การทำนาข้าวไร้สารพิษ - ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติมาบเอื้อง จังหวัดชลบุรี

เกษตรกร แนะนำตัวกันได้ที่หมวดนี้ ใครอยู่ ตำบลไหน ทำเกษตรแนวไหน อยู่แนะนำตัวได้ที่นี่
admin
Administrator
โพสต์: 430
ลงทะเบียนเมื่อ: จันทร์ 14 ม.ค. 2013 4:02 am

การทำนาข้าวไร้สารพิษ - ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติมาบเอื้อง จังหวัดชลบุรี

ข้อมูล โดย admin »

รายละเอียดสถานที่

การทำนาข้าวไร้สารพิษ - ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติมาบเอื้อง จังหวัดชลบุรี

การทำนาข้าวไร้สารพิษ
ขั้นที่ 1 ย่อยฟางและตอซังให้เป็นปุ๋ย
หลังการเก็บเก่ยี วอย่าเผาฟาง ตอซัง หรือหญ้า (เพราะจะเป็นการทำลายหน้าดินและจุลินทรีย์
ที่มีประโยชน์ในดิน) ปล่อยน้ำเข้านาให้ได้ระดับความลึกประมาณ 5-10 เซนติเมตร โดยใช้เอ็นไซม์
(ปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพ) หยดไปกับน้ำในอัตราไร่ละ 1 ลิตร ปล่อยทิ้งไว้ประมาณ 3-7 วัน เอ็นไซม์จะกระตุ้น
จุลินทรีย์ในดินให้ทำการย่อยฟางให้สลายตัว สังเกตได้โดยเมื่อหยิบฟางขึ้นดูจะพบว่าฟางเปื่อยยุ่ยกลายเป็น
ปุ๋ยอย่างดี นอกจากนี้การหมักฟางยังให้ประโยชน์อีกหลายประการ คือ
ได้ปุ๋ยหมักอินทรีย์ชีวภาพจากฟางข้าว ซึ่งช่วยปรับสภาพโครงสร้างดินให้ร่วนซุยและฟูขึ้น ทั้งยัง
ช่วยเพิ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในดิน
เมื่อฟางย่อยสลายดีแล้วก็สามารถทำเทือกหว่าน หรือปักดำได้ทันที โดยไม่ต้องไถคราด
ทำให้ช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย
สามารถปรับค่าความเป็น กรด-ด่าง ในดินให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมต่อการทำนาข้าว คือประมาณ pH 6.5

ขั้นที่ 2 ทุบทำเทือก
หลังจากฟางย่อยสลายดีแล้ว หากมีน้ำขังหรือมีความชื้นมากพอก็สามารถทุบเทือกได้ทันที
และควรคราดพื้นที่นาให้มีความเสมอกันเพื่อที่จะสามารถควบคุมระดับน้ำได้ดี นอกจากนั้นยังสามารถ
ควบคุมวัชพืชได้ทั้งยังทำให้การงอกของต้นข้าวเป็นไปอย่างสม่ำเสมอ สะดวกต่อการทำกิจกรรมต่างๆ
ไม่ว่าจะเป็นการให้ปุ๋ยและการเก็บเกี่ยวผลผลิต ถ้าพื้นที่ไม่เรียบมีน้ำขังอาจทำให้เมล็ดข้าวที่แช่น้ำเน่า
เสียหายได้
เมื่อฟางเปื่อยยุ่ยได้ที่ดีแล้ว ก็ทำการทุบโดยไม่ต้องไถ เพราะตอซัง เศษฟางและดินจะเปื่อย
นิ่ม ร่วนซุยเมื่อทุบเรียบร้อยแล้วสามารถปรับพื้นที่ทำเทือกให้มีความเรียบเสมอกันเพื่อที่จะสามารถควบคุม
ระดับน้ำและควบคุมวัชพืชได้อีกด้วย

