การทำปุ๋ยหมักอย่างง่ายไว้ใช้เอง
ฐานเรียนรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยีเครื่องจักรกลเกษตร คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยมี รองศาสตราจารย์บัณฑิต หิรัญสถิตย์พร เป็นหัวหน้าโครงการ ได้ผลิตเครื่องหั่นย่อยและเครื่องบดย่อยให้แก่เกษตรกรและประชาชนทั่วไปเป็นเวลาหลายปี พบว่า ในการทำปุ๋ยหมักทั่วไปจะมีขั้นตอนการทำที่ยุ่งยากไม่สะดวก รองศาสตราจารย์บัณฑิต หิรัญสถิตย์พร จึงได้ศึกษาและรวบรวมวิธีการทำปุ๋ยหมักที่ง่าย แล้วนำมาทดลองทำดู แล้วเห็นว่ามีวิธีการทำปุ๋ยหมักที่ทำได้ง่าย ไม่ซับซ้อน และใช้เวลาในการดูแลรักษากองปุ๋ยน้อย
วิธีแรก
เป็นการทำปุ๋ยหมักจากใบไม้แห้งหรือสดก็ได้ที่ผ่านการย่อย การทำนั้นทำโดยการย่อยใบไม้ แล้วนำเศษใบไม้ที่ย่อยแล้วไปใส่ในถังตาข่าย(ตาข่ายยาว 2.5 เมตร จะได้ถังขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.8 เมตร) โดยเทเศษใบไม้สลับกับขี้วัว โดยใช้เศษใบไม้หนา 15 เซนติเมตร และขี้วัวหนา 5 เซนติเมตร ในแต่ละชั้นให้ทำการลดน้ำให้ชุ่ม ส่วนชั้นบนสุดให้คลุมด้วยเศษใบไม้หนา 5 เซนติเมตร ทำการลดน้ำทุก 5-7 วัน ทำโดยใช้ไม้หรือเหล็กแทงเข้าไปในกองปุ๋ยให้เป็นรู เพื่อที่จะกรอกน้ำลงไปเนื่องจากเมื่อปุ๋ยยุบตัวลงจะมีความแน่นมากขึ้น การรดน้ำจะทำให้น้ำซึมลงไปเฉพาะด้านบนของกองปุ๋ย ส่วนด้านล่างกองปุ๋ยจะไม่ได้รับน้ำ ใบไม้จะกลายเป็นปุ๋ยหมัก ในช่วงเวลาประมาณ 45-60 วัน (สังเกตกองปุ๋ยหมักจะยุบตัวลงประมาณ 30-40 เซนติเมตร และปุ๋ยหมักจะมีสีดำ ถ้าขุดลงไปจะไม่พบใบไม้แต่ใบไม้จะกลายเป็นปุ๋ยหมดแล้ว) การหมักปุ๋ยวิธีนี้ควรทำบนดิน เพราะน้ำส่วนเกินที่เรารดไปจะได้ซึมลงในดิน
วิธีที่สอง
เป็นการทำปุ๋ยหมักจากเศษอาหาร โดยกระบวนการนี้ได้นำแนวความคิดมาจากคุณกิตติ เจริญพานิช เจ้าของร้านอาหารเรือนผักกูด ตำบลช้างกลาง กิ่งอำเภอช้างกลาง จังหวัดนครศรีธรรมราช มาใช้ โดยวิธีนี้ต้องใช้ใบไม้แห้งเท่านั้น ขั้นตอนแรกให้นำบ่อปูนซีเมนต์(บ่อส้วมที่ปลายทั้งสองข้างไม่มีฝา) ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 100 เซนติเมตร เมตร สูง 50 เซนติเมตร มาวางบนอิฐหรือลูกปูน ให้ขอบล่างของบ่อปูนซีเมนต์อยู่สูงจากพื้นดิน 15 เซนติเมตร จากนั้นนำใบไม้แห้งที่ย่อยแล้วมาใส่ในบ่อปูนซีเมนต์ให้สูง 40 เซนติเมตร แล้วนำเศษอาหารมาเทใส่โดยความสูงของเศษอาหารไม่ควรเกิน 30 เซนติเมตร (เมื่อใส่เศษอาหารลงไปใบไม้แห้งที่ย่อยแล้วที่อยู่ด้านล่างจะยุบตัวลง) แล้วนำใบไม้แห้งที่ย่อยแล้วมาเททับอีกครั้ง โดยให้มีความสูงประมาณ 15 - 20 เซนติเมตร หรืออาจใส่เศษอาหารเป็นชั้นๆ ก็ได้ โดยใส่เศษอาหารสูงประมาณ 10 เซนติเมตร แล้วนำใบไม้แห้งที่ย่อยแล้วมาเททับอีกครั้ง โดยให้มีความสูงประมาณ 10 - 15 เซนติเมตร ทิ้งไว้ประมาณ 30 วัน ก็จะได้ปุ๋ยอินทรีย์ หลังจากนั้นให้ใช้พลั่วตักปุ๋ยอินทรีย์ซึ่งกองอยู่ด้านล่างของบ่อปูนซีเมนต์ไปใช้งานได้เลย ในระหว่างช่วงเวลาการหมัก กองปุ๋ยจะยุบตัวลง เราสามารถนำเศษอาหารมาเติมลงไปแล้วก็นำใบไม้ที่ย่อยมาเททับตามขั้นตอนที่ 2 เป็นชั้นๆ ได้เรื่อยๆ วิธีการนี้ข้อควรระวังคือการนำเศษอาหารไปยังบ่อปูนซีเมนต์นั้นต้องไม่ให้มีเศษอาหารหรือน้ำแกง หล่นบนพื้นและขอบปากบ่อปูนซีเมนต์ เพราะจะทำให้มีแมลงวันมาตอมได้ นอกจากนี้เมื่อนำปุ๋ยหมักจากเศษอาหารออกมาจนหมดแล้วก็ควรเว้นระยะการทำปุ๋ยหมักจากเศษอาหารในบ่อนั้น แล้วทำการตากแดดไว้ 7 วัน ข้อสำคัญในการทำปุ๋ยหมักวิธีนี้คือต้องทำบนดินที่มีการระบายน้ำได้ดี เพราะน้ำแกงจะได้ซึมลงในดินไม่ไหลออกด้านข้างบ่อปูนซีเมนต์ ซึ่งอาจทำให้แมลงวันมาตอมได้
ส่วนกิ่งไม้แห้งถ้านำมาทำปุ๋ยหมักจะใช้เวลาในการหมักนาน ดังนั้นส่วนใหญ่ผมจึงนำมาย่อยแล้วนำเศษกิ่งไม้แห้งไปคลุมโคนต้นไม้ ซึ่งจะลดการระเหยของน้ำทำให้ประหยัดน้ำที่จะลดต้นไม้ลงได้
สำหรับหน่วยงานที่ผมไปส่งเสริมให้ทำปุ๋ยหมักอย่างง่าย แล้วประสบผลสำเร็จเป็นอย่างดี ได้แก่ Birds & Bees resort and Cabbages & Condoms restaurant พัทยา จังหวัดชลบุรี โดยมีคุณมีชัย วีระไวทยะ เป็นผู้ก่อตั้ง และมีคุณณัฐ พยับวิภาพงศ์..เป็นผู้จัดการ... ซึ่งได้นำวิธีการทำปุ๋ยหมักจากใบไม้ และการทำปุ๋ยหมักจากเศษอาหารไปใช้เพื่อแก้ปัญหาการกำจัดเศษใบไม้และอาหาร โดยจัดทำโครงการ”ปุ๋ยหมักสีรุ้ง”ขึ้น ซึ่งทำการประยุกต์โดยการทาสีบ่อปูนซีเมนต์เป็นสีต่างๆ แล้วนำไปไปประดับในแปลงสวนผัก ซึ่งนอกจากจะได้ปุ๋ยหมักเพื่อนำไปใส่แปลงสวนผักแล้ว ยังเป็นของประดับสวนได้อีกด้วย โดยโครงการนี้จัดทำบ่อหมักไว้ประมาณ 50 บ่อ ซึ่งสามารถกำจัดเศษอาหารเหลือทิ้งและเศษใบไม้ของโรงแรมได้ปีละหลายตัน และได้ปุ๋ยหมักออกมาใช้ทุกวัน ทำให้พื้นที่ที่เป็นดินทรายสามารถปลูกผักและผลไม้ได้ ซึ่งแปลงผักนี้เป็นผักอินทรีย์ไม่ใช้สารเคมี ผักนี้นำมาใช้ทำอาหารและผักสลัดให้ลูกค้ารับประทาน ดังนั้นจึงมั่นใจได้ว่ารับประทานผักที่โรงแรมแห่งนี้ปลอดสารพิษอย่างแน่นอน ถ้าโรงแรมในประเทศไทยหันมากำจัดเศษใบไม้และอาหารแทนการทิ้งแล้ว ก็จะสามารถช่วยลดปัญหาและลดงบประมาณของประเทศลงได้ และที่สำคัญที่สุดโรงแรมแห่งนี้เป็นโรงแรมที่ทำธุรกิจเพื่อสังคม กล่าวคือ รายได้ของโรงแรมแห่งนี้จะถูกนำไปช่วยเหลือสังคมในด้านต่างๆ ซึ่งในปีนี้ได้นำรายได้ไปช่วยเหลือในด้านการศึกษาให้กับโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา จังหวัดบุรีรัมย์ ฉะนั้นการได้มาเที่ยวและเยี่ยมชมที่แห่งนี้ ได้ทั้งความผ่อนคลายกับสถานที่สุดสวยติดทะเล อาหารอร่อยปราศจากสารพิษ และยังอิ่มใจกับความสุขที่ได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการสบทบทุนช่วยในการพัฒนาการศึกษาของเด็กไทย
หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อได้ที่ รองศาสตราจารย์ บัณฑิต หิรัญสถิตย์พร คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ 50290 โทร 053-878123 หรือ 081-5954432 และสามารถเข้าไปดาวน์โหลดวิธีการทำปุ๋ยได้ที่ http://www.machinery.mju.ac.th ส่วนใครที่ผ่านไปทางพัทยา ก็สามารถเข้าไปเยี่ยมชม โครงการ ”ปุ๋ยหมักสีรุ้ง” ได้ที่ Birds & Bees resort and Cabbages & Condoms restaurant ติดต่อคุณ มาลัย โทร 038-250556-7
ข้อมูลจากสำนักวิจัย และส่งเสริมการเกษตรม.แม่โจ้
ปุ๋ยหมัก การทำปุ๋ยหมักอย่างง่าย
หมวดนี้สำหรับ ถามตอบปัญหาต่างๆ ของการทำเกษตร ศัตรูพืช สอบถามวิธีแก้ปัญหาจากเพื่อนๆ
ย้อนกลับไปยัง “ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตร”
ไปที่
- เกษตร
- ↳ ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตร
- ↳ เกษตรกร Showcase
- ↳ เกษตรกรรายงานตัว - จังหวัด ตำบล
- ↳ เกษตรกรุงเทพ และ ปริมณฑล
- ↳ กรุงเทพฯ
- ↳ นครปฐม
- ↳ นนทบุรี
- ↳ ปทุมธานี
- ↳ สมุทรปราการ
- ↳ สมุทรสาคร
- ↳ เกษตรภาคกลาง
- ↳ กำแพงเพชร
- ↳ ชัยนาท
- ↳ นครสวรรค์
- ↳ เพชรบูรณ์
- ↳ ลพบุรี
- ↳ สมุทรสงคราม
- ↳ สระบุรี
- ↳ สิงห์บุรี
- ↳ สุโขทัย
- ↳ สุพรรณบุรี
- ↳ พระนครศรีอยุธยา
- ↳ อ่างทอง
- ↳ อุทัยธานี
- ↳ เกษตรภาคตะวันออก
- ↳ จันทบุรี
- ↳ ชลบุรี
- ↳ ตราด
- ↳ นครนายก
- ↳ ปราจีนบุรี
- ↳ ระยอง
- ↳ สระแก้ว
- ↳ เกษตรภาคตะวันออกเฉียงเหนือ - ภาคอีสาน
- ↳ ขอนแก่น
- ↳ กาฬสินธุ์
- ↳ นครราชสีมา
- ↳ ชัยภูมิ
- ↳ นครพนม
- ↳ บุรีรัมย์
- ↳ บึงกาฬ
- ↳ มหาสารคาม
- ↳ มุกดาหาร
- ↳ ยโสธร
- ↳ ร้อยเอ็ด
- ↳ เลย
- ↳ ศรีสะเกษ
- ↳ สกลนคร
- ↳ สุรินทร์
- ↳ หนองคาย
- ↳ หนองบัวลำภู
- ↳ อำนาจเจริญ
- ↳ อุดรธานี
- ↳ อุบลราชธานี
- ↳ เกษตรภาคเหนือ
- ↳ เชียงราย
- ↳ เชียงใหม่
- ↳ น่าน
- ↳ พะเยา
- ↳ แม่ฮ่องสอน
- ↳ แพร่
- ↳ ลำพูน
- ↳ อุตรดิตถ์
- ↳ พิจิตร
- ↳ พิษณุโลก
- ↳ ลำปาง
- ↳ เกษตรภาคตะวันตก
- ↳ กาญจนบุรี
- ↳ ฉะเชิงเทรา
- ↳ ตาก
- ↳ ราชบุรี
- ↳ เพชรบุรี
- ↳ ประจวบคีรีขันธ์
- ↳ เกษตรภาคใต้
- ↳ กระบี่
- ↳ ชุมพร
- ↳ ตรัง
- ↳ นครศรีธรรมราช
- ↳ นราธิวาส
- ↳ ปัตตานี
- ↳ พังงา
- ↳ พัทลุง
- ↳ ภูเก็ต
- ↳ ยะลา
- ↳ ระนอง
- ↳ สงขลา
- ↳ สตูล
- ↳ สุราษฎร์ธานี
- ↳ ความรู้วิชาการเกษตร
- ↳ ความรู้สมุนไพร ตำรายาแผนโบราณ
- ↳ วีดีโอ สอนการทำเกษตร
- ↳ ข่าวเกี่ยวกับการเกษตร เทคโนโลยีการเกษตร
- ↳ ประกาศจ้างงาน รับสมัครงาน เกี่ยวกับการเกษตร
- นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร (เกษตรตำบล)
- ↳ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร แนะนำตัว
- ↳ ถาม-ตอบ ปัญหางานส่งเสริมการเกษตร
- ↳ ขอแลกเปลี่ยนโยกย้ายตำแหน่ง
- ซื้อ - ขาย - แจก ราคาพืช
- ↳ ฝากขาย
- ↳ ประกาศซื้อ
- ↳ มีของแจก - แจกพันธุ์ไม้ เมล็ดพันธุ์
- ↳ ราคาสินค้าเกษตจากแหล่งขายต่างๆ
- ↳ สินค้าเกษตร - พิกัดสินค้าประมง