ปุ๋ยเคมี คืออะไร

หมวดนี้สำหรับ ถามตอบปัญหาต่างๆ ของการทำเกษตร ศัตรูพืช สอบถามวิธีแก้ปัญหาจากเพื่อนๆ
BabyPink
โพสต์: 93
ลงทะเบียนเมื่อ: จันทร์ 28 ม.ค. 2013 11:51 am

ปุ๋ยเคมี คืออะไร

ข้อมูล โดย BabyPink »

ปุ๋ยเคมี คือ อะไร?
แม่ปุ๋ย2.jpg
แม่ปุ๋ย2.jpg (63.17 KiB) Viewed 2100 times
เชื่อว่าเกษตรกรทุกคนต้องรู้จักและเคยใช้ “ ปุ๋ย ” แต่ส่วนมากจะรู้จักปุ๋ยในรูปของ ปุ๋ยอินทรีย์ เช่น ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก ปุ๋ยพืชสด ปุ๋ยนํ้าหมักชีวภาพ และที่รู้จักกันดีและใช้กันอย่างแพร่หลายก็คือ ปุ๋ยเคมี และส่วนใหญ่ก็จะรู้จักแร่ธาตุหรือสารอาหารหลักที่อยู่ในปุ๋ย ก็คือ N (เอ็น) P (พี) K (เค) (ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โปแตสเซียม) และก็จะจดจำคำแนะนำของผู้จำหน่ายปุ๋ยและเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรในหลักการเบื้องต้นของการเลือกใช้ปุ๋ย ว่า N คือใบ หมายความว่า ถ้าต้องการให้พืชเจริญเติบโตทางใบ มีใบเขียวชอุ่ม ต้องใช้ปุ๋ยที่มี N สูง P คือผล ถ้าต้องการให้พืชมีผลดก หรือมีขนาดใหญ่ ต้องใช้ปุ๋ยที่มี P สูง K คือ หัว ถ้าต้องการให้พืชมีรากแข็งแรงหรือมีหัวใหญ่ต้องใช้ปุ๋ยที่มี K สูง แต่จะมีเกษตรกรหรือแม้แต่เจ้าหน้าที่สักกี่คนที่รู้ว่าทำไมเราจึงเรียกว่า “ ปุ๋ยเคมี หรือ ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ “ ธาตุอาหาร N P K ที่มีอยู่ในปุ๋ยเคมีนั้นมีที่มาจากอะไร และเพราะอะไรปุ๋ยเคมียิ่งใช้มากดินยิ่งเสีย ผลผลิตที่ได้ก็ไม่เพิ่มขึ้นตามปริมาณธาตุอาหารที่เราใส่เพิ่มขึ้น เกษตรกรส่วนใหญ่เสียเงินซื้อปุ๋ยชนิดต่างๆมาใช้เพราะแรงโฆษณา ลด แลก แจก แถมของผู้จำหน่าย ซึ่งบางรายก็มีปุ๋ยสูตรพิสดารใส่นั่นเติมนี่เพิ่มเข้าไปในปุ๋ย รวมทั้งการสร้างนิยายหรือนิทานประกอบสินค้ามากมาย ตัวอย่างเช่น ส้มโอพันธุ์หนำร่อย ของเวียดนาม ที่ เล่ากันว่าเป็นส้มโอที่มีรสชาติอร่อยจนพ่อต้องห้ามลูกของตนเองว่าไม่ให้เก็บกิน แต่ด้วยความที่มีรสชาติอร่อยจนอดใจไม่ไหว ลูกจึงได้ขโมยเก็บกิน พ่อโกรธมากจึงลงโทษด้วยการเฆี่ยนตีลูกตนเองถึง 5 ที จึงเป็นที่มาของคำว่า “หนำร่อย” ซึ่งแปลว่า ตี 5 ที่ นี่คือตัวอย่างของนิยายหรือนิทานประกอบสินค้า