รายงานพิเศษ....แปลงเรียนรู้ “เจียวกู่หลาน” พืชสมุนไพรที่น่าสนใจ
“เจียวกู่หลาน” หรือ “ปัญจขันธ์”
เป็นพืชสมุนไพรชนิดหนึ่งที่มีสรรพคุณทางยาโดยแพทย์แผนจีนได้ใช้ส่วนเหนือดินหรือใบเป็นยาแก้อักเสบ แก้ไอ ขับเสมหะ และแก้หลอดลมอักเสบชนิดเรื้อรัง ทั้งยังมีการทำชาชงเจียวกู่หลานใช้บำรุงร่างกาย ช่วยให้เจริญอาหารและเสริมภูมิคุ้มกัน ขณะที่ชาวเขาบางเผ่าใช้เจียวกู่หลานทั้งต้นพอกรักษาแผล รักษากระดูก และอาการปวดกระดูก ส่วนชาวไทยภูเขาเผ่าเมี่ยนและม้ง นิยมเก็บสมุนไพรเจียวกู่หลานจากป่าธรรมชาติมาต้มดื่ม โดยเชื่อว่ามีสรรพคุณช่วยลดความดันโลหิต ลดเบาหวาน ป้องกันโรคหัวใจ ทำให้กระชุ่มกระชวยและนอนหลับสบายด้วย
นางพรรณพิมล ชัญญานุวัตร อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า ปัจจุบันเกษตรกรชาวไทยภูเขามีการเก็บเกี่ยวสมุนไพรเจียวกู่หลานจากป่าธรรมชาติมากขึ้น เพื่อนำมาบริโภคภายในครัวเรือนและนำไปคั่วเพื่อจำหน่าย แต่ขั้นตอนการเก็บเกี่ยวเจียวกู่หลานของชาวไทยภูเขายังไม่ถูกวิธี เนื่องจากพยายามเก็บให้ได้ปริมาณมากที่สุด บางครั้งจะถอนทั้งต้นและทุกฤดูแล้งจะมีการถางป่าหรือเผาป่า ทำให้ต้นเจียวกู่หลานในสภาพป่าธรรมชาติมีแนวโน้มลดลงมาก
ด้วยเหตุดังกล่าว กรมส่งเสริมการเกษตรจึงได้มอบหมายให้ศูนย์ส่งเสริมการเกษตรที่สูงจังหวัดพะเยา จัดทำแปลงเรียนรู้การปลูกเจียวกู่หลานในโรงเรือนมุงตาข่ายพรางแสง ที่ตำบลผาช้างน้อย อำเภอปง จังหวัดพะเยา เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้การผลิตเจียวกู่หลานแบบครบวงจรสำหรับเจ้าหน้าที่ เกษตรกรบนพื้นที่สูง และผู้สนใจทั่วไป สามารถเข้ามาศึกษาเรียนรู้ตั้งแต่การขยายพันธุ์ การปลูก การจัดการดูแลรักษา การเก็บเกี่ยว การแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่า และการตลาดด้วย
การขยายพันธุ์เจียวกู่หลานนั้น ใช้วิธีปักชำในถุงและควรขยายพันธุ์ในฤดูฝน โดยนำวัสดุดิน 1 ส่วน แกลบเผา 2 ส่วน แกลบดิน 1 ส่วน มาผสมให้เข้ากันเป็นวัสดุเพาะแล้วบรรจุในถุงดำขนาด 2x5 นิ้ว นำเจียวกู่หลานที่เจริญเติบโตเต็มที่มาตัดเป็นท่อนให้มีข้อ 3 ข้อ และริดใบที่ข้อล่างสุดออก แล้วนำไปปักชำในถุงวัสดุเพาะ ต้องรดน้ำให้ชุ่มในช่วง 1-15 วันแรก และควรให้น้ำทุกวัน เมื่อเจียวกู่หลานอายุ 35-45 วัน ก็สามารถย้ายลงปลูกในแปลงได้
เจียวกู่หลานเป็นพืชที่ชอบร่มเงาและชอบอากาศชื้น พื้นที่ปลูกที่เหมาะสมควรสูงจากระดับน้ำทะเล 300-3,200 เมตร อุณหภูมิอยู่ในช่วง 16-28 องศาเซลเซียส ดินที่เหมาะสม คือ ดินร่วนปนทราย มีการระบายน้ำดี และเป็นกรดอ่อนๆ ค่า pH 5.5-6.5 แต่เจียวกู่หลานเป็นพืชต้องการน้ำมากในการเจริญเติบโต ดังนั้น ควรเลือกพื้นที่ปลูกที่มีแหล่งน้ำหล่อเลี้ยงอย่างเพียงพอด้วย
นางพรรณพิมล แนะนำว่า ก่อนปลูกเจียวกู่หลานควรขุดดินตากทิ้งไว้ ประมาณ 7-10 วัน แล้วเตรียมแปลงปลูกกว้าง 1 เมตร ยกแปลงสูง ประมาณ 30 เซนติเมตร ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก ประมาณ 50 กิโลกรัม/พื้นที่ 100 ตารางเมตร ซึ่งการปลูกเจียวกู่หลานควรปลูกในฤดูฝน โดยปลูก 2 แถวคู่ ใช้ระยะ 50x80 เซนติเมตร ถ้าปลูกในพื้นที่กลางแจ้งควรทำหลังคาโดยใช้ตาข่ายพรางแสง 70 เปอร์เซ็นต์ เกษตรกรอาจปลูกแบบขึ้นค้างหรือไม่ขึ้นค้างก็ได้ สำหรับการทำค้างสามารถใช้ไม้ไผ่ทำค้างเป็นสามเหลี่ยม แล้วใช้ตาข่ายขึงที่ค้างเพื่อให้เจียวกู่หลานขึ้นค้าง ควรให้น้ำทุกวันในช่วงเช้า และควรใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก อัตรา 50 กิโลกรัม/พื้นที่ 100 ตารางเมตร เดือนละ 1 ครั้ง
หลังปลูกเจียวกู่หลาน ประมาณ 3-4 เดือน ก็เก็บเกี่ยวได้โดยใช้กรรไกรตัดเถาเจียวกู่หลานให้สูงจากพื้นดิน 25-30 เซนติเมตร เพื่อให้เถาที่เหลือแตกกิ่งแขนงใหม่ ซึ่งเกษตรกรควรใส่ปุ๋ยคอกเพื่อบำรุงต้น อัตรา 50 กิโลกรัม/พื้นที่ 100 ตารางเมตร และเลี้ยงต่อไปจะเก็บเกี่ยวผลผลิตได้อีก
เจียวกู่หลานสามารถแปรรูปเป็นชาเจียวกู่หลานได้ เบื้องต้นต้องล้างเจียวกู่หลานให้สะอาดแล้วผึ่งให้แห้ง จากนั้นสับให้เป็นชิ้นเล็กๆ แยกก้านและใบ นำไปคั่วแบบพื้นบ้านโดยคั่วด้วยเตาและกระทะแบบธรรมชาติ ใช้ถ่านหรือฟืนเป็นเชื้อเพลิง การคั่วต้องใช้ไฟอ่อนเพื่อให้ใบและก้านเจียวกู่หลานค่อยๆ คายน้ำออกจนใบและก้านเจียวกู่หลานแห้ง ทิ้งไว้ให้เย็นแล้วนำมาบรรจุถุงขายได้ ซึ่งราคาขายปลีกขนาด 50 กรัม อยู่ที่ถุงละ 35 บาท และขายส่งราคากิโลกรัมละ 500 บาท สามารถสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรชาวไทยภูเขาได้เป็นอย่างดี ที่สำคัญยังช่วยลดปัญหาการเก็บสมุนไพรเจียวกู่หลานจากป่าธรรมชาติได้
หากสนใจข้อมูลเกี่ยวกับ “การปลูกเจียวกู่หลานในโรงเรือนมุงตาข่ายพรางแสง” สามารถขอรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ส่งเสริมการเกษตรที่สูงจังหวัดพะเยา หรือ กองพัฒนาการเกษตรพื้นที่เฉพาะ กรมส่งเสริมการเกษตร โทร. 0-2579-3797
ศุภวรรณ สมบุตร : รายงาน
พฤษภาคม 2556
ข้อมูลจาก กลุ่ม เผยแพร่และประชาสัมพันธ์ ส่วนส่งเสริมและเผยแพร่ สำนักพัฒนาการถ่ายทอดเทคโนโลยี
กรมส่งเสริมการเกษตร
เจียวกู่หลาน หรือปัญจขันธ์ สมุนไพรแผนจีนลดความดันโลหิต ลดเบาหวาน ป้องกันโรคหัวใจ
ความรู้วิชาการเกษตร หมวดนี้สำหรับรวบรวม ความรู้ทางการเกษตร ทุกรูปแบบ
ย้อนกลับไปยัง “ความรู้วิชาการเกษตร”
ไปที่
- เกษตร
- ↳ ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตร
- ↳ เกษตรกร Showcase
- ↳ เกษตรกรรายงานตัว - จังหวัด ตำบล
- ↳ เกษตรกรุงเทพ และ ปริมณฑล
- ↳ กรุงเทพฯ
- ↳ นครปฐม
- ↳ นนทบุรี
- ↳ ปทุมธานี
- ↳ สมุทรปราการ
- ↳ สมุทรสาคร
- ↳ เกษตรภาคกลาง
- ↳ กำแพงเพชร
- ↳ ชัยนาท
- ↳ นครสวรรค์
- ↳ เพชรบูรณ์
- ↳ ลพบุรี
- ↳ สมุทรสงคราม
- ↳ สระบุรี
- ↳ สิงห์บุรี
- ↳ สุโขทัย
- ↳ สุพรรณบุรี
- ↳ พระนครศรีอยุธยา
- ↳ อ่างทอง
- ↳ อุทัยธานี
- ↳ เกษตรภาคตะวันออก
- ↳ จันทบุรี
- ↳ ชลบุรี
- ↳ ตราด
- ↳ นครนายก
- ↳ ปราจีนบุรี
- ↳ ระยอง
- ↳ สระแก้ว
- ↳ เกษตรภาคตะวันออกเฉียงเหนือ - ภาคอีสาน
- ↳ ขอนแก่น
- ↳ กาฬสินธุ์
- ↳ นครราชสีมา
- ↳ ชัยภูมิ
- ↳ นครพนม
- ↳ บุรีรัมย์
- ↳ บึงกาฬ
- ↳ มหาสารคาม
- ↳ มุกดาหาร
- ↳ ยโสธร
- ↳ ร้อยเอ็ด
- ↳ เลย
- ↳ ศรีสะเกษ
- ↳ สกลนคร
- ↳ สุรินทร์
- ↳ หนองคาย
- ↳ หนองบัวลำภู
- ↳ อำนาจเจริญ
- ↳ อุดรธานี
- ↳ อุบลราชธานี
- ↳ เกษตรภาคเหนือ
- ↳ เชียงราย
- ↳ เชียงใหม่
- ↳ น่าน
- ↳ พะเยา
- ↳ แม่ฮ่องสอน
- ↳ แพร่
- ↳ ลำพูน
- ↳ อุตรดิตถ์
- ↳ พิจิตร
- ↳ พิษณุโลก
- ↳ ลำปาง
- ↳ เกษตรภาคตะวันตก
- ↳ กาญจนบุรี
- ↳ ฉะเชิงเทรา
- ↳ ตาก
- ↳ ราชบุรี
- ↳ เพชรบุรี
- ↳ ประจวบคีรีขันธ์
- ↳ เกษตรภาคใต้
- ↳ กระบี่
- ↳ ชุมพร
- ↳ ตรัง
- ↳ นครศรีธรรมราช
- ↳ นราธิวาส
- ↳ ปัตตานี
- ↳ พังงา
- ↳ พัทลุง
- ↳ ภูเก็ต
- ↳ ยะลา
- ↳ ระนอง
- ↳ สงขลา
- ↳ สตูล
- ↳ สุราษฎร์ธานี
- ↳ ความรู้วิชาการเกษตร
- ↳ ความรู้สมุนไพร ตำรายาแผนโบราณ
- ↳ วีดีโอ สอนการทำเกษตร
- ↳ ข่าวเกี่ยวกับการเกษตร เทคโนโลยีการเกษตร
- ↳ ประกาศจ้างงาน รับสมัครงาน เกี่ยวกับการเกษตร
- นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร (เกษตรตำบล)
- ↳ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร แนะนำตัว
- ↳ ถาม-ตอบ ปัญหางานส่งเสริมการเกษตร
- ↳ ขอแลกเปลี่ยนโยกย้ายตำแหน่ง
- ซื้อ - ขาย - แจก ราคาพืช
- ↳ ฝากขาย
- ↳ ประกาศซื้อ
- ↳ มีของแจก - แจกพันธุ์ไม้ เมล็ดพันธุ์
- ↳ ราคาสินค้าเกษตจากแหล่งขายต่างๆ
- ↳ สินค้าเกษตร - พิกัดสินค้าประมง