การปลูก ฟักทอง พันธุ์ คางคก
โพสต์แล้ว: พุธ 15 พ.ย. 2017 7:27 am
การปลูก ฟักทอง พันธุ์ คางคก
"ฟักทอง" มีหลายพันธุ์ ฟักทอง จัดเป็นผักในตระกูลแตง ที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศทางแถบทวีปอเมริกาคือ สหรัฐอเมริกาและประเทศเม็กซิโก เป็นต้น จากประวัติความเป็นมาสืบได้ว่า ฟักทอง มีการปลูกมาตั้งแต่ 10,000-30,000 ปี ที่ผ่านมา จัดเป็นพืชผักที่มีการใช้ประโยชน์มาอย่างยาวนานที่สุดชนิดหนึ่ง สำหรับประเทศไทย ฟักทอง จะมีชื่อเรียกแตกต่างตามพื้นที่ อาทิ ภาคใต้ จะเรียก "น้ำเต้า" ภาคเหนือ เรียก "ฟักเขียว", "มะฟักแม้ว" ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เรียก "ฟักเหลือง", "หมากอึ" และภาคกลาง เรียก "ฟักทอง" เป็นต้น ในทางโภชนาการจัดให้ฟักทองเป็นพืชผักที่มีคุณค่าทางอาหารสูงชนิดหนึ่ง น้ำหนักของฟักทองสด จำนวน 100 กรัม (1 ขีด) จะมีปริมาณเส้นใย 1.1 กรัม วิตามินเอ 1,600 IU และวิตามินซี 9 มิลลิกรัม นอกจากนั้น ยังจัดเป็นพืชผักที่มีสารเบต้าแคโรทีนสูง ในทางการแพทย์มีข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ว่า สารเบต้าแคโรทีนเป็นสารตั้งต้นในการสร้างวิตามินเอปกป้องผิวหนังจากรังสีอัลตราไวโอเลตจากแสงแดด และยังเป็นสารแอนตี้ออกซิแดนซ์ที่ช่วยกำจัดอนุมูลอิสระและยังมีส่วนช่วยในการกำจัดเซลล์มะเร็ง
สำหรับในประเทศไทย เราพบว่า ฟักทอง ที่ปลูกเพื่อการบริโภคนั้น ลักษณะของพันธุ์จะมีเปลือกสีเขียวคล้ำ ร่องผลเป็นพูสม่ำเสมอ หรือเปลือกขรุขระแบบหนังคางคก ผลที่แก่จัดขึ้นนวลสีขาวตั้งแต่ขั้วไปทั้งผล และนิยมปลูกพันธุ์ผลใหญ่ มีน้ำหนักมากกว่า 4-5 กิโลกรัม หรือผลเล็กมีน้ำหนักผลระหว่าง 2-3 กิโลกรัม ในปัจจุบันพันธุ์ฟักทองทางการค้าที่เกษตรกรไทยนิยมปลูกจะใช้พันธุ์ลูกผสม เนื่องจากให้ผลผลิตสูงและมีเปลือกแบบหนังคางคกหรือลายข้าวตอก
สภาพพื้นที่และฤดูที่เหมาะสมต่อการปลูกฟักทอง
ฟักทองจะเจริญเติบโตได้ดีในสภาพดินที่มีค่า pH=5.5-6.8 จัดเป็นพืชผักที่ทนดินสภาพกรดได้ระดับปานกลาง และสามารถเจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนปนทรายที่มีการระบายน้ำที่ดี โดยปกติแล้วฤดูการผลิตฟักทองที่เหมาะสมจะปลูกในช่วงเดือนกรกฎาคม-มกราคม จะปลูกหลังจากที่ต้นกล้าที่ได้จากการเพาะเมล็ด มีใบจริง จำนวน 1 ใบ หรือเมื่ออายุต้นกล้ามีอายุได้ 9-12 วัน ให้ย้ายปลูก ถ้ามีแหล่งน้ำที่ดี หรือปลูกในช่วงฤดูฝน อาจจะปลูกโดยการหยอดเมล็ดได้โดยตรง ต้นฟักทองจะเริ่มออกดอกหลังจากย้ายปลูกไปประมาณ 40-50 วัน มีช่วงเวลาในการผสมเกสร 10-15 วัน หลังจากผสมเกสร 40-50 วัน จึงเริ่มเก็บเกี่ยวผลแก่ และมีช่วงเวลาในการเก็บเกี่ยว 15-20 วัน ใช้เวลาตลอดฤดูการผลิตฟักทองในแต่ละรุ่น 100-120 วัน ดอกเพศเมียและเพศผู้จะบานในตอนเช้า จะบานในช่วงเวลา 03.30-06.00 น. อับเรณูจะแตกระหว่างเวลา 21.00-03.00 น. ละอองเรณูจะมีชีวิตอยู่ได้ 16 ชั่วโมง หลังอับเรณูแตกยอดเกสรเพศเมียพร้อมรับการผสมเกสรก่อนดอกบาน 2 ชั่วโมง และหลังดอกบาน 10 ชั่วโมง ดังนั้น ช่วงเวลาที่มีความเหมาะสมในการผสมเกสรคือ ตั้งแต่เวลา 06.00-09.00 น. ต้นฟักทองจะเจริญเติบโตได้ผลดีที่อุณหภูมิระหว่าง 18-27 องศาเซลเซียส จัดเป็นพืชผักที่ไม่ทนต่อความหนาวเย็นจัด อุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการงอกของเมล็ดเฉลี่ยอยู่ที่ 25-30 องศาเซลเซียส พบว่าต้นฟักทองจะชะงักการเจริญเติบโตในสภาพอุณหภูมิที่ต่ำกว่า 10 องศาเซลเซียส
วิธีการเตรียมพื้นที่ปลูกฟักทอง
ในการเตรียมพื้นที่ปลูกฟักทอง เกษตรกรต้องตรวจสภาพความเป็นกรด-ด่างของดิน เมื่อตรวจพบว่าดินมีค่าความเป็นกรดสูง หรือมีค่า pH ต่ำกว่า 5.5 จะต้องใส่ปูนขาว หินปูน หรือปูนโดโลไมต์ อัตรา 100-200 กิโลกรัม ต่อไร่ (การใส่ปูนขาว ควรใส่ก่อนที่จะลงมือปลูกอย่างน้อย 1 สัปดาห์) หลังจากนั้น ให้ไถพรวนผสมคลุกเคล้าให้ปูนผสมกับดินและตากดินทิ้งไว้ ในการเตรียมดินเพื่อปลูกฟักทองในแต่ละรุ่นจะต้องเริ่มต้นจากการไถพรวนตากดินให้มีความลึกอย่างน้อย 30 เซนติเมตร ปล่อยทิ้งไว้อย่างน้อยครึ่งเดือนเพื่อให้วัชพืชตาย
นอกจากนี้ ควรมีการใช้ปุ๋ยหมักเพื่อการปรับปรุงดินเพื่อเพิ่มผลผลิตของฟักทอง การใช้ปุ๋ยหมักอย่างต่อเนื่องจะมีผลดีต่อการปรับปรุงคุณภาพของดิน อัตราการใช้ปุ๋ยหมักขึ้นอยู่กับประเภทของดินที่ใช้ปลูกฟักทอง สำหรับดินทรายหรือดินร่วนปนทรายที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออก อัตราการใส่ปุ๋ยหมักจะสูง ส่วนดินเหนียวในภาคกลางหรือดินร่วนปนทรายที่มีความอุดมสมบูรณ์ปานกลางทางภาคเหนือ จะใช้อัตราปุ๋ยหมักที่ต่ำกว่าระยะปลูกฟักทอง ควรจะใช้ระยะปลูกระหว่างต้น 1 เมตร ระยะระหว่างเถา 4 เมตร พื้นที่ 1 ไร่ จะปลูกได้ 400 ต้น ต่อไร่ ในการเตรียมพื้นที่ด้วยการปักหลักไม้ทุกระยะ 1 และ 4 เมตร ไปตามแนวของพื้นที่ปลูก เปิดร่องใส่ปุ๋ยตามแนวหลักไม้ที่ปักไว้ เปิดร่องให้ลึก 30 เซนติเมตร
การใส่ปุ๋ยหมัก
การใส่ปุ๋ยหมักควรรองพื้น อัตรา 2 ตัน ต่อ 1 ไร่
การใส่ปุ๋ยเคมีให้ฟักทอง
การใส่ปุ๋ยเคมีสูตรเสมอ เช่น 16-16-16 อัตรา 50 กิโลกรัม ต่อไร่
หลังจากใส่ปุ๋ยควรเปิดร่องน้ำและกลบปุ๋ยรองพื้น ได้แปลงที่มีความกว้าง 4.5 เมตร ร่องน้ำกว้าง 50 เซนติเมตร ปลูกต้นฟักทองให้ห่างจากขอบแปลง 25 เซนติเมตร ระยะห่างระหว่างต้น 1.5 เมตร ระยะระหว่างแถว 4 เมตร ปลูก 2 แถว เลื้อยเข้าหากัน จำนวน 1 ต้น ต่อหลุม ยกแปลงให้สูง 30 เซนติเมตร เพื่อให้การระบายน้ำได้ผลดี คลุมพลาสติคกว้าง 1.5 เมตร หรือใช้ฟางข้าวเป็นแถวยาวในแนวที่ย้ายปลูกเพื่อป้องกันการงอกของวัชพืชในระยะที่เถายาว 1.5 เมตร
สำหรับวิธีการปลูกฟักทองในรูปแบบของเกษตรอินทรีย์นั้น ผศ.ดร.จานุลักษณ์ ขนบดี สถาบันวิจัยและฝึกอบรมการเกษตรลำปาง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ปลูกฟักทองโดยไม่มีการใช้ปุ๋ยเคมีและสารสังเคราะห์ทุกชนิด มีการปรับปรุงดินให้มีคุณภาพดีโดยใช้ปุ๋ยหมักมีการคลุมดินด้วยวัสดุจากธรรมชาติ เช่น ฟางข้าว ซากพืช และสัตว์ที่ผุพัง มีการปลูกพืชหมุนเวียนเพื่อลดการระบายของศัตรูพืชและมีการอนุรักษ์แมลงที่เป็นประโยชน์ สำหรับน้ำหมักชีวภาพที่ผลิตจากพืช เช่น ผักต่างๆ ผลไม้ วัชพืช และสมุนไพร เป็นต้น ใช้อัตราส่วนเศษพืช 3 ส่วน กากน้ำตาล 1 ส่วน โดยนำวัสดุมาย่อยหรือสับให้เป็นชิ้นเล็กๆ หรือบดให้ละเอียดคลุกเคล้ากับกากน้ำตาลให้เข้ากันในภาชนะ โดยใส่ให้เกือบเต็ม ปิดฝาเก็บไว้ในที่ร่มมีสภาพอากาศถ่ายเทดี หลังจากการหมักไปได้ 7-10 วัน ให้กรองเอาแต่ของเหลวมาผสมน้ำ อัตราส่วน 1 : 200 หรือ 1 : 1,000 ฉีดพ่นต้นพืชหรือราดลงดินบริเวณรากพืช
ยังมีสูตรน้ำปุ๋ยชีวภาพที่ทำได้ง่ายๆ เช่น ผสมรำละเอียด 60 กิโลกรัม มูลไก่ 40 กิโลกรัม คลุกให้เข้ากัน จากนั้นใช้เชื้อ พด.1 (เชื้อเร่งการทำปุ๋ยหมัก) 1 ซอง ต่อน้ำ 20 ลิตร คนให้เข้ากันนานประมาณ 15-20 นาที นำน้ำเชื้อ พด.1 ไปเทใส่กองปุ๋ยคลุกให้มีความชื้นมากพอ (สังเกตความชื้นของกองปุ๋ยด้วยการกำวัสดุแล้วคลายมือออก ก้อนวัสดุยังไม่แตก) หลังจากนั้น กองวัสดุที่ผสมเข้ากันดีแล้ว โดยใช้กระสอบป่านคลุม กลับกองปุ๋ยทุกวัน เป็นเวลานาน 7-10 วัน เมื่อปุ๋ยหมักได้ที่แล้วแผ่กองปุ๋ยผึ่งให้แห้งเพื่อเก็บไว้ใช้ได้นาน วิธีการนำมาใช้ผสมปุ๋ยหมักชีวภาพแห้ง อัตรา 1 กิโลกรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร แช่ไว้ในถังนานประมาณ 5-7 วัน คนให้ปุ๋ยย่อยสลายจะได้ปุ๋ยน้ำชีวภาพที่เข้มข้น ปุ๋ยหมักชีวภาพแห้ง อัตรา 1 กิโลกรัม ทำเป็นปุ๋ยน้ำได้ 400-800 ลิตร สามารถนำไปตักรดหรือปล่อยตามร่องให้กับแปลงปลูกฟักทองหรือผสมกับสมุนไพรในการป้องกันและกำจัดศัตรูฟักทองได้ทุกระยะของการเจริญเติบโต
ผศ.ดร.จานุลักษณ์ ขนบดี ย้ำว่า ในการใช้ปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพเพื่อส่งเสริมการเจริญเติบโตในการปลูกฟักทองนั้น จะต้องได้รับแร่ธาตุอาหารที่เพียงพอ อาจจะใช้ไม่ได้ผลกับพืชที่ปลูกในดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ การราดน้ำปุ๋ยหมักชีวภาพลงในดินจะเป็นการเพิ่มปริมาณจุลินทรีย์ให้แก่ดินบริเวณรากพืช พร้อมกับเป็นการปรับความชื้นในดินบริเวณนั้นให้มีความเหมาะสมกับการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ กิจกรรมต่างๆ ของจุลินทรีย์จะดำเนินไปอย่างรวดเร็ว โดยใช้อาหารจากปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอกหรือพืชสดและวัชพืชที่ใส่ลงในดิน สามารถตรึงไนโตรเจนจากอากาศได้และสร้างสารควบคุมการเจริญเติบโตให้แก่พืชได้อย่างช้าๆ แต่ต่อเนื่อง
ปลูกฟักทอง ในเนื้อที่ 1 ไร่
ใช้เมล็ดพันธุ์ 100-150 กรัม
ในการปลูกฟักทองในพื้นที่ 1 ไร่ จะใช้เมล็ดพันธุ์ จำนวน 500-600 เมล็ด หรือเมื่อชั่งเป็นน้ำหนักประมาณ 100-150 กรัม ในการเพาะเมล็ดเพื่อปลูกในแต่ละรุ่นนั้น เกษตรกรจะต้องเพาะต้นกล้าเผื่อความเสียหายของอัตราความงอกของเมล็ดพันธุ์และต้นกล้าตาย หลังจากการย้ายปลูกไว้อย่างน้อย 20-30% วัสดุที่ใช้ในการเพาะเมล็ดฟักทองนั้น แนะนำให้ใช้ส่วนผสมของ ดิน : ปุ๋ยหมัก : ขุยมะพร้าว = 1 : 1 : 1 โดยดินและปุ๋ยหมักเป็นแหล่งธาตุอาหารต่างๆ สำหรับการเจริญเติบโต สำหรับขุยมะพร้าวช่วยทำให้ก้อนวัสดุเพาะรวมตัวกันเป็นก้อนไม่แตกในขณะที่ย้ายปลูก เมล็ดฟักทองที่จะนำมาเพาะ ควรบ่มด้วยการนำเมล็ดพันธุ์ใส่ในถุงพลาสติคที่เจาะรูให้น้ำเข้าได้ นำไปแช่ในน้ำที่สะอาดนาน 4 ชั่วโมง น้ำจะช่วยให้เมล็ดฟักทองเริ่มงอก นำถุงที่บรรจุเมล็ดพันธุ์ที่อวบน้ำมาห่อด้วยผ้าชุบน้ำหมาดๆ แล้วบรรจุลงในถุงพลาสติค รัดปากถุงให้แน่น บ่มในสภาพอุณหภูมิปกติ นาน 12-24 ชั่วโมง จะพบว่ารากเริ่มงอกยาว 0.5 เซนติเมตร จึงนำไปเพาะต่อไป สำหรับการบ่มเมล็ดพันธุ์ฟักทองในช่วงฤดูหนาว ควรจะให้ความอบอุ่นแก่เมล็ดพันธุ์โดยการบ่มในกล่องกระดาษที่ใช้หลอดไฟฟ้า อุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการงอกของเมล็ดพันธุ์อยู่ระหว่าง 25-30 องศาเซลเซียส
การตัดแต่งและไว้ตำแหน่งผลของฟักทอง
การตัดแต่งจะทำหลังจากย้ายต้นกล้าฟักทองลงปลูกในแปลง 10-15 วัน เมื่อถึงระยะมีใบที่ 5 ให้เด็ดยอดทิ้ง หลังจากนั้นภายใน 2 สัปดาห์ จะมีเถาแขนงแตกออกจากมุมใบ 3-4 เถา ให้ติดผลที่เถาแขนง ข้อที่ 5-7 จำนวน 4-5 ผล ให้ติดผลในข้อที่มากกว่า เมื่อผลมีขนาดเท่ากับผลมะนาว ให้คัดเลือกผลที่สมบูรณ์เหลือเพียง 3-4 ผล ต่อต้น หลังจากนั้น ให้ห่อผลเพื่อป้องกันแมลงวันทอง ปล่อยให้แขนงแตกโดยธรรมชาติและปลิดผลอ่อนในส่วนปลายเถาออกทิ้งเป็นระยะๆ ในการตัดแต่งควรจะทำในช่วงเวลาเช้าเพื่อให้บาดแผลแห้งภายในวันนั้น เพื่อเป็นการปกป้องการเข้าทำลายโดยเชื้อแบคทีเรียที่เข้าสู่พืชทางบาดแผลและอาจพ่นสารเคมีป้องกันโรคพืชตามความเหมาะสม นอกจากนี้ วันที่ตัดแต่งถ้าเป็นไปได้เป็นวันที่มีแสงแดดตลอดวันจะยิ่งดี การเก็บเกี่ยวผลผลิตฟักทอง หลังจากที่มีการย้ายต้นกล้าฟักทองลงปลูกในแปลงนาน 80-100 วัน หรือหลังจากดอกบาน 40-60 วัน ผลฟักทองจะเริ่มเปลี่ยนเป็นสีเหลืองจัดและมีนวลสีขาวที่ผล เถาเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้ม การผลิตฟักทองสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตแบบผลอ่อนหรือผลแก่ตามความต้องการของตลาด เก็บเกี่ยว 2-3 ครั้ง ช่วงระยะของการเก็บเกี่ยว 15-20 วัน ผลผลิตฟักทองเฉลี่ย 3-6 ตัน ต่อไร่
แจกฟรี "เมล็ดพันธุ์ฟักทองพันธุ์ดี" พร้อมกับ หนังสือ "การผลิตฟักทองแบบปลอดภัย" พิมพ์ 4 สี เกษตรกรและผู้สนใจเขียนจดหมายสอดแสตมป์ 50 บาท (ระบุชื่อหนังสือ) ส่งมาขอได้ที่ ชมรมเผยแพร่ความรู้ทางการเกษตร เลขที่ 2/395 ถนนศรีมาลา ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร 66000 โทร. (056) 613-021, (056) 650-145 และ (081) 886-7398
ที่มา: สถาบันวิจัยและฝึกอบรมการเกษตรลำปาง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ปี 2551
"ฟักทอง" มีหลายพันธุ์ ฟักทอง จัดเป็นผักในตระกูลแตง ที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศทางแถบทวีปอเมริกาคือ สหรัฐอเมริกาและประเทศเม็กซิโก เป็นต้น จากประวัติความเป็นมาสืบได้ว่า ฟักทอง มีการปลูกมาตั้งแต่ 10,000-30,000 ปี ที่ผ่านมา จัดเป็นพืชผักที่มีการใช้ประโยชน์มาอย่างยาวนานที่สุดชนิดหนึ่ง สำหรับประเทศไทย ฟักทอง จะมีชื่อเรียกแตกต่างตามพื้นที่ อาทิ ภาคใต้ จะเรียก "น้ำเต้า" ภาคเหนือ เรียก "ฟักเขียว", "มะฟักแม้ว" ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เรียก "ฟักเหลือง", "หมากอึ" และภาคกลาง เรียก "ฟักทอง" เป็นต้น ในทางโภชนาการจัดให้ฟักทองเป็นพืชผักที่มีคุณค่าทางอาหารสูงชนิดหนึ่ง น้ำหนักของฟักทองสด จำนวน 100 กรัม (1 ขีด) จะมีปริมาณเส้นใย 1.1 กรัม วิตามินเอ 1,600 IU และวิตามินซี 9 มิลลิกรัม นอกจากนั้น ยังจัดเป็นพืชผักที่มีสารเบต้าแคโรทีนสูง ในทางการแพทย์มีข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ว่า สารเบต้าแคโรทีนเป็นสารตั้งต้นในการสร้างวิตามินเอปกป้องผิวหนังจากรังสีอัลตราไวโอเลตจากแสงแดด และยังเป็นสารแอนตี้ออกซิแดนซ์ที่ช่วยกำจัดอนุมูลอิสระและยังมีส่วนช่วยในการกำจัดเซลล์มะเร็ง
สำหรับในประเทศไทย เราพบว่า ฟักทอง ที่ปลูกเพื่อการบริโภคนั้น ลักษณะของพันธุ์จะมีเปลือกสีเขียวคล้ำ ร่องผลเป็นพูสม่ำเสมอ หรือเปลือกขรุขระแบบหนังคางคก ผลที่แก่จัดขึ้นนวลสีขาวตั้งแต่ขั้วไปทั้งผล และนิยมปลูกพันธุ์ผลใหญ่ มีน้ำหนักมากกว่า 4-5 กิโลกรัม หรือผลเล็กมีน้ำหนักผลระหว่าง 2-3 กิโลกรัม ในปัจจุบันพันธุ์ฟักทองทางการค้าที่เกษตรกรไทยนิยมปลูกจะใช้พันธุ์ลูกผสม เนื่องจากให้ผลผลิตสูงและมีเปลือกแบบหนังคางคกหรือลายข้าวตอก
สภาพพื้นที่และฤดูที่เหมาะสมต่อการปลูกฟักทอง
ฟักทองจะเจริญเติบโตได้ดีในสภาพดินที่มีค่า pH=5.5-6.8 จัดเป็นพืชผักที่ทนดินสภาพกรดได้ระดับปานกลาง และสามารถเจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนปนทรายที่มีการระบายน้ำที่ดี โดยปกติแล้วฤดูการผลิตฟักทองที่เหมาะสมจะปลูกในช่วงเดือนกรกฎาคม-มกราคม จะปลูกหลังจากที่ต้นกล้าที่ได้จากการเพาะเมล็ด มีใบจริง จำนวน 1 ใบ หรือเมื่ออายุต้นกล้ามีอายุได้ 9-12 วัน ให้ย้ายปลูก ถ้ามีแหล่งน้ำที่ดี หรือปลูกในช่วงฤดูฝน อาจจะปลูกโดยการหยอดเมล็ดได้โดยตรง ต้นฟักทองจะเริ่มออกดอกหลังจากย้ายปลูกไปประมาณ 40-50 วัน มีช่วงเวลาในการผสมเกสร 10-15 วัน หลังจากผสมเกสร 40-50 วัน จึงเริ่มเก็บเกี่ยวผลแก่ และมีช่วงเวลาในการเก็บเกี่ยว 15-20 วัน ใช้เวลาตลอดฤดูการผลิตฟักทองในแต่ละรุ่น 100-120 วัน ดอกเพศเมียและเพศผู้จะบานในตอนเช้า จะบานในช่วงเวลา 03.30-06.00 น. อับเรณูจะแตกระหว่างเวลา 21.00-03.00 น. ละอองเรณูจะมีชีวิตอยู่ได้ 16 ชั่วโมง หลังอับเรณูแตกยอดเกสรเพศเมียพร้อมรับการผสมเกสรก่อนดอกบาน 2 ชั่วโมง และหลังดอกบาน 10 ชั่วโมง ดังนั้น ช่วงเวลาที่มีความเหมาะสมในการผสมเกสรคือ ตั้งแต่เวลา 06.00-09.00 น. ต้นฟักทองจะเจริญเติบโตได้ผลดีที่อุณหภูมิระหว่าง 18-27 องศาเซลเซียส จัดเป็นพืชผักที่ไม่ทนต่อความหนาวเย็นจัด อุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการงอกของเมล็ดเฉลี่ยอยู่ที่ 25-30 องศาเซลเซียส พบว่าต้นฟักทองจะชะงักการเจริญเติบโตในสภาพอุณหภูมิที่ต่ำกว่า 10 องศาเซลเซียส
วิธีการเตรียมพื้นที่ปลูกฟักทอง
ในการเตรียมพื้นที่ปลูกฟักทอง เกษตรกรต้องตรวจสภาพความเป็นกรด-ด่างของดิน เมื่อตรวจพบว่าดินมีค่าความเป็นกรดสูง หรือมีค่า pH ต่ำกว่า 5.5 จะต้องใส่ปูนขาว หินปูน หรือปูนโดโลไมต์ อัตรา 100-200 กิโลกรัม ต่อไร่ (การใส่ปูนขาว ควรใส่ก่อนที่จะลงมือปลูกอย่างน้อย 1 สัปดาห์) หลังจากนั้น ให้ไถพรวนผสมคลุกเคล้าให้ปูนผสมกับดินและตากดินทิ้งไว้ ในการเตรียมดินเพื่อปลูกฟักทองในแต่ละรุ่นจะต้องเริ่มต้นจากการไถพรวนตากดินให้มีความลึกอย่างน้อย 30 เซนติเมตร ปล่อยทิ้งไว้อย่างน้อยครึ่งเดือนเพื่อให้วัชพืชตาย
นอกจากนี้ ควรมีการใช้ปุ๋ยหมักเพื่อการปรับปรุงดินเพื่อเพิ่มผลผลิตของฟักทอง การใช้ปุ๋ยหมักอย่างต่อเนื่องจะมีผลดีต่อการปรับปรุงคุณภาพของดิน อัตราการใช้ปุ๋ยหมักขึ้นอยู่กับประเภทของดินที่ใช้ปลูกฟักทอง สำหรับดินทรายหรือดินร่วนปนทรายที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออก อัตราการใส่ปุ๋ยหมักจะสูง ส่วนดินเหนียวในภาคกลางหรือดินร่วนปนทรายที่มีความอุดมสมบูรณ์ปานกลางทางภาคเหนือ จะใช้อัตราปุ๋ยหมักที่ต่ำกว่าระยะปลูกฟักทอง ควรจะใช้ระยะปลูกระหว่างต้น 1 เมตร ระยะระหว่างเถา 4 เมตร พื้นที่ 1 ไร่ จะปลูกได้ 400 ต้น ต่อไร่ ในการเตรียมพื้นที่ด้วยการปักหลักไม้ทุกระยะ 1 และ 4 เมตร ไปตามแนวของพื้นที่ปลูก เปิดร่องใส่ปุ๋ยตามแนวหลักไม้ที่ปักไว้ เปิดร่องให้ลึก 30 เซนติเมตร
การใส่ปุ๋ยหมัก
การใส่ปุ๋ยหมักควรรองพื้น อัตรา 2 ตัน ต่อ 1 ไร่
การใส่ปุ๋ยเคมีให้ฟักทอง
การใส่ปุ๋ยเคมีสูตรเสมอ เช่น 16-16-16 อัตรา 50 กิโลกรัม ต่อไร่
หลังจากใส่ปุ๋ยควรเปิดร่องน้ำและกลบปุ๋ยรองพื้น ได้แปลงที่มีความกว้าง 4.5 เมตร ร่องน้ำกว้าง 50 เซนติเมตร ปลูกต้นฟักทองให้ห่างจากขอบแปลง 25 เซนติเมตร ระยะห่างระหว่างต้น 1.5 เมตร ระยะระหว่างแถว 4 เมตร ปลูก 2 แถว เลื้อยเข้าหากัน จำนวน 1 ต้น ต่อหลุม ยกแปลงให้สูง 30 เซนติเมตร เพื่อให้การระบายน้ำได้ผลดี คลุมพลาสติคกว้าง 1.5 เมตร หรือใช้ฟางข้าวเป็นแถวยาวในแนวที่ย้ายปลูกเพื่อป้องกันการงอกของวัชพืชในระยะที่เถายาว 1.5 เมตร
สำหรับวิธีการปลูกฟักทองในรูปแบบของเกษตรอินทรีย์นั้น ผศ.ดร.จานุลักษณ์ ขนบดี สถาบันวิจัยและฝึกอบรมการเกษตรลำปาง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ปลูกฟักทองโดยไม่มีการใช้ปุ๋ยเคมีและสารสังเคราะห์ทุกชนิด มีการปรับปรุงดินให้มีคุณภาพดีโดยใช้ปุ๋ยหมักมีการคลุมดินด้วยวัสดุจากธรรมชาติ เช่น ฟางข้าว ซากพืช และสัตว์ที่ผุพัง มีการปลูกพืชหมุนเวียนเพื่อลดการระบายของศัตรูพืชและมีการอนุรักษ์แมลงที่เป็นประโยชน์ สำหรับน้ำหมักชีวภาพที่ผลิตจากพืช เช่น ผักต่างๆ ผลไม้ วัชพืช และสมุนไพร เป็นต้น ใช้อัตราส่วนเศษพืช 3 ส่วน กากน้ำตาล 1 ส่วน โดยนำวัสดุมาย่อยหรือสับให้เป็นชิ้นเล็กๆ หรือบดให้ละเอียดคลุกเคล้ากับกากน้ำตาลให้เข้ากันในภาชนะ โดยใส่ให้เกือบเต็ม ปิดฝาเก็บไว้ในที่ร่มมีสภาพอากาศถ่ายเทดี หลังจากการหมักไปได้ 7-10 วัน ให้กรองเอาแต่ของเหลวมาผสมน้ำ อัตราส่วน 1 : 200 หรือ 1 : 1,000 ฉีดพ่นต้นพืชหรือราดลงดินบริเวณรากพืช
ยังมีสูตรน้ำปุ๋ยชีวภาพที่ทำได้ง่ายๆ เช่น ผสมรำละเอียด 60 กิโลกรัม มูลไก่ 40 กิโลกรัม คลุกให้เข้ากัน จากนั้นใช้เชื้อ พด.1 (เชื้อเร่งการทำปุ๋ยหมัก) 1 ซอง ต่อน้ำ 20 ลิตร คนให้เข้ากันนานประมาณ 15-20 นาที นำน้ำเชื้อ พด.1 ไปเทใส่กองปุ๋ยคลุกให้มีความชื้นมากพอ (สังเกตความชื้นของกองปุ๋ยด้วยการกำวัสดุแล้วคลายมือออก ก้อนวัสดุยังไม่แตก) หลังจากนั้น กองวัสดุที่ผสมเข้ากันดีแล้ว โดยใช้กระสอบป่านคลุม กลับกองปุ๋ยทุกวัน เป็นเวลานาน 7-10 วัน เมื่อปุ๋ยหมักได้ที่แล้วแผ่กองปุ๋ยผึ่งให้แห้งเพื่อเก็บไว้ใช้ได้นาน วิธีการนำมาใช้ผสมปุ๋ยหมักชีวภาพแห้ง อัตรา 1 กิโลกรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร แช่ไว้ในถังนานประมาณ 5-7 วัน คนให้ปุ๋ยย่อยสลายจะได้ปุ๋ยน้ำชีวภาพที่เข้มข้น ปุ๋ยหมักชีวภาพแห้ง อัตรา 1 กิโลกรัม ทำเป็นปุ๋ยน้ำได้ 400-800 ลิตร สามารถนำไปตักรดหรือปล่อยตามร่องให้กับแปลงปลูกฟักทองหรือผสมกับสมุนไพรในการป้องกันและกำจัดศัตรูฟักทองได้ทุกระยะของการเจริญเติบโต
ผศ.ดร.จานุลักษณ์ ขนบดี ย้ำว่า ในการใช้ปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพเพื่อส่งเสริมการเจริญเติบโตในการปลูกฟักทองนั้น จะต้องได้รับแร่ธาตุอาหารที่เพียงพอ อาจจะใช้ไม่ได้ผลกับพืชที่ปลูกในดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ การราดน้ำปุ๋ยหมักชีวภาพลงในดินจะเป็นการเพิ่มปริมาณจุลินทรีย์ให้แก่ดินบริเวณรากพืช พร้อมกับเป็นการปรับความชื้นในดินบริเวณนั้นให้มีความเหมาะสมกับการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ กิจกรรมต่างๆ ของจุลินทรีย์จะดำเนินไปอย่างรวดเร็ว โดยใช้อาหารจากปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอกหรือพืชสดและวัชพืชที่ใส่ลงในดิน สามารถตรึงไนโตรเจนจากอากาศได้และสร้างสารควบคุมการเจริญเติบโตให้แก่พืชได้อย่างช้าๆ แต่ต่อเนื่อง
ปลูกฟักทอง ในเนื้อที่ 1 ไร่
ใช้เมล็ดพันธุ์ 100-150 กรัม
ในการปลูกฟักทองในพื้นที่ 1 ไร่ จะใช้เมล็ดพันธุ์ จำนวน 500-600 เมล็ด หรือเมื่อชั่งเป็นน้ำหนักประมาณ 100-150 กรัม ในการเพาะเมล็ดเพื่อปลูกในแต่ละรุ่นนั้น เกษตรกรจะต้องเพาะต้นกล้าเผื่อความเสียหายของอัตราความงอกของเมล็ดพันธุ์และต้นกล้าตาย หลังจากการย้ายปลูกไว้อย่างน้อย 20-30% วัสดุที่ใช้ในการเพาะเมล็ดฟักทองนั้น แนะนำให้ใช้ส่วนผสมของ ดิน : ปุ๋ยหมัก : ขุยมะพร้าว = 1 : 1 : 1 โดยดินและปุ๋ยหมักเป็นแหล่งธาตุอาหารต่างๆ สำหรับการเจริญเติบโต สำหรับขุยมะพร้าวช่วยทำให้ก้อนวัสดุเพาะรวมตัวกันเป็นก้อนไม่แตกในขณะที่ย้ายปลูก เมล็ดฟักทองที่จะนำมาเพาะ ควรบ่มด้วยการนำเมล็ดพันธุ์ใส่ในถุงพลาสติคที่เจาะรูให้น้ำเข้าได้ นำไปแช่ในน้ำที่สะอาดนาน 4 ชั่วโมง น้ำจะช่วยให้เมล็ดฟักทองเริ่มงอก นำถุงที่บรรจุเมล็ดพันธุ์ที่อวบน้ำมาห่อด้วยผ้าชุบน้ำหมาดๆ แล้วบรรจุลงในถุงพลาสติค รัดปากถุงให้แน่น บ่มในสภาพอุณหภูมิปกติ นาน 12-24 ชั่วโมง จะพบว่ารากเริ่มงอกยาว 0.5 เซนติเมตร จึงนำไปเพาะต่อไป สำหรับการบ่มเมล็ดพันธุ์ฟักทองในช่วงฤดูหนาว ควรจะให้ความอบอุ่นแก่เมล็ดพันธุ์โดยการบ่มในกล่องกระดาษที่ใช้หลอดไฟฟ้า อุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการงอกของเมล็ดพันธุ์อยู่ระหว่าง 25-30 องศาเซลเซียส
การตัดแต่งและไว้ตำแหน่งผลของฟักทอง
การตัดแต่งจะทำหลังจากย้ายต้นกล้าฟักทองลงปลูกในแปลง 10-15 วัน เมื่อถึงระยะมีใบที่ 5 ให้เด็ดยอดทิ้ง หลังจากนั้นภายใน 2 สัปดาห์ จะมีเถาแขนงแตกออกจากมุมใบ 3-4 เถา ให้ติดผลที่เถาแขนง ข้อที่ 5-7 จำนวน 4-5 ผล ให้ติดผลในข้อที่มากกว่า เมื่อผลมีขนาดเท่ากับผลมะนาว ให้คัดเลือกผลที่สมบูรณ์เหลือเพียง 3-4 ผล ต่อต้น หลังจากนั้น ให้ห่อผลเพื่อป้องกันแมลงวันทอง ปล่อยให้แขนงแตกโดยธรรมชาติและปลิดผลอ่อนในส่วนปลายเถาออกทิ้งเป็นระยะๆ ในการตัดแต่งควรจะทำในช่วงเวลาเช้าเพื่อให้บาดแผลแห้งภายในวันนั้น เพื่อเป็นการปกป้องการเข้าทำลายโดยเชื้อแบคทีเรียที่เข้าสู่พืชทางบาดแผลและอาจพ่นสารเคมีป้องกันโรคพืชตามความเหมาะสม นอกจากนี้ วันที่ตัดแต่งถ้าเป็นไปได้เป็นวันที่มีแสงแดดตลอดวันจะยิ่งดี การเก็บเกี่ยวผลผลิตฟักทอง หลังจากที่มีการย้ายต้นกล้าฟักทองลงปลูกในแปลงนาน 80-100 วัน หรือหลังจากดอกบาน 40-60 วัน ผลฟักทองจะเริ่มเปลี่ยนเป็นสีเหลืองจัดและมีนวลสีขาวที่ผล เถาเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้ม การผลิตฟักทองสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตแบบผลอ่อนหรือผลแก่ตามความต้องการของตลาด เก็บเกี่ยว 2-3 ครั้ง ช่วงระยะของการเก็บเกี่ยว 15-20 วัน ผลผลิตฟักทองเฉลี่ย 3-6 ตัน ต่อไร่
แจกฟรี "เมล็ดพันธุ์ฟักทองพันธุ์ดี" พร้อมกับ หนังสือ "การผลิตฟักทองแบบปลอดภัย" พิมพ์ 4 สี เกษตรกรและผู้สนใจเขียนจดหมายสอดแสตมป์ 50 บาท (ระบุชื่อหนังสือ) ส่งมาขอได้ที่ ชมรมเผยแพร่ความรู้ทางการเกษตร เลขที่ 2/395 ถนนศรีมาลา ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร 66000 โทร. (056) 613-021, (056) 650-145 และ (081) 886-7398
ที่มา: สถาบันวิจัยและฝึกอบรมการเกษตรลำปาง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ปี 2551