ที่จะช่วยบรรยายถึงความอร่อยของส้มโอพันธุ์หนำร่อยได้ดีกว่าการอธิบายความอร่อยของส้มโอด้วยการชักแม่นํ้าทั้งห้า ซึ่งเป็นการสร้างภาพให้เกษตรกรเห็นว่าปุ๋ยของตนเอง มีคุณภาพดี น่าเชื่อถือ และเพื่อยกระดับราคาสินค้าให้สูงขึ้นโดยที่เกษตรกรไม่ทราบเลยว่าปุ๋ยที่ตนเองซื้อนั้นไม่คุ้มค่ากับคุณภาพที่ได้รับแม้แต่น้อย เกษตรกรจึงถูกหลอกซํ้าซากเพราะหลงเชื่อการโฆษณา ลด แลก แจก แถมและนิทานประกอบสินค้ามาโดยตลอด สารบางชนิดที่ใส่ผสมเข้าไปในปุ๋ย ซึ่งอาจจะมีประโยชน์ในการช่วยเสริมประสิทธิภาพการทำงานของปุ๋ย แต่ราคาที่จำหน่ายอาจจะไม่คุ้มค่ากับประโยชน์ที่เกษตรกรจะได้รับ ซึ่งการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกหรือมูลสัตว์ช่วยให้เกษตรกรประหยัดค่าใช้จ่ายและเป็นประโยชน์ต่อพืชดีเสียกว่าปุ๋ยสูตรพิสดารที่มีขายในท้องตลาดเสียอีก

คำว่า ปุ๋ยเคมี (Chemical fertilizers)
คือ ปุ๋ยที่ได้จากสารอนินทรีย์ หรืออินทรีย์สังเคราะห์ ซึ่ง มีธาตุอาหารหลัก N P K โดยมีขบวนการตั้งต้นมาจากก๊าซแอมโมเนีย (NH3) ซึ่งได้มาจากอุตสาหกรรมการกลั่นนํ้ามันปิโตรเลียมทั้งสิ้น และเมื่อนำมาปฏิกิริยากับ กรดต่างๆ โดยผ่านขบวนการทางเคมี ก็จะได้ธาตุ N P K ออกมาเป็นแม่ปุ๋ยสูตรต่างๆ ซึ่งแล้วแต่ว่าจะใช้ กรด ชนิดใดในการทำปฏิกิริยา เช่น เอาก๊าซแอมโมเนียทำปฏิกิริยากับก๊าซคาร์บอนด์ไดอ๊อกไซด์ (CO2 ) ก็จะได้ออกมาเป็นปุ๋ยยูเรีย (CO(NH2)2 46-0-0 เอาก๊าซออกซิเจน (O2 ) ทำปฏิกิริยากับกรดไนตริค หรือกรดดินปะสิว (NHO3) ทำปฏิกิริยากับนํ้า (H2O) แล้วทำปฏิกิริยากับก๊าซแอมโมเนีย ก็จะได้ออกมาเป็นปุ๋ยอลูมิเนียมไนเตรท (NH4NO3) 35-0-0 เอากรดซัลฟูริค (H2SO4 ) หรือกรดกำมะถันทำปฏิกิริยากับก๊าซแอมโมเนีย ก็จะได้ออกมาเป็น ปุ๋ยอลูมิเนียมซัลเฟต (NH4)2SO4) 21-0-0 เอากรดฟอสฟอริค (H3PO4) ทำปฏิกิริยากับก๊าซแอมโมเนีย ก็จะได้ออกมาเป็น ปุ๋ยโมโนแอมโมเนียมซัลเฟต (NH4H2PO4) 11-52-0 หรือ ปุ๋ยไดแอมโมเนียมซัลเฟต ((NH4)2HPO4) 18-46-0 เอากรดไฮโดรคลอริค (HCL) หรือกรดเกลือ ทำปฏิกิริยากับก๊าซแอมโมเนีย ก็จะได้ออกมาเป็น ปุ๋ยอลูมิเนียมคลอไรด์ (NH4CL) 25-0-0 และถ้าเอาร็อคฟอสเฟต (Ca10F2(PO4) ) ทำปฏิกิริยากรดไนตริค (HNO3)หรือกรดดินปะสิว และโปแตสเซียมคลอไรด์ (KCL) แล้วทำปฏิกิริยากับก๊าซแอมโมเนีย ก็จะได้ออกมาเป็นปุ๋ยสมบูรณ์ ที่มีธาตุอาหาร N P K ครบถ้วน ซึ่งการที่จะปรุงแต่งให้มีธาตุอาหารหลัก N P K เป็นสูตรต่างๆ ให้เหมาะสมกับความต้องการของพืชและชนิดของดินนั้นก็ขึ้นอยู่กับการนำมาทำปฏิกิริยาปรุงแต่งให้เป็นสูตรต่างๆ ได้ตามต้องการจากแม่ปุ๋ยที่ได้มาจากการทำปฏิกิริยาทางเคมี จึงเรียกปุ๋ยชนิดนี้ว่า “ ปุ๋ยเคมี หรือ ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ ” นั่นเอง
จึงไม่ใช่เรื่องแปลกอะไรเมื่อเกษตรกรใช้ปุ๋ยเคมีเพียงอย่างเดียวเป็นระยะเวลามานานติดต่อกันจึงทำให้ดินมีสภาพเป็นกรดรุนแรง ดินแข็งและแน่นเป็นดินดาน ทำให้จุลินทรีย์ดั้งเดิมที่มีอยู่ในดินไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ ซึ่งปุ๋ยเคมีนั้นจำเป็นต้องใช้พฤติกรรมของจุลินทรีย์ในดินที่มีอยู่นั้นมาย่อยสลายธาตุอาหารจากปุ๋ยเคมีที่ใส่ในดินให้อยู่ในรูปที่พืชจะนำไปใช้งานได้ ในระยะหลังจึงได้มีการส่งเสริมให้ทำนํ้าหมักชีวภาพโดยใช้กากนํ้าตาลเป็นตัวหลัก ซึ่งที่จริงแล้วก็คือเป็นการเติมจุลินทรีย์ลงในดินเท่านั้นเอง ซึ่งนํ้าหมักชีวภาพก็ไม่ใช่ปุ๋ยแต่เป็นการช่วยให้ดินมีเชื้อจุลินทรีย์ หรือเพิ่มปริมาณจุลินทรีย์ในดินให้มากขึ้นเพื่อที่จะทำให้ปุ๋ยหรือธาตุอาหารพืชที่ตกค้างในดินกลับมาเป็นประโยชน์ต่อพืชอีกครั้งหนึ่ง จะสังเกตุได้จากการใช้ปุ๋ยเคมีต้องใช้มากขึ้นทุกปีและสูตรที่ใช้ก็มีความเข้มข้นสูงขึ้นเรื่อยๆ สู้เราหาปุ๋ยที่มีค่าความเป็นกรดด่าง (pH) ค่อนข้างเป็นกลาง (6.5 - 7) ที่อยู่ในรูปที่ไม่ทำลายดินและทำให้จุลินทรีย์ดั้งเดิมฟื้นคืนชีพขึ้นมา และเพิ่มจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆไม่ดีกว่าหรือ นี่คือที่มาของคำว่า “ปุ๋ยในรูปโปรตีน” เช่นเดียวกับการเอาซากสัตว์ซากพืชไปใส่ให้แก่พืช ดังนั้นการใช้ปุ๋ยเคมีเพียงอย่างเดียวจึงไม่เป็นผลดีต่อพืชและดิน ทางออกที่ดีที่สุดที่เป็นที่ยอมรับของประเทศที่พัฒนาแล้ว และองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (Food and Agriculture Organization: FAO) ให้การรับรอง คือ การใช้ ปุ๋ยอินทรีย์เคมี ทำไมต้องเป็นปุ๋ยอินทรีย์เคมี? ที่เป็นเช่นนี้เพราะปุ๋ยอินทรีย์เพียงอย่างเดียวจะมีธาตุอาหารหลักคือ N