ข้อมูล โดย ผศ.นัฏฐา แก้วนพรัตน์
ภาควิชาเทคโนโลยีเภสัชกรรม
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
พริกที่จะกล่าวถึงต่อไปนี้ เป็นพริกในสกุล Capsicum วงศ์ Solanaceae ซึ่งมีหลายชนิดที่รู้จักกันเป็นอย่างดีก็คือ
พริกขี้หนูหรือพริกแกว (Capsicum frutescens linn.)
พริกหยวก (Capsicum annuam Linn.)
พริกเป็นพืชล้มลุกที่ปลูกได้ทั่วไปในเขตที่มีอากาศอบอุ่นหรือเขตร้อน เช่น อาฟริกา เม็กซิโก อินเดีย สหรัฐอเมริกา ไทยและประเทศเพื่อนบ้าน ในเมืองไทยเรานิยมปลูกกันมากเพื่อเป็นพืชสวนครัว พริกเป็นพืชเศรษฐกิจอย่างหนึ่งซึ่งปลูกเพื่อเอาผล (หรือเรียกกันทั่วไปว่าเม็ด) ไปขาย ลักษณะเด่นของพริกที่เป็นที่รู้กันทั่วไปคือ รสเผ็ดร้อน พริกแต่ละชนิดจะมีรสเผ็ดร้อนมาก-น้อยต่างกัน ส่วนที่เผ็ดที่สุดของพริกไม่ได้อยู่ตรงส่วนที่เห็นว่าเป็นสีเขียวหรือสีแดงที่เห็นภายนอก แต่จะเป็นบริเวณไส้ในและเมล็ด ซึ่งบริเวณนี้จะมีสารที่ให้รสเผ็ดร้อนมาก ได้แก่ capsaicin, dihydrocapsaicin, nordihydrocapsaicin โดยมีปริมาณ 0.1-1% นอกจากพริกจะปลูกเพื่อใช้ปรุงรสในอาหารแล้ว พริกยังมีสรรพคุณทางยามากมาย เช่น
ช่วยเจริญอาหาร โดยกระตุ้นให้การหลั่งน้ำลายเพิ่มขึ้น เอนไซม์ในน้ำลายช่วยย่อยแป้งให้เป็นน้ำตาล ทำให้รู้สึกว่าอาหารมีรสชาติดีขึ้น พริกยังกระตุ้นให้มีการเคลื่อนไหวในกระเพาะอาหารเพิ่มขึ้น
ผลต่อระบบทางเดินหายใจ สาร capsaicin ในพริกซึ่งมีรสเผ็ดร้อน ทำให้เกิดการระคายเคืองในปากและทางเดินหายใจ กระตุ้นให้เกิดการขับเสมหะ ทำให้เมือกที่ติดบริเวณหลอดลมหรือทางเดินหายใจขับออกมาได้ง่าย ช่วยให้หายใจสะดวกขึ้น
บรรเทาอาการปวด สารสำคัญจากพริกคือ capsaicins สามารถระงับอาการปวดได้ จากการทดลองทาcapsaicin บริเวณผิวหนัง capsaicins จะผ่านเข้าสู่ผิวหนังไปออกฤทธิ์ต่อเซลล์ประสาทและไปลดหรือชะลอการหลั่ง neuropeptide substance P จากเซลล์ประสาทรับความรู้สึกส่วนปลาย เป็นผลให้สมองส่วนกลางรับรู้การเจ็บปวดช้าลง ทำให้ลดอาการปวด
ผลต่อหลอดเลือด เมื่อนำสารสกัดจากพริกมาทาผิวหนังจะทำให้หลอดเลือดขยายตัวและการไหลเวียนของเลือดเพิ่มขึ้น จึงนิยมนำมาเป็นส่วนผสมในตำรับยาหม่อง
ฤทธิ์ต่อเชื้อแบคทีเรีย Capsaicin มีผลยับยั้งการเจริญของเชื้อ Bacillus cereus และเชื้อ Bacillus subtilis
สารสกัดจากพริกที่นำมาใช้ทางยา
สารสกัดจากพริกแห้งที่นำมาใช้ทางยา ได้แก่Capsicum oleoresin ได้จากการสกัด capsicum ด้วยalcohol (90%) แล้วระเหยเอาตัวทำละลายออกไปOleoresin ที่ได้มีลักษณะเป็นของเหลวหนืดสีน้ำตาลแดง กลิ่นฉุนมาก ละลายได้ capsicum2.jpg
ใน alcohol, acetone, ether น้ำมันหอมระเหยและไขมัน มีสารสำคัญคือ capsaicins (capsaicin, dihydrocapsaicin, nordihydrocapsaicin) ไม่ต่ำกว่า 8%
Capsicum Tincture เตรียมได้จากการหมัก capsicum oleoresin ด้วย alcohol (90%)ใช้เป็นส่วนผสมในตำรับ Methyl Salicylate Ointment, Compound ในบัญชียาหลักแห่งชาติ พ.ศ. 2542 โดยใช้ในปริมาณ 1.5%
Capaicin: (C18H27NO3, MW 305.4) เป็นสารสำคัญที่สกัดได้จากผลสุกแห้งของ พริก ละลายน้ำน้อยมาก ละลายได้ดีในแอลกอฮอล์ เมื่อทาบริเวณผิวหนังจะรู้สึกร้อนแดงโดย ไม่เกิดตุ่มพอง ในทางยาใช้เป็นยาต้านการระคายเคือง (counter irritant) ในผู้ที่มีอาการปวดบริเวณผิวหนัง ระงับอาการปวดประสาทหลังจากเป็นโรคงูสวัด ความเข้มข้นที่ใช้จะอยู่ในช่วง 0.025-0.25% โดยทาผิวหนังวันละสามถึงสี่ครั้ง
ปัจจุบันนี้ได้มีการนำพริกแห้งบดละเอียด สารสกัดจากพริก เช่น capsicum oleoresin, capsicum tincture หรือ capsaicin มาเป็นสารสำคัญในการเตรียมยารูปแบบต่างๆ เช่น ใช้เป็นส่วนผสมในยาน้ำผสม (mixtures) เพื่อเป็นยาธาตุ ยาเจริญอาหาร ยาขับลม หรือ เป็นส่วนผสมในยาเตรียมทางผิวหนังที่อยู่ในรูปยากึ่งแข็ง เช่น ยาขี้ผึ้ง ยาครีม ยาเจล เพื่อระงับอาการปวดเมื่อย ปวดกล้ามเนื้อ อาการปวดประสาทหลังจากเป็นโรคงูสวัด ซึ่งแสดงตัวอย่างสูตรตำรับและวิธีเตรียมดังนี้
Capsicum Ointment
- Capsicum 5 g
- White Petrolatum 95 g
วิธีเตรียม
1. บดผสมผง capsicum กับ white petrolatum ปริมาณเล็กน้อยจนได้เพสต์เนื้อเนียน
2. นำ white petrolatum ที่เหลือมาผสมกับเพสต์เนื้อเนียนที่เตรียมได้โดยวิธี geometric dilution
Capsaicin 0.05% Cream
- Capsaicin 0.05 g
- O/W Cream 95.95 g
วิธีเตรียม
1. บดผสม capsaicin กับ cream ปริมาณเล็กน้อย จนได้เพสต์เนื้อเนียน
2. นำ cream ที่เหลือมาผสมกับเพสต์เนื้อเนียนที่เตรียมได้ โดยวิธี geometric dilution
Capsicum 0.32%, Methyl Salicylate 25% and Menthol 10% Analgesic Cream
Capsicum Oleoresin 0.32 g
Methyl Salicylate 25.0 g
Menthol 2.0 g
Polysorbate 80 5.0 ml
Cream Base q.s. to 100.0 g
(จากสูตรตำรับจะมีปริมาณ capsaicin ประมาณ 0.025% เมื่อใช้ร่วมกับ methyl salicylate จะทำให้เพิ่มประสิทธิภาพในการลดอาการปวด)
วิธีเตรียม
1. ละลาย menthol และ methyl salicylate เข้าด้วยกัน
2. ผสม capsicum oleoresin และ polysorbate 80 เข้าด้วยกัน
3. ผสมสารละลายที่ได้จากข้อ 1 และ 2 เข้าด้วยกัน
4. นำสารผสมที่ได้นี้ไปผสมกับ cream base โดยค่อยๆ เติมสารผสมที่ได้ใน cream base ทีละน้อย ผสมให้เข้ากันทุกครั้งที่เติม
เอกสารอ้างอิง
Anon. 1999. Capsaicin 0.05% Gel. Int J Pharm Compound. 3(6): 486.
Anon. 1999. Capsicum and Capsaicin Formulas. Int J Pharm Comp. 3(6): 468.
Anon. 2000. Capsicum 0.32%, Methyl Salicylate 25% and Menthol 10% Analgesic Cream. Int J Pharm Comp. 4(2): 52.
สรจักร ศิริบริรักษ์ 2539 เภสัชโภชนา โรงพิมพ์กรุงเทพ หน้า 79-90.
นิจศิริ เรืองรังษี 2534 เครื่องเทศ พิมพ์ครั้งที่ 2 โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หน้า 101-110.
โครงการพัฒนาเทคนิคการทำยาสมุนไพร การใช้สมุนไพร เล่ม 2 2524 พิมพ์ครั้งที่ 2 บริษัทสารมวลชนจำกัด หน้า108-113.
พริก สารสกัดพริก สรรพคุณทางยา ประโยชน์สารสกัดพริก capsaicin
ความรู้วิชาการเกษตร หมวดนี้สำหรับรวบรวม ความรู้ทางการเกษตร ทุกรูปแบบ
ย้อนกลับไปยัง “ความรู้วิชาการเกษตร”
ไปที่
- เกษตร
- ↳ ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตร
- ↳ เกษตรกร Showcase
- ↳ เกษตรกรรายงานตัว - จังหวัด ตำบล
- ↳ เกษตรกรุงเทพ และ ปริมณฑล
- ↳ กรุงเทพฯ
- ↳ นครปฐม
- ↳ นนทบุรี
- ↳ ปทุมธานี
- ↳ สมุทรปราการ
- ↳ สมุทรสาคร
- ↳ เกษตรภาคกลาง
- ↳ กำแพงเพชร
- ↳ ชัยนาท
- ↳ นครสวรรค์
- ↳ เพชรบูรณ์
- ↳ ลพบุรี
- ↳ สมุทรสงคราม
- ↳ สระบุรี
- ↳ สิงห์บุรี
- ↳ สุโขทัย
- ↳ สุพรรณบุรี
- ↳ พระนครศรีอยุธยา
- ↳ อ่างทอง
- ↳ อุทัยธานี
- ↳ เกษตรภาคตะวันออก
- ↳ จันทบุรี
- ↳ ชลบุรี
- ↳ ตราด
- ↳ นครนายก
- ↳ ปราจีนบุรี
- ↳ ระยอง
- ↳ สระแก้ว
- ↳ เกษตรภาคตะวันออกเฉียงเหนือ - ภาคอีสาน
- ↳ ขอนแก่น
- ↳ กาฬสินธุ์
- ↳ นครราชสีมา
- ↳ ชัยภูมิ
- ↳ นครพนม
- ↳ บุรีรัมย์
- ↳ บึงกาฬ
- ↳ มหาสารคาม
- ↳ มุกดาหาร
- ↳ ยโสธร
- ↳ ร้อยเอ็ด
- ↳ เลย
- ↳ ศรีสะเกษ
- ↳ สกลนคร
- ↳ สุรินทร์
- ↳ หนองคาย
- ↳ หนองบัวลำภู
- ↳ อำนาจเจริญ
- ↳ อุดรธานี
- ↳ อุบลราชธานี
- ↳ เกษตรภาคเหนือ
- ↳ เชียงราย
- ↳ เชียงใหม่
- ↳ น่าน
- ↳ พะเยา
- ↳ แม่ฮ่องสอน
- ↳ แพร่
- ↳ ลำพูน
- ↳ อุตรดิตถ์
- ↳ พิจิตร
- ↳ พิษณุโลก
- ↳ ลำปาง
- ↳ เกษตรภาคตะวันตก
- ↳ กาญจนบุรี
- ↳ ฉะเชิงเทรา
- ↳ ตาก
- ↳ ราชบุรี
- ↳ เพชรบุรี
- ↳ ประจวบคีรีขันธ์
- ↳ เกษตรภาคใต้
- ↳ กระบี่
- ↳ ชุมพร
- ↳ ตรัง
- ↳ นครศรีธรรมราช
- ↳ นราธิวาส
- ↳ ปัตตานี
- ↳ พังงา
- ↳ พัทลุง
- ↳ ภูเก็ต
- ↳ ยะลา
- ↳ ระนอง
- ↳ สงขลา
- ↳ สตูล
- ↳ สุราษฎร์ธานี
- ↳ ความรู้วิชาการเกษตร
- ↳ ความรู้สมุนไพร ตำรายาแผนโบราณ
- ↳ วีดีโอ สอนการทำเกษตร
- ↳ ข่าวเกี่ยวกับการเกษตร เทคโนโลยีการเกษตร
- ↳ ประกาศจ้างงาน รับสมัครงาน เกี่ยวกับการเกษตร
- นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร (เกษตรตำบล)
- ↳ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร แนะนำตัว
- ↳ ถาม-ตอบ ปัญหางานส่งเสริมการเกษตร
- ↳ ขอแลกเปลี่ยนโยกย้ายตำแหน่ง
- ซื้อ - ขาย - แจก ราคาพืช
- ↳ ฝากขาย
- ↳ ประกาศซื้อ
- ↳ มีของแจก - แจกพันธุ์ไม้ เมล็ดพันธุ์
- ↳ ราคาสินค้าเกษตจากแหล่งขายต่างๆ
- ↳ สินค้าเกษตร - พิกัดสินค้าประมง