่สุด  เนื่องจากมีเนื้อที่ปลูกเพียง 36 ตารางเมตรเท่านั้น แต่สามารถปลูกผักได้ถึง 48 ชนิด แบ่งเป็นผักยืนต้นปานกลางอายุยืน และผักล้มลุกอายุยืน 14 ชนิด เช่น ตะไคร้ ข่า ขิง กระชาย กะเพรา แมงลัก ผักหวานบ้าน โหระพา ชะอม ผักชีฝรั่ง ชะพลู บัวบก เป็นต้น ซึ่งสามารถเก็บเกี่ยวไว้รับประทานตลอดทั้งปี รวมทั้งพืชล้มลุกอายุสั้นปลูกหมุนเวียนตลอดทั้งปี 34 ชนิด เช่น หอมแบ่ง ( ต้นหอม ) กุยช่าย กะหล่ำปลี ผักกาดขาว ผักกาดเขียวปลี เป็นต้น ทำแปลงผักยืนต้นอายุยืนติดกับรั้วด้านในกว้าง 50 เซนติเมตร แบ่งออกเป็นแปลงเล็กๆ ยาวแปลงละ 1 เมตร จำนวน 16 แปลง และแปลงรอบรั้วติดกับประตูทางเข้าอีก 4 แปลง ยาวแปลงละ 1.25เมตร รวม 20 แปลงเล็ก ซึ่งจะปลูกพืชยืนต้น  และยืนต้นปานกลางได้ 14 ชนิด ทำแปลงผักพืชล้มลุกหมุนเวียนให้มีความกว้าง 1 เมตร ยาว 4 เมตร จำนวน3 แปลง โดยแต่ละแปลงแบ่งเป็นแปลงเล็กๆ แปลงละ1 ตารางเมตร  จะปลูกพืชหมุนเวียนได้ครั้งละ 12 ชนิด หมุนเยนตลอดทั้งปี


