การชะลอการสุกของกล้วย และ การยืดการสุกของกล้วย ดีกว่าแช่ตู้เย็น เก็บได้นานหลายอาทิตย์

การยืดการสุกและชะลอการสุกของกล้วย

กล้วยเป็นอีกผลไม้ยอดนิยม ที่หาซื้อง่าย มีขายทั้งในตลาดและซูเปอร์มาร์เก็ตทั่วไป รวมไปถึงตามร้านสะดวกซื้อก็ยังมี เรียกได้ว่ากล้วยนั้นมีกินได้ตลอดทั้งปี และกล้วยยังเป็นผลไม้สารพัดประโยชน์ สามารถเอามาทำอาหารได้แทบทุกส่วน แต่ด้วยอากาศที่ร้อนจัดของบ้านเรา ทำให้หลายๆ บ้านคงเจอปัญหาซื้อกล้วยมาเป็นหวี แต่กินไม่เคยทัน กล้วยสุกงอมก่อนตลอด วันนี้เกษตรตำบล มีวิธีการเก็บกล้วยให้อยู่ได้นานมาฝากกันค่ะ จะมีวิธีและเทคนิคอะไรบ้างนั้น ไปดูกันเลยค่ะ

กล้วยน้ำว้า
กล้วยน้ำว้า กล้วยที่อุดมไปด้วยคุณประโยชน์มากมาย

วิธียืดอายุกล้วยให้สุกช้าโดยไม่ใส่ตู้เย็น

  1. เก็บกล้วยให้พ้นแสง พยายามอย่าให้กล้วยโดนแดด จะทำให้สุกช้าลง
  2. ตัดกล้วยออกมาจากขั้ว แล้วใช้พลาสติกแรป หรือถุงพลาสติกห้อคลุมขั้วกล้วยให้มิด เพื่อไม่ให้อากาศเข้า
  3.  ใช้มีดปาดบางๆ ที่ขั้วกลวยทุกวัน จะทำให้กล้วยสุกช้าลง
  4. ต้มน้ำให้เดือด แล้วนำไปเทใส่กาละมังผสมกับน้ำธรรมดาจนได้น้ำอุ่น (อุณหภูมิประมาณ 50 องศาเซลเซียส) แล้วนำกล้วยทั้งหวีไปแช่ในน้ำอุ่น เป็นเวลา 10 นาที แล้วนำกล้วยมาแขวนให้แห้ง จะสามารถยืดอายุกล้วยได้ 8-10 วัน
การห่อขั้วกล้วย
การห่อขั้วกล้วย การนำพลาสติกมาห่อขั้วกล้วยเอาไว้

วิธีเก็บกล้วยสุกในตู้เย็น

  1. วิธีเก็บกล้วยแก่จัดเปลือกสีเขียว ให้ตัดกล้วยออกเป็นส่วนๆ ประมาณ 3-4 ลูก แล้วแต่ขนาดหวี โดยตัดให้ติดขั้วด้วย แล้วนำหนังสือพิมพ์มาห่อกล้วยแต่ละส่วนให้มิด จากนั้นนำกล้วยไปใส่ถุงพลาสติกอีกชั้น แล้วนำไปเก็บในตู้เย็น นำออกจากตู้เย็น 2-3 วันก่อนทาน กล้วยจะค่อยๆ กลับมาสุกเอง
  2. ตัดกล้วยออกจากหวีแยกทีละลูก อย่าให้ติดขั้ว แล้วห่อกล้วยทั้งลูกด้วยพลาสติกแรป แล้วนำกล้วยไปแช่ตู้เย็น
  3. ตัดกล้วยออกจากหวีแยกทีละลูก อย่าให้ติดขั้ว แล้วนำกล้วยใส้ถุงพลาสติก ปิดฝาถุงให้มิดอย่าให้อากาศเข้าได้ แล้วนำกล้วยไปแช่ตู้เย็น
  4. นำกระดาษหนังสือพิมพ์ หรือกระดาษ A4 มาห่อกล้วยก่อน 1 ชั้น แล้วนำกล้วยไปใส่ถุงพลาสติกแช่ตู้เย็น ในช่องผัก จะสามารถเก็บรักษากล้วยให้สดใหม่ได้นานเป็นเดือน
กล้วยสุก
กล้วยสุก ผลสีเหลืองทอง

การชะลอการสุกของกล้วยด้วยการแช่น้ำ

จากการศึกษา วิธีการเก็บรักษาที่สามารถชะลอการสุกของกล้วยได้นานที่สุด โดยแบ่งกล้วยเป็น 2 ชุด คือ ชุดที่ 1 วางกล้วยไว้ในอุณหภูมิห้อง ชุดที่ 2 แช่ไว้ใต้น้ำ  โดยวางเปรียบเทียบไว้ด้วยกัน ผลการทดลองพบว่า ชุดที่ 2 สามรถชะลอกการสุกได้นานที่สุด โดยสามารถชะลอกการสุกได้นาน 18 วัน 

