เพกา ลิ้นฟ้า ผักพื้นบ้านนิยมกินฝัก เก็บมากินโดยไม่ต้องซื้อ
โพสต์แล้ว: จันทร์ 15 ส.ค. 2016 6:46 pm
เพกา ลิ้นฟ้า ผักพื้นบ้านนิยมกินฝัก เก็บมากินโดยไม่ต้องซื้อ
เพกา หรือ ลิ้นฟ้า ผักพื้นบ้านที่นิยมกิน ฝักกันถ้วนทั่วทุกภาค โดยเฉพาะคนพื้นบ้านภาคเหนือและภาคอีสาน ในแต่ละท้องถิ่นจะมีชื่อเรียกแตกต่างกันไป ภาคกลาง ภาคใต้เรียก “ฝักเพกา” ภาคเหนือเรียก “มะลิ้นไม้” “ลิ้นไม้” ภาคอีสานเรียกว่า “หมากลิ้นฟ้า” “ฝักลิ้นฟ้า” “ฝักลิ้นงู” “ลิ้นไม้” “ลิ้นฟ้า” นั่นเป็นเพราะฝักเพกามีลักษณะแบนยาว ห้อยระย้าอยู่เหนือเรือนยอดต้นที่สูงเสียดฟ้า
เพกา เป็นพืชที่ขึ้นเองตามธรรมชาติได้ง่าย เมื่อเมล็ดแก่แผ่นเบาบางปลิวตามแรงลมร่วงหล่นตามพื้นดิน ได้น้ำจากสายฝนชุ่มฉ่ำ เจริญเติบโตเป็นต้นไม้ใหญ่อยู่ตามเชิง หุบเขา ริมห้วย ริมลำธาร ตามท้องทุ่งริมทาง ตามป่าละเมาะใกล้หมู่บ้าน ออกดอกออกฝัก ดังนั้นชาวบ้านจึงเก็บมากินโดยไม่ต้องซื้อหาแต่อย่างใด
เป็นไม้ยืนต้นสูงชะลูดขนาดกลาง แตกกิ่งก้านบนยอดสูง ใบออกเป็นช่อใหญ่อยู่ที่ปลายกิ่ง มีลักษณะเป็นรูปไข่ ปลายใบแหลม ดอกออกเป็นช่อใหญ่ตรงยอด มีสีม่วงอมแดง บางทีก็สีน้ำตาลคล้ำ ผลออกเป็นฝักแบนยาวคล้ายดาบ กว้างประมาณ 2.4-9 ซม. ยาว 60-120 ซม. ปลายฝักแหลม ตรงกลางขอบมีรอยโป่งเล็กน้อย เมื่อฝักแก่ รอบข้างของฝักจะปริแตก ข้างในมีเมล็ดมากมาย สามารถอ่านบทความเพิ่มเติมได้ ที่นี่
เพกา หรือ ลิ้นฟ้า ผักพื้นบ้านที่นิยมกิน ฝักกันถ้วนทั่วทุกภาค โดยเฉพาะคนพื้นบ้านภาคเหนือและภาคอีสาน ในแต่ละท้องถิ่นจะมีชื่อเรียกแตกต่างกันไป ภาคกลาง ภาคใต้เรียก “ฝักเพกา” ภาคเหนือเรียก “มะลิ้นไม้” “ลิ้นไม้” ภาคอีสานเรียกว่า “หมากลิ้นฟ้า” “ฝักลิ้นฟ้า” “ฝักลิ้นงู” “ลิ้นไม้” “ลิ้นฟ้า” นั่นเป็นเพราะฝักเพกามีลักษณะแบนยาว ห้อยระย้าอยู่เหนือเรือนยอดต้นที่สูงเสียดฟ้า
เพกา เป็นพืชที่ขึ้นเองตามธรรมชาติได้ง่าย เมื่อเมล็ดแก่แผ่นเบาบางปลิวตามแรงลมร่วงหล่นตามพื้นดิน ได้น้ำจากสายฝนชุ่มฉ่ำ เจริญเติบโตเป็นต้นไม้ใหญ่อยู่ตามเชิง หุบเขา ริมห้วย ริมลำธาร ตามท้องทุ่งริมทาง ตามป่าละเมาะใกล้หมู่บ้าน ออกดอกออกฝัก ดังนั้นชาวบ้านจึงเก็บมากินโดยไม่ต้องซื้อหาแต่อย่างใด
เป็นไม้ยืนต้นสูงชะลูดขนาดกลาง แตกกิ่งก้านบนยอดสูง ใบออกเป็นช่อใหญ่อยู่ที่ปลายกิ่ง มีลักษณะเป็นรูปไข่ ปลายใบแหลม ดอกออกเป็นช่อใหญ่ตรงยอด มีสีม่วงอมแดง บางทีก็สีน้ำตาลคล้ำ ผลออกเป็นฝักแบนยาวคล้ายดาบ กว้างประมาณ 2.4-9 ซม. ยาว 60-120 ซม. ปลายฝักแหลม ตรงกลางขอบมีรอยโป่งเล็กน้อย เมื่อฝักแก่ รอบข้างของฝักจะปริแตก ข้างในมีเมล็ดมากมาย สามารถอ่านบทความเพิ่มเติมได้ ที่นี่