สวนครัวกระดาษ  การเตรียมแปลงปลูกแบบนี้เป็นการนำเอาทรัพยากรมาหมุนเวียนให้เป็นประโยชน์  เป็นแนวความคิดของกลุ่มผู้ปลูกผักสวนครัวย่านชานเมืองกรุงเทพฯ ซึ่งดัดแปลงมาจากงานวิจัยในการปลูกผักแบบใช้น้ำน้อย เริ่มตั้งแต่การเลือกสถานที่ทำแปลงให้ใกล้ครัวมากที่สุด เพื่อความสะดวกในการเก็บผลผลิตเมื่อขาดอะไรก็เดินเข้าไปเก็บมาใช้ได้เลย กำหนดขนาดที่เหมาะสมทำได้ตั้งแต่ 2-3 ตารางเมตร ไปจนถึง 25 ตารางเมตร รูปทรงไม่จำกัดเพียงแต่ให้มีพื้นที่รอบๆ แปลง ให้เดินเข้าไปได้ ตัดหญ้าให้เรียบติดดิน เอาปุ๋ยคอกมาโรยให้ทั่วแปลงหนาประมาณ 1 นิ้ว แล้วรดน้ำให้ชุ่ม ปูกระดาษหนังสือพิมพ์ หรือกล่องกระดาษทับบนปุ๋ยคอก โดยให้ซ้อนทับกันอย่าให้มีช่องว่าง ถ้าใช้กระดาษหนังสือพิมพ์จะทนกว่าแต่ต้องปูให้หนา ถ้าใช้กล่องกระดาษอย่างหนาปูชั้นเดียวก็พอ นำอิฐมาเรียงตามขอบแปลง ทับลงบนกระดาษให้ชายกระดาษล้ำออกมาประมาณ 20 เซนติเมตร เสร็จแล้วรดน้ำให้ชุ่มบนชั้นกระดาษนำแกลบมาโรยหนาประมาณ1 คืบแล้วรดน้ำอีกที หลังจากนั้นจะใช้วิธีย้ายกล้ามาปลูก หรือหยอดเมล็ดก็ทำคล้ายกัน คือ แหวกแกลบลงไปเป็นหลุมจนถึงกระดาษ ใช้มีดกรีดกระดาษให้เปิดออกแล้วขุดงไปในชั้นดินให้เป็นหลุมเล็กๆ พอปลูกได้ ถ้าดินยังไม่ดีให้หาดินร่วนมากรอกใส่หลุม จะช่วยให้กล้าผักมีดินสำหรับยึดรากในช่วงตั้งตัว  วัสดุแต่ละชิ้นมีหน้าที่ของมัน ปุ๋ยคอกเป็นตัวให้ธาตุอาหาร..  ..และมีจุลินทรียืทำงานอย่างแข็งขัน กระดาษเป็นตัวสกัดการเจริยเติบโตของวัชพืช ดังนั้นจึงต้องปูให้หนาเพื่อที่วัชพืชจะได้ไม่ได้รับแสงแดด อิฐเป็นตัวสกัดไม่ให้วัชพืชจากภายนอกรุกล้ำเข้ามาในแปลง แกลบและกระดาจะเป็นตัวเก็บความชื้นในดิน ดังนั้นในฤดูฝนแทบไม่ต้องรดน้ำ จะรดบ้างในฤดูร้อน5-7 วันครั้งก็ยังได้ แกลบและกระดาษจะย่อยสลายเป้นหน้าดินภายในปีเดียว
... เมื่อผ่านขั้นตอนการเตรียมแปลงปลูกเรียบร้อยแล้ว ก่อนลงมือปลูกควรทดสอบเปอร์เซนต์การงอกของเมล็ดผักเสียก่อน เพื่อที่จะได้รูว่าเมล็ดพันธุที่ซื้อมานั้นดีหรือไม่เมื่อลงทุนลงแรงปลูกไปแล้วจะได้ไม่เสียแรงปล่า โดยการนำเมล็ดจำนวน 100 เมล็ด เพาระในกระดาษทิชชชู รดน้ำให้ชุ่ม 2 คืน เปิดกระดาษนับเมล็ดที่งอก ถ้ามีอัตราร้อยละ 80 ขึ้นไปนับว่าใช้ได้  นำเมล็ดหว่านลงในแปลงที่เตรียมไว้ อย่าให้หนาแน่นจนเกินไปทั่วทั้งแปลง หรือใช้วิธีหยอดหลุม หลุมละ 3-5 เมล็ด ระยะปลูก 5 x 10 เซนติเมตร กลบด้วยฟางข้าวบางๆทั่วทั้งแปลง หลังเมล็ดงอกแล้ว 10 วัน ถอนแยกต้นที่หนาแน่นเกินไปออก ส่วนในวิธีการหยอดเมล็ดนั้นให้ถอนเหลือ 2 ต้นต่อหลุม
 ... เมื่อพบว่ามีมด หรือแมลงเข้ามารบกวนกัดกินเมล็ดให้ราดด้วยน้ำหน่อไม้ดองผสมกับน้ำอย่างเข้มข้น สัปดาห์แรกใส่ปุ๋ยยูเรียอัตรา 4 ช้อนแกงต่อน้ำ 1 ปี๊บ รดให้ทั่วแปลง  และย่างเข้าสัปดาห์ที่ 4 ใส่ปุ๋ยครั้งที่ 2โดยใส่ปุ๋ย 15-15-15 ในอัตรา 3-4 ช้อนแกงต่อแปลงหลังจากกำจัดวัชพืชแล้ว  โรยปุ๋ยห่างจากโคนต้นเล็กน้อยรดน้ำตามทันที หมั่นสำรวจแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอ เมื่อพบแมลงศัตรูระบาดให้จับทำลายทิ้ง ถ้าหากมีการระบาดรุนแรง ให้ฉีดยาพ่นด้วยสารสกัดที่ได้จากเมล็ดสะเดา ข่าแก่ และตะไคร้หอม ในอัตราส่วนผสม 1 กิโลกัม บดให้ละเอียดแช่น้ำ 1 ปี๊บ  หมักทิ้งไว้1 คืน  กรองเอาแต่น้ำเจือจางด้วยน้ำอีก 1-2 ปี๊บ ฉีดพ่นตอนเย็นทุกๆ 3 วัน 2-3 ครังจะช่วยกำจัดหนอนผีเสื้อ เพลี้ยจั๊กจั่น เพลี้ยอ่อน อมลงวัน และด้วงปีกแข็งบางชนิด ภายหลังการเก็บเกี่ยวให้ขุดพลิกดินเพื่อทำลายศัตรูพืชที่อาศัยอยู่ในดิน 1-2 สัปดาห์


หมายเหตุ ไม่ควรปลูกพืชชนิดเดียวกันซ้ำที่เดิม


Post : ปลูกผักสวนครัวในบ้านเดี่ยวไว้กินเอง

Link Post :http://ปลูกผักสวนครัว.blogspot.com/2012 ... -home.html

ที่มา : Oknation.net/blogAdmin (สวนในบ้าน) 
ที่ 01:30
ใช้ร่วมกัน
 ‹
หน้าแรก
ดูเวอร์ชันสำหรับเว็บ
เกี่ยวกับฉัน

ย้อนกลับไปยัง “เกษตรกร Showcase”