ระวัง โรคใบจุดดำ (เชื้อรา Colletotrichum gloeosporioides) ในลำไย
โพสต์แล้ว: พุธ 14 ก.ย. 2022 1:47 am
ระวัง โรคใบจุดดำ (เชื้อรา Colletotrichum gloeosporioides) ในลำไย
สภาพอากาศในช่วงนี้ฝนตกต่อเนื่อง และมีฝนตกหนักบางพื้นที่ เตือนผู้ปลูกลำไย ในระยะ การเจริญเติบโตทางใบ–พัฒนาผล รับมือโรคใบจุดดำ
(เชื้อรา Colletotrichum gloeosporioides)
อาการเริ่มแรก บนใบแก่พบแผลจุดกลมสีน้ำตาลอ่อน มีขอบสีเหลืองล้อมรอบ ต่อมาแผลเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้มถึงดำ หากอาการรุนแรงแผลจะขยายติดกันเป็นแผลขนาดใหญ่ ทำให้ใบบิดเบี้ยวผิดรูป แผลอาจขาดเป็นรู หากสภาพแวดล้อมเหมาะสม มีความชื้นสูง โรคจะระบาดลุกลามไปที่ใบเพสลาดและใบอ่อน ใบจะหลุดร่วงในที่สุด
แนวทางป้องกัน/แก้ไข
1. หมั่นตรวจแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอ เมื่อพบอาการของโรคที่ใบแก่ ตัดแต่งและเก็บส่วนที่เป็นโรค นำไปทำลายนอกแปลงปลูก เพื่อลดปริมาณเชื้อสาเหตุโรค
2. หากพบเริ่มมีอาการของโรคที่ใบเพสลาดและใบอ่อน ให้ตัดแต่งส่วนที่เป็นโรค นำไปทำลายนอกแปลงปลูก แล้วพ่นด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืช เช่น อะซอกซีสโตรบิน ๒๕% เอสซี อัตรา ๕-๑๐ มิลลิลิตรต่อน้ำ ๒๐ ลิตร หรือ แมนโคเซบ ๘๐% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา ๕๐ กรัมต่อน้ำ ๒๐ ลิตร หรือโพรคลอราซ ๔๕% อีซี อัตรา ๑๕ มิลลิลิตรต่อน้ำ ๒๐ ลิตร พ่นทุก ๗-๑๐ วัน
3. กำจัดวัชพืชรอบโคนต้นเพื่อลดความชื้นสะสม
4. ไม่ควรใส่ปุ๋ยที่มีค่าไนโตรเจนมากเกินไป เพราะจะทำให้พืชอ่อนแอต่อการเกิดโรค
5. หลังการเก็บเกี่ยวผลผลิต ควรตัดแต่งกิ่งเพื่อให้ทรงพุ่มโปร่ง โดยเฉพาะกิ่งที่มีใบเป็นโรค และเก็บส่วนที่เป็นโรค นำไปทำลายนอกแปลงปลูก เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งสะสมของโรคในฤดูกาลผลิตต่อไป
สภาพอากาศในช่วงนี้ฝนตกต่อเนื่อง และมีฝนตกหนักบางพื้นที่ เตือนผู้ปลูกลำไย ในระยะ การเจริญเติบโตทางใบ–พัฒนาผล รับมือโรคใบจุดดำ
(เชื้อรา Colletotrichum gloeosporioides)
อาการเริ่มแรก บนใบแก่พบแผลจุดกลมสีน้ำตาลอ่อน มีขอบสีเหลืองล้อมรอบ ต่อมาแผลเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้มถึงดำ หากอาการรุนแรงแผลจะขยายติดกันเป็นแผลขนาดใหญ่ ทำให้ใบบิดเบี้ยวผิดรูป แผลอาจขาดเป็นรู หากสภาพแวดล้อมเหมาะสม มีความชื้นสูง โรคจะระบาดลุกลามไปที่ใบเพสลาดและใบอ่อน ใบจะหลุดร่วงในที่สุด
แนวทางป้องกัน/แก้ไข
1. หมั่นตรวจแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอ เมื่อพบอาการของโรคที่ใบแก่ ตัดแต่งและเก็บส่วนที่เป็นโรค นำไปทำลายนอกแปลงปลูก เพื่อลดปริมาณเชื้อสาเหตุโรค
2. หากพบเริ่มมีอาการของโรคที่ใบเพสลาดและใบอ่อน ให้ตัดแต่งส่วนที่เป็นโรค นำไปทำลายนอกแปลงปลูก แล้วพ่นด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืช เช่น อะซอกซีสโตรบิน ๒๕% เอสซี อัตรา ๕-๑๐ มิลลิลิตรต่อน้ำ ๒๐ ลิตร หรือ แมนโคเซบ ๘๐% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา ๕๐ กรัมต่อน้ำ ๒๐ ลิตร หรือโพรคลอราซ ๔๕% อีซี อัตรา ๑๕ มิลลิลิตรต่อน้ำ ๒๐ ลิตร พ่นทุก ๗-๑๐ วัน
3. กำจัดวัชพืชรอบโคนต้นเพื่อลดความชื้นสะสม
4. ไม่ควรใส่ปุ๋ยที่มีค่าไนโตรเจนมากเกินไป เพราะจะทำให้พืชอ่อนแอต่อการเกิดโรค
5. หลังการเก็บเกี่ยวผลผลิต ควรตัดแต่งกิ่งเพื่อให้ทรงพุ่มโปร่ง โดยเฉพาะกิ่งที่มีใบเป็นโรค และเก็บส่วนที่เป็นโรค นำไปทำลายนอกแปลงปลูก เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งสะสมของโรคในฤดูกาลผลิตต่อไป