ขั้นที่ 3 การเตรียมเมล็ดพันธ์ุข้าวสำหรับเพาะปลูก
ก่อนการหว่านหรือการปักดำ ควรนำเมล็ดพันธ์ุข้าวที่คัดไว้มาแช่หรือคลุกกับเอ็นไซม์ (ที่มีส่วนผสมของสมุนไพรที่มีฤทธิ์ในการขับไล่หรือกำจัดโรคและแมลงศัตรูพืช)
ทิ้งไว้ 1 คืนก่อนนำไปหว่านเพื่อป้องกัน
โรคพืชและแมลงศัตรูพืชรบกวน อีกทั้งยังทำให้อัตราการงอกสูงขึ้นอีกด้วย นอกจากนั้นยังช่วยให้ใช้เวลา
ในการเพาะต้นกล้าสั้นลง และต้นกล้าที่ได้ก็สมบูรณ์ แข็งแรง ง่ายต่อการย้ายกล้าและต้นกล้าจะสามารถฟื้นตัวได้เร็ว

ขั้นที่ 4 การหว่านกล้าและการดำนา
หลังจากได้เมล็ดพันธ์ุที่คัดเลือกแล้วก็ทำการหว่านเมล็ดลงในแปลงเพาะที่เตรียมไว้ โดยอาจ
แบ่งจากที่นาประมาณ 1 งาน เพื่อทำการตกกล้า การตกกล้าจะใช้เมล็ดพันธ์ุข้าว 1 ถังครึ่ง ต่อแปลงเพาะขนาด
1 งาน จะได้ต้นกล้าที่นำไปปักดำได้ประมาณ 5 ไร่ และเมื่อต้นกล้าเริ่มขึ้นควรให้เอ็นไซม์ (ปุ๋ยน้ำหมักสมุนไพร
อินทรีย์ชีวภาพ) ในปริมาณ 1 ลิตรต่อ 1 ไร่ หยดไปกับน้ำ หรือฉีดพ่นโดยผสมเอ็นไซม์ 1 ลิตรต่อน้ำ 400 ลิตร
เมื่อต้นกล้าอายุได้ประมาณ 30 วัน ก็สามารถนำไปปักดำได้โดยต้องตัดใบออกให้เหลือความยาวจากราก
ประมาณ 20 เซนติเมตร เพื่อลดการคายน้ำและทำให้ต้นข้าวฟื้นตัวเร็ว
ในกรณีที่เป็นนาหว่าน หลังจากทุบทำเทือกเรียบร้อยแล้ว ใช้เมล็ดพันธ์ุที่เตรียมไว้ประมาณ 1 ถังครึ่ง
ต่อนา 1 ไร่ การหว่านควรหว่านให้กระจายทั่วทั้งแปลง และไม่ควรใช้เมล็ดพันธ์ุมากเกินไปเพราะจะทำให้
ต้นข้าวขึ้นหนาแน่นเกินไป และจะทำให้ต้นข้าวแคระแกรน สิ้นเปลืองต้นทุนเพิ่มขึ้นเพราะจะต้องใส่ปุ๋ยเพิ่มมากขึ้น

ขั้นที่ 5 ให้อาหารดินเพื่อบำรุงดินและเร่งจุลินทรีย์ในดิน
หลังปักดำหรือหว่านเมล็ดแล้ว 10-15 วัน ควรให้ปุ๋ยหมักแห้งอินทรีย์ชีวภาพ หรือฉีดพ่นด้วยปุ๋ยน้ำหมัก
น้ำหมักอินทรีย์ชีวภาพเพื่อเร่งรากและสร้างอาหารธรรมชาติให้เพียงพอต่อความต้องการของต้นกล้า
โดยจุลินทรีย์ในดินจะช่วยย่อยดิน ทราย และสารอาหารในดินป้อนให้แก่รากกล้าซึ่งจะส่งผลให้
รากลึก เร่งการแตกรากของข้าวได้มากและยาวทำให้ต้นข้าวแข็งแรง กอมีขนาดใหญ่ แน่น แข็งแรง
หาอาหารได้ดี มีภูมิต้านทานโรคสูง โรคและแมลงจึงไม่รบกวน เมื่อข้าวออกรวงเต็มที่ต้น
จะไม่ล้ม
ข้าวแตกกอได้มาก ทรงพุ่มตั้งตรงลำต้นแกร่ง เหนียว ใบแข็งแรงตั้งตรงรับแสงได้ดี ทำให้
สังเคราะห์แสงและปรุงอาหารได้ดี โดยสีของใบจะเป็นสีเขียวนวล (ไม่ใช่สีเขียวเข้มเหมือนใช้
ปุ๋ยเคมี) โดยสีของใบจะขึ้นอยู่กับความเข้มของแสงและปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
ใบตั้งตรง (ไม่โค้งปก)
สามารถรับแสงได้ตลอดทั้งวัน
ปรุงอาหารได้ดี
มีภูมิต้านทานต่อโรคพืชและแมลงศัตรูพืชสูง ถึงแม้ว่าจะมีแมลงกัดกินใบบ้าง (ไม่เกิน

ขั้นที่ 6 บำรุงดิน เร่งจุลินทรีย์ก่อนข้าวตั้งท้อง
ก่อนข้าวตั้งท้องประมาณ 15 วัน ควรบำรุงดินด้วยปุ๋ยหมักแห้งอินทรีย์ชีวภาพและปุ๋ยน้ำหมัก
อินทรีย์ชีวภาพเพื่อกระตุ้นการทำงานของจุลินทรีย์ในดินให้เร่งย่อยสลายและสำรองอาหารให้เพียงพอกับ
ความต้องการของต้นข้าวในขณะตั้งท้องและเมื่ออาหารเพียงพอ ต้นข้าวจะมีลำต้นอวบใหญ่ ปล้องยาวใหญ่
พร้อมอุ้มท้องและเมื่อข้าวตั้งท้องก็จะได้ข้าวที่ท้องอวบยาว ส่งผลให้รวงยาวใหญ่ เมล็ดมีขนาดสม่ำเสมอ
มีจำนวนเมล็ดมาก (250-350 เมล็ดต่อ 1 รวง) เมล็ดข้าวเต็มโครง (ไม่มีเมล็ดลีบ) เมล็ดใส (ไม่มีท้องไข่ปลา)
รสชาติดีมีกลิ่นหอม น้ำหนักดี (ถังละ 11.5-12.0 กิโลกรัม) ผลผลิตได้มาตรฐานเป็นที่ต้องการของตลาด
ราคาสูง นอกจากทำให้ต้นข้าวแข็งแรงแล้ว การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพยังช่วยฟื้นฟูดินให้กลับมาอุดมสมบูรณ์
ดินดำร่วนซุย ปรับค่าความเป็นกรด-ด่างให้เหมาะสม อาหารตามธรรมชาติเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากจุลินทรีย์
ในดินทำงานได้อย่างเต็มที่และมีประสิทธิภาพ ช่วยลดการใช้ปุ๋ยและสารเคมีลงจึงประหยัดต้นทุนมากขึ้น
ลักษณะการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างดินจากเดิมเป็นดินที่เสื่อมโทรมเพราะผ่านการใช้สารเคมี
มาอย่างหนักและหลังจากเปลี่ยนมาทำนาแบบชีวภาพโดยการไม่เผาฟางและใช้ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ
โครงสร้างดินจึงค่อยๆ ดีขึ้น
แนบไฟล์
2013-12-31 114.jpg
2013-12-31 114.jpg (251.27 KiB) Viewed 12828 times
2013-12-31 113.jpg
2013-12-31 113.jpg (179.79 KiB) Viewed 12828 times
admin
Administrator
โพสต์: 430
ลงทะเบียนเมื่อ: จันทร์ 14 ม.ค. 2013 4:02 am

Re: การทำนาข้าวไร้สารพิษ - ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติมาบเอื้อง จังหวัดชลบุรี

ข้อมูล โดย admin »

เหมือนภาพจะเสีย นะ
ตอบกลับโพส

ย้อนกลับไปยัง “เกษตรกรรายงานตัว - จังหวัด ตำบล”