P K ในปริมาณที่ไม่เพียงพอ แต่มีอินทรียวัตถุที่ช่วยในการเสริมสร้างปริมาณจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในดิน มีธาตุอาหารรองและธาตุอาหารเสริมที่พืชต้องการค่อนข้างครบถ้วน ในขณะที่ปุ๋ยเคมีมีธาตุอาหารหลักคือ N P K ในปริมาณมาก แต่ไม่มีอินทรียวัตถุที่ช่วยในการเสริมสร้างปริมาณจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในดิน และไม่มีธาตุอาหารรองและธาตุอาหารเสริมที่พืชต้องการ(ต้องใส่เพิ่มเติม) ซึ่งโดยธรรมชาติไนโตรเจนสามารถจะเคลื่อนที่เข้าหารากพืชได้เองโดยผ่านขบวนการของจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ ที่จะย่อยสลายเปลี่ยนแปลงไนโตรเจนซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของยูเรีย แอมโมเนีย หรือ แอมโมเนียมซัลเฟต ให้เป็นไนไตรท์ (NO2) ก่อน แล้วจึงมีจุลินทรีย์อีกพวกหนึ่งย่อยสลายเปลี่ยนแปลงไนไตรท์ให้เป็นไนเตรท (NO3) ที่พืชสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการสร้างโปรตีนที่อยู่ในรูปของกรดอะมิโนชนิดต่างๆ เพื่อการเจริญเติบโตได้ ดังนั้น เราจะเห็นว่าการใช้ปุ๋ยพวกไนโตรเจนจะเห็นผลตอบสนองของพืชได้เร็วกว่าปุ๋ยอื่นๆ ซึ่งปกติพืชจะกินไนโตรเจนได้ในรูปของไนเตรท และแอมโมเนียม(ที่อยู่ในรูปของนํ้า) เท่านั้น เราจะสังเกตเห็นว่าไนเตรทเป็นเหมือนอาหารสำเร็จรูปสำหรับพืชได้อย่างชัดเจนก็คือ เมื่อรดนํ้าผัก หรือพืชที่เราปลูกด้วยนํ้าธรรมดาต้นผักหรือพืชนั้นจะดูไม่ค่อยงามหรือสดชื่น แต่ถ้าหากได้รับนํ้าฝนหลังจากนั้นจะเห็นว่าพืชสดชื่นเขียวขึ้นทันที และแตกใบอ่อน ที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะพืชได้รับไนเตรทจากนํ้าฝน โดยไนเตรทนี้เกิดขึ้นมาจากกรดไนตริค หรือกรดดินประสิว (HNO3) เจือจาง ซึ่งการเกิดกรดไนตริคในนํ้าฝนนั้นเกิดโดยไนโตรเจนซึ่งเป็นองค์ประกอบส่วนใหญ่ของอากาศที่ห่อหุ้มโลกของเราประมาณร้อยละ 78.9 โดยปริมาตร ไนโตรเจนมีการหมุนเวียนอย่างต่อเนื่องระหว่างอากาศกับสิ่งมีชีวิต ปรากฏการณ์นี้เรียกว่า “วัฏจักรไนโตรเจน” โดยโมเลกุลของไนโตรเจนในอากาศแตกออกเพราะประกายไฟจากฟ้าแลบฟ้าผ่า อะตอมอิสระที่เกิดขึ้นจะสร้างพันธะกับออกซิเจนเกิดเป็นก๊าซไนโตรเจนออกไซด์และก๊าซพวกนี้ทำปฏิกิริยากับนํ้ากลายเป็นกรดไนตริคในนํ้าฝน