โรคเมล็ดด่าง (Dirty Panicle Disease) ในข้าว

หมวดนี้สำหรับ ถามตอบปัญหาต่างๆ ของการทำเกษตร ศัตรูพืช สอบถามวิธีแก้ปัญหาจากเพื่อนๆ
KasetTaln
โพสต์: 176
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ 16 ม.ค. 2013 1:24 pm

โรคเมล็ดด่าง (Dirty Panicle Disease) ในข้าว

ข้อมูล โดย KasetTaln »

เตือนเกษตรกรเฝ้าระวังโรค'เมล็ดด่าง'โรคเมล็ดด่างของข้าวมักเกิดกับข้าวระยะใกล้ออกดอกและอากาศชื้นจัด ท้องฟ้าครึ้มติดต่อกัน สาเหตุเกิดจากเชื้อราเข้าไปทำลายและพัฒนาทำให้เกิดอาการเมล็ดด่างและเมล็ดลีบในช่วงใกล้เก็บเกี่ยว ทำให้ลดลงทั้งผลผลิตและคุณภาพควรป้องกันโดยใช้สารกำจัดเชื้อราพ่น เช่น โปรพิโคนาโซล+ไดฟีโนโคนาโซลหรือโปรฟิโคนาโซล+โปคลอลาสหรือคาร์เบนดาซิม-อีพ็อกซี่โคนาโซล หรือฟลูซิลาโซล หรือทีบูโคนาโซล ตามอัตราที่ระบุ

สำหรับอาการของต้นข้าวที่ได้รับผลกระทบจากอากาศเย็นประมาณ 15-20 องศาเซลเซียสนั้น หากเกิดขึ้นกับข้าวที่อยู่ในระยะกล้า จะทำให้ต้นข้าวชะงักการเจริญเติบโต แคระ แกร็น ใบเหลือง และข้าวในระยะออกดอก ช่อดอกอาจโผล่ไม่พ้นใบธง กรณีที่อุณหภูมิลดต่ำกว่า22องศาเซลเซียส ในระยะผสมเกสร จะทำให้ไม่ติดและเกิดเป็นเมล็ดลีบแต่ไม่ควรตื่นตระหนกและไม่ควรใส่ปุ๋ยหรือสารเคมีกำจัดศัตรูข้าวขอให้ติดตามสภาพอากาศจากกรมอุตุนิยมวิทยาอย่างใกล้ชิดหากอากาศเริ่มอุ่นขึ้นต้นข้าวจะเจริญเติบโตได้ตามปกติแต่หากยังชะงักการเจริญเติบโตควรรีบปรึกษานักวิชาการจากหน่วยงานกรมการข้าวในพื้นที่ หรือศูนย์บริการชาวนา50แห่งทั่วประเทศ ในวันและเวลาราชการ

โรคเมล็ดด่าง (Dirty Panicle Disease) ในข้าว
รูปภาพ2.jpg
รูปภาพ2.jpg (22.78 KiB) Viewed 2048 times
พบมาก ใน นาชลประทาน ภาคกลาง ภาคตะวันตก ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ ภาคใต้
สาเหตุ เชื้อรา Curvularia lunata (Wakk) Boed.
เชื้อราสาเหตุ.jpg
เชื้อราสาเหตุ.jpg (9.92 KiB) Viewed 2048 times
เชื้อราสาเหตุ
Cercospora oryzae I.Miyake
Helminthosporium oryzae Breda de Haan.
Fusarium semitectum Berk & Rav.
Trichoconis padwickii Ganguly
Sarocladium oryzae

อาการ ในระยะออกรวง พบแผลเป็นจุดสีน้ำตาลหรือดำที่เมล็ดบนรวงข้าว บางส่วนก็มีลายสีน้ำตาลดำ และบางพวกมีสีเทาปนชมพู ทั้งนี้เพราะมีเชื้อราหลายชนิดที่สามารถเข้าทำลายและทำให้เกิดอาการต่างกันไป การเข้าทำลายของเชื้อรามักจะเกิดในช่วงดอกข้าวเริ่มโผล่จากกาบหุ้มรวงจนถึงระยะเมล็ดข้าวเริ่มเป็นน้ำนม และอาการเมล็ดด่าง จะปรากฏเด่นชัดในระยะใกล้เก็บเกี่ยว
การแพร่ระบาด เชื้อราสามารถแพร่กระจายไปกับลม ติดไปกับเมล็ด และอาจสามารถแพร่กระจายในยุ้งฉางได้
การป้องกันกำจัด
• ควรเฝ้าระวังการเกิดโรคถ้าปลูกข้าวพันธุ์ที่อ่อนแอต่อโรคนี้ เช่น สุพรรณบุรี 60 สุพรรณบุรี 90 พิษณุโลก 2 และข้าวเจ้าหอมคลองหลวง 1
• เมล็ดพันธุ์ที่ใช้ปลูก ควรคัดเลือกจากแปลงที่ไม่เป็นโรค
• คลุกเมล็ดพันธุ์ด้วยสารป้องกันกำจัดเชื้อรา เช่น คาร์เบนดาซิม หรือ แมนโคเซ็บ
ในอัตรา 3 กรัม /เมล็ดพันธุ์ 1 กิโลกรัม
• ในระยะที่ต้นข้าวตั้งท้องใกล้ออกรวงเมื่อพบอาการใบจุดสีน้ำตาลที่ใบธง และโรคกาบใบเน่า ถ้ามีฝนตกชุก ควรวางมาตรการป้องกันแต่ต้นมือ โดยพ่นสารป้องกันกำจัดเชื้อรา เช่น
โปรพิโคนาโซล + ไดฟีโนโคนาโซล โปรพิโคนาโซล + โพคลอราซล คาร์เบนดาซิม + อีพ๊อกซี่โคนาโซล ฟลูซิลาซอล ทีบูโคนาโซล โพคลอราซล + คาร์เบนดาซิม แมนโคเซ็บ + ไทโอฟาเนต – เมทิล ตามอัตราที่ระบุ

ย้อนกลับไปยัง “ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตร”