กาแฟประเภทต่างๆ แฟรบปูชิโน มอคคาสิปปี คอร์ตาโด
กาแฟประเภทต่างๆ แฟรบปูชิโน มอคคาสิปปี คอร์ตาโด
- ริสเทรนโต
- กาเฟโอเล (ฝรั่งเศส: Café au lait) คล้ายลาเต้ยกเว้นใช้การชงด้วยการหยดแทนเอสเปรสโซ พร้อมด้วยนมในปริมาณที่เท่าๆ กัน อาจเติมน้ำตาลตามชอบ เป็นกาแฟในแบบของฝรั่งเศส
- Café con leche เป็นกาแฟลาเตในแบบของชาวสเปน
- ลาเต้ เป็นเอสเปรสโซผสมนมร้อน ความเข้มข้นไม่มากเท่าคาปูชิโนเนื่องจากใส่นมเยอะกว่า (ลาเต้ เป็นภาษาอิตาลีแปลว่านม ในอิตาลีเรียกลาเต้ว่า Caffè e latte หรือ caffelatte)
กาแฟนม เป็นเครื่องดื่มที่คล้ายๆกับนมช็อกโกแลต แต่ใช้น้ำเชื่อมกาแฟแทนการใช้น้ำเชื่อมช็อกโกแลต
- มอคค่า เป็นการดัดแปลงของลาเต้ มีอัตราส่วนของเอสเปรสโซและนมเป็นอัตรา 1:3 เหมือนกับลาเต้ แต่มีการใส่ช็อกโกแลตเพิ่มลงไป โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การใช้น้ำเชื่อมช็อกโกแลตแทนช็อกโกแลตผงในเครื่องขายอัตโนมัติ ช็อกโกแลตที่ใช้อาจจะเป็นช็อกโกแลตดำหรือช็อกโกแลตนมก็ได้
คำว่า มอคคาชิโน (อังกฤษ: moccaccino) เป็นคำที่ใช้ในบางภูมิภาคของยุโรปและตะวันออกกลาง หมายถึงกาแฟลาเต กับโคคาหรือช็อกโกแลต ส่วนในอเมริกา โดยทั่วไปหมายถึงคาปูชิโนใส่ช็อกโกแลต
- คาปูชิโน ประกอบด้วยเอสเปรสโซ, นมร้อน, และฟองนม ในสัดส่วนเท่าๆ กัน ให้รวมมีปริมาตร 4.5 ออนซ์ (เสิร์ฟในถ้วยขนาด 5 ออนซ์) ปกติจะตกแต่งด้วยผงอบเชย ลูกจันทน์เทศ (nutmeg) หรือโกโก้
- แฟรปปูชิโน เป็นกาแฟที่ถูกตั้งชื่อและจดทะเบียนการค้าโดยสตาร์บัคส์ เป็นกาแฟผสมเครื่องดื่มชนิดเย็นกับกาแฟขวด
- มอคคาสิปปี คล้ายๆกับแฟรปปูชิโนของสตาร์บัค แต่ใช้เอสเปรสโซแทนกาแฟผง
- คอร์ตาโด คือเอสเปรสโซที่ผสมนมอุ่นลงไปเล็กน้อยเพื่อลดความเป็นกรด อัตราส่วนของนมต่อกาแฟอยู่ที่ 1:1-1:2 และนมจะถูกใส่หลังเอสเปรสโซ ถึงแม้นมที่ถูกอุ่นด้วยไอน้ำจะไม่มีฟองมากนัก แต่คนชงกาแฟ (barista)หลายคนก็ทำฟองขนาดเล็กๆเพื่อทำลาเต้อาร์ท กาแฟชนิดนี้เป็นที่นิยมในสเปน, โปรตุเกส และลาติน อเมริกา โดยมากแล้วพวกเขาจะดื่มกาแฟชนิดนี้ในเวลาบ่าย
- มัคคิอาโต มาจากภาษาอิตาลีหมายถึง "ถูกทำสัญลักษณ์" หรือ "ถูกกรอง" มักจะหมายถึง
- คาเฟ มัคคิอาโต หรือ เอ็กเพรสโซ มัคคิอาโต หรือ ชอร์ท มัคคิอาโต
- ลาเต มัคคิอาโต หรือ ลอง มัคคิอาโต
- อัฟโฟกาโต ในภาษาอิตาลีแปลว่า "ถูกทำให้จม" คือของหวานที่ใช้กาแฟเป็นฐานการปรุง สำหรับ "อัฟโฟกาโต สไตล์ (Affogato style)" หมายถึงการราดหน้าเครื่องดื่มหรือของหวานด้วยเอ็กเพรสโซ และอาจะราดตามด้วยซอสคาราเมล หรือซอสช๊อคโกแลต
- คาเฟ อเมริกาโน หรือเรียกง่ายๆว่า อเมริกาโน คือรูปแบบของกาแฟที่มาจากการเติมเอ็กเพรสโซลงในน้ำร้อน ทำให้มีรสเข้มเหมือนกาแฟจุ่มแต่มีรสชาติที่ต่างออกไป ความเข้มของอเมริกาโนมีหลายแบบ ขึ้นอยู่กับจำนวนช็อตที่ใส่ลงไป ลองแบล็ค ก็เป็นอเมริกาโนจำพวกหนึ่ง
- แฟลท ไวท์ คือกาแฟที่ได้จากการเทนมที่ผ่านการอุ่นด้วยไอน้ำและมีลักษณะเป็นครีม จากก้นเหยือกลงบนเอ็กเพรสโซหนึ่งช็อต
แฟลทไวท์นิยมเสริฟในถ้วยทเซรามิกรงดอกทิวลิป
- อเมริกาโน ทำจากเอสเปรสโซ (หลายๆ ช็อต) กับน้ำร้อน เพื่อให้มีความเข้มข้นเท่ากับกาแฟที่ได้จากการชงแบบหยด แต่มีรสชาติต่างกัน
- กาแฟกรองอินเดีย
- กาแฟกรองมัทราสตีฟองกาแฟกรองอินเดีย (มัทราส) (Indian (Madras) filter coffee) นิยมทั่วไปทางภาคใต้ของอินเดีย ทำจากกากกาแฟหยาบๆ ที่ได้จากเมล็ดที่ถูกอบจนไหม้ (อาราบิกา, พีเบอร์รี) ชงด้วยวิธีหยดประมาณสองถึงสามชั่วโมง ในตัวกรองโลหะแบบของอินเดียโดยเฉพาะ ก่อนที่จะนำไปเสิร์ฟกับนมและน้ำตาล โดยปกติมักมีสัดส่วนกาแฟหนึ่งนมสาม
- Ca phe sua daกาแฟสไตล์เวียดนาม เป็นอีกรูปแบบหนึ่งที่ได้จากการชงแบบหยด ชงโดยการหยดน้ำผ่านตะแกรงโลหะลงไปในถ้วย ซึ่งมีผลให้ได้น้ำกาแฟเข้มข้น จากนั้นนำไปเทผ่านน้ำแข็งลงไปในแก้วที่เติมนมข้นหวานไว้ก่อนแล้ว เนื่องจากการชงกาแฟประเภทนี้ใช้กากกาแฟปริมาณมาก จึงทำให้การชงกินระยะเวลานาน
- กาแฟกรีก หรือ กาแฟตุรกี ชงด้วยการต้มกากกาแฟละเอียดกับน้ำพร้อมกันในไอบริก ซึ่งเป็นหม้อทำจากทองเหลืองหรือทองแดงมีด้ามยาวและเปิดด้านบน เมื่อชงเสร็จ ก็จะนำไปรินลงในถ้วยเล็กๆ โดยไม่กรองกากกาแฟออก ตั้งกาแฟทิ้งไว้สักพักก่อนดื่ม มักเติมเครื่องเทศและน้ำตาลด้วย
โกปิทูบรูค (Kopi tubruk) เป็นกาแฟสไตล์อินโดนีเซียลักษณะเหมือนกับกาแฟกรีก แต่ชงจากเมล็ดกาแฟหยาบ และต้มพร้อมกับน้ำตาลปอนด์ปึกใหญ่ๆ นิยมดื่มในชวา, บาหลี, และบริเวณใกล้เคียง
- เหล้ากาแฟกาแฟไอริช คือกาแฟที่ชงแล้วผสมด้วยวิสกี้ และมีชั้นของครีมอยู่ข้างบน
- กาแฟผงพร้อมชง (Instant coffee) เป็นกาแฟที่ถูกตากจนแห้งกลายเป็นผงหรือเม็ดเล็กๆ ซึ่งละลายน้ำได้ มันมีเอกลักษณ์ที่แตกต่างจากกาแฟสดและวิธีการชงก็แตกต่างกันด้วย ความเห็นต่อกาแฟประเภทนี้มีตั้งแต่ "ของเลียนแบบที่สุดจะทนดื่มได้" ไปจนถึง "ทางเลือกที่ดี" และ "ดีกว่าของแท้" ในประเทศที่มันได้รับความนิยม มักจะเรียกมันว่า "กาแฟปูโร (Café Puro) " ในฐานะที่มันเป็นที่ขยาดของพวกเซียนกาแฟ
ข้อมูลจาก วิกิพีเดีย