แล้วเกิดเกลือของไนโตรเจนเรียกว่า “ไนเตรท” ในดิน หน่วยงานอุตุนิยมวิทยาแห่งสหรัฐอเมริกาได้ศึกษาและประมาณไว้ว่าในระยะเวลา 1 ปี ฟ้าแลบทำให้ไนโตรเจนตกลงมายังพื้นดิน 2 กิโลกรัมต่อพื้นที่ 1 ไร่ เมื่อคิดทั้งโลกจะมีไนโตรเจนตกลงมายังโลกถึง 770 ล้านตันต่อปี ช่วยให้เกษตรกรประหยัดเงินในการซื้อปุ๋ยได้มหาศาลทีเดียว
ที่มาปุ๋ย.jpg
ที่มาปุ๋ย.jpg (44.14 KiB) Viewed 2100 times
ปัจจุบันประเทศไทยยังไม่มีโรงงานผลิตแม่ปุ๋ย เพราะต้นทุนการผลิตสูง จึงนำเข้าแม่ปุ๋ยมาจากต่างประเทศ เช่น ยูเรีย แอมโมเนียเหลว หินฟอสเฟตและโพแทสเซียมคลอไรด์ เป็นต้น เมื่อโรงงานปุ๋ยในประเทศได้แม่ปุ๋ยมาแล้ว จึงผลิตปุ๋ยโดยนำแม่ปุ๋ยมาผสมปั้นเป็นเม็ด โดยมีแม่ปุ๋ยตั้งแต่หนึ่งตัวขึ้นไปตามสูตรที่ต้องการเช่น ปุ๋ยสูตร15–15–15 หมายความว่า จะนำแม่ปุ๋ยมาคำนวณให้ในเนื้อปุ๋ย 100 กิโลกรัมมี ไนโตรเจน(N)อยู่ 15 กิโลกรัม ฟอสฟอรัส(P)อยู่ 15 กิโลกรัม และมีโปแตสเซียม(K)อยู่ 15 กิโลกรัม รวมเป็น 45 กิโลกรัม และอีก 55 กิโลกรัมที่เหลือจะเป็นสารเติมแต่ง (Filler) หรือฟิลเลอร์ เพื่อให้ได้ปริมาณครบจำนวน 100 กิโลกรัม ซึ่งฟิลเลอร์ที่เติมเข้าไปก็คือ ดินขาว(white clay) นั่นเอง ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่าปุ๋ยเคมีที่เกษตรกรซื้อ จะเป็นดินขาวอย่างน้อยครึ่งหนึ่ง ดินขาวจะมีส่วนช่วยในการปั้นเม็ดให้กลมสวย ทำให้เม็ดปุ๋ยมีความแข็งไม่แตกร่วนในขณะเก็บไว้นานๆ รวมถึงช่วยเหนี่ยวรั้งไนโตรเจน (N) ซึ่งเป็นธาตุอาหารหลักตัวหนึ่งในเนื้อปุ๋ย ไม่ให้สลายตัวไปกับอากาศเร็วเกินไป แต่ดินขาวเองไม่ได้เป็นประโยชน์ต่อพืชแต่กลับเป็นข้อเสีย เพราะดินขาวจะแทรกตัวไปอัดแน่นอยู่ในช่องว่างของดิน และยึดเกาะเม็ดดินให้จับตัวกันแน่นขึ้น พร้อมกับขับไล่อากาศที่มีอยู่ในดินออกไป ดังนั้นดินที่มีการใช้ปุ๋ยเคมีติดต่อกันมาโดยตลอด จะมีสภาพเป็นกรดและแข็งกระด้าง และนี่ก็คือผลเสียของการใช้ปุ๋ยเคมีเพียงอย่างเดียว หรืออาจจะเรียกว่าเป็นการใช้ปุ๋ยเคมีอย่างไม่ถูกต้อง โดยทั่วไปปุ๋ยที่เกษตรกรใช้ส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปของปุ๋ยเคมีเกือบร้อยเปอร์เซ็นต์ โดยเฉพาะ ไนโตรเจน (N) และ ฟอสฟอรัส (P) ซึ่งจะมีอยู่สองรