สมุนไพรใช้ป้องกันศัตรูพืช-ว่านน้ำ-ยี่โถ-ดาวเรือง

ความรู้วิชาการเกษตร หมวดนี้สำหรับรวบรวม ความรู้ทางการเกษตร ทุกรูปแบบ
KasetTaln
โพสต์: 176
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ 16 ม.ค. 2013 1:24 pm

สมุนไพรใช้ป้องกันศัตรูพืช-ว่านน้ำ-ยี่โถ-ดาวเรือง

ข้อมูล โดย KasetTaln »

13. ว่านน้ำ
เป็นไม้ล้มลุก สูง 1-2 เมตร พบตามริมหนองน้ำหรือที่ชื้นแฉะ (บางคนชอบปลูกเป็นไม้ประดับ) โดยมีเหง้าอยู่ใต้ดินลักษณะเป็น รูปกระบอกยาวประมาณ 5-20 ซม. เจริญไปตามยาวขนานกับผิวดินไม่ค่อยแตกกิ่งก้าน ว่านน้ำจะมีน้ำมันหอมระเหยที่เป็นพิษต่อระบบประสาทของแมลง ส่วนที่มีสารออกฤทธิ์คือเหง้า มีฤทธิ์เป็นสารฆ่าแมลง ขับไล่แมลง ทำให้แมลงหยุดชะงักการกินและยับยั้งการสืบพันธุ์ของแมลง
วิธีเตรียมและการใช้
ให้นำเหง้าว่านน้ำ 30 กรัม มาบดหรือโขลกให้ละเอียดผสมน้ำ 4 ลิตร ทิ้งไว้ 20 ซม. หรือจะต้มนาน 45 นาทีก็ได้จากนั้นกรองเอาแต่น้ำด้วยผ้าขาวบาง ก่อนนำไปใช้ให้ผสมสารจับใบ ใช้ฉีดพ่น 2 ครั้ง เวลาที่ปัญหาหรือใช้เหง้าบดเป็นคลุกเคล้ากับเมล็ดพันธุ์พืชที่แห้ง ในอัตราส่วนว่านน้ำ 1 กก. ต่อเมล็ดพันธุ์ข้าว 50 กก. เพื่อป้องกันแมลงศัตรูในโรงเก็บ
ศัตรูเป้าหมาย แมลงวันแตง, แมลงวันทอง, ด้วงหมัดผัก , หนอนกระทู่ผัก , แมลงในโรงเก็บ, ด้วงงวงข้าว, ด้วงเจาะเมล็ดถั่ว, มอดตัวป้อม, มอดข้าวเปลือกและแมลงกัดกินผัก

14. ยี่โถ
เป็นไม้พุ่มสูง 2-3 เมตร แตกสาขามากมาย ลำต้นเกลี้ยงเปลือกสีเทา มีน้ำยางสีขาว ดอกมีสีขาว แดงชมพูแก่ เหลืองอ่อน ใบมี ฤทธิ์ต่อหัวใจอาจทำให้ตายได้
วิธีเตรียมและการใช้
นำดอกและใบจำนวน 1 กก. มาบดหรือโขลกให้ละเอียด
นำมาแช่น้ำ ½ ปิ๊บ ทิ้งไว้ 2 วัน
กรองเอาแต่น้ำไปใช้และก่อนนำไปใช้ให้ผสมสารจับใบ เช่น ผงซักผ้า , น้ำยาล้างจาน, แชมพู, ประมาณ 1 ช้อนโต๊ะ
ใช้ฉีดพ่น 2 ครั้ง (วันละ 1 ครั้ง ติดต่อกัน 2 วัน ) เวลาทีปัญหาศัตรูพืช
ศัตรูเป้าหมาย หนอนหลายชนิดในแปลงผัก

15. ดอกดาวเรือง (ดอกคำปู้จู้)
เป็นพืชล้มลุก อายุ 1 ปี ใบประกอบแบบขนนก ดอกเป็นกระจุกสีส้มเหลือง ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด ปลูกเป็นไม้ประดับ
วิธีเตรียมและการใช้
นำดอกดาวเรือง จำนวน 500 กรัม ต้มใน น้ำ 4 ลิตร ทิ้งไว้ให้เย็น
กรองเอาแต่น้ำด้วยผ้าขาวบางผสมน้ำลงไปอีก 4 ลิตร
ก่อนนำไปใช้ให้ผสมสารจับใบ เช่น ผงซักผ้า, น้ำยาล้างจาน, แชมพู, ประมาณ 1 ช้อนโต๊ะ
ใช้ฉีดพ่น 2 ครั้ง (วันละ 1 ครั้ง ติดต่อกัน 2 วัน)
ศัตรูเป้าหมาย เพลี้ยกระโดด, เพลี้ยจักจั่น , เพลี้ยหอย. เพลี้ยอ่อน, เพลี้ยไฟ, แมลงหวี่ขาว ฯลฯ

ย้อนกลับไปยัง “ความรู้วิชาการเกษตร”