วันนี้เกษตรตำบลได้จึงได้ทำการแบ่งกล้วยน้ำว้าออกเป็น 2 ชุด เพื่อดูการสุกของกล้วยในแต่ละวันกันค่ะ

ขั้นตอนการทำ

  1. เตรียมกล้วยน้ำว้าดิบจำนวน 1 หวี ที่ตัดมาจากเครือ
    กล้วยน้ำว้าดิบ
    กล้วยน้ำว้าดิบ เปลือกผลสีเขียว
  2. นำกล้วยน้ำว้าดิบมาตัดแบ่งครึ่งให้ได้ 2 ส่วน
    กล้วยน้ำว้าแบ่งครึ่ง
    นำกล้วยน้ำว้าแบ่งครึ่ง
  3. นำกล้วยส่วนที่ 1 วางไว้ในอุณหภูมิปกติ  และนำกล้วยส่วนที่ 2 แช่น้ำเปล่าไว้ในกะละมัง 
กล้วยวันที่ 1
กล้วยวันที่ 1 ส่วนแรกวางไว้ปกติ อีกส่วนทำการแช่น้ำเปล่า

 

กล้วยวันที่ 2
กล้วยวันที่ 2 สีของเปลือกกล้วยด้านนอกเริ่มเปลี่ยน

 

กล้วยวันที่ 3
กล้วยวันที่ 3 กล้วยที่วางด้านนอกสีผิวของเปลือกเริ่มเปลี่ยนเป็นสีเขียวอ่อน

 

กล้วยวันที่ 4
กล้วยวันที่ 4 กล้วยที่วางด้านนอกและที่อยู่ในน้ำ เปลือกมีสีเขียวอ่อนลง

 

กล้วยวันที่ 5
กล้วยวันที่ 5 สีของเปลือกกล้วยทั้งสองมีสีที่อ่อนลง

 

กล้วยวันที่ 6
กล้วยวันที่ 6 กล้วยที่ไม่ได้แช่น้ำเป็นสีเขียวอ่อนลง

 

กล้วยวันที่ 7
กล้วยวันที่ 7 กล้วยที่ไม่ได้แช่น้ำ เริ่มสุก สีเปลือกเปลี่ยนเป็นสีเหลือง

 

กล้วยวันที่ 8
กล้วยวันที่ 8 กล้วยที่อยู่ด้านนอกเริ่มทยอยสุกเปลือกเป็นสีเหลือง

 

กล้วยวันที่ 9
กล้วยวันที่ 9 กล้วยที่อยู่ด้านนอกเริ่มสุก เปลือกเปลี่ยนเป็นสีเหลืองเกือบทั้งหมด

 

กล้วยวันที่ 10
กล้วยวันที่ 10 กล้วยที่อยู่ด้านนอก เปลือกเป็นสีเหลืองและสุกทั่วทั้งหมด

 

กล้วยวันที่ 11
กล้วยวันที่ 11 กล้วยที่อยู่ด้านนอกสุกมากขึ้นเปลือกเริ่มดำ กล้วยที่อยู่ในน้ำเปลือกเริ่มมีจุดสีเหลือง

 

กล้วยวันที่ 12
กล้วยวันที่ 12 กล้วยที่อยู่ด้านนอกเปลือกเริ่มดำมากขึ้น กล้วยที่อยู่ในน้ำเปลือกเริ่มเปลี่ยนสี

 

เค้กกล้วยน้ำว้า
เค้กกล้วยน้ำว้า ทำจากกล้วยที่สุกแล้ว (จากวันที่ 12)

 

กล้วยวันที่ 15
กล้วยวันที่ 15 กล้วยที่อยู่ในน้ำเริ่มสุก เปลือกเปลี่ยนเป็นสีเหลือง

 

กล้วยวันที่ 18
กล้วยวันที่ 18 กล้วยเริ่มสุกมากขี้น เปลือกกล้วยเปลี่ยนเป็นสีเหลืองเกือบทั่วลูก
กล้วยวันที่ 20
กล้วยวันที่ 20 กล้วยสุกมากขึ้น เปลือกกล้วยเริ่มมีจุดสีดำ
ผลกล้วยที่แช่น้ำ
ผลกล้วยที่แช่น้ำไว้เมื่อเด็ดจากปวีกล้วยออกมา ตรงขั้วจะมีความสดอยู่
กล้วยเมื่อปอกเปลือก
ผลกล้วยเมื่อปอกเปลือก เปลือกของกล้วยมีความร่วนคล้ายกล้วยหอม
เนื้อกล้วยด้านใน
เนื้อกล้วยด้านในมีสีขาว เนื้อและกลิ่นคล้ายกล้วยหอม

สามารถติดตามความรู้เเกี่ยวกับเรื่องกล้วย การปลูกกล้วย พันธุ์กล้วย เพิ่มเติมได้ที่ เกษตรตำบล.คอม

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : www.chemtrack.org, www.food.trueid.net
ภาพประกอบ : www.flickr.com

3 Comments

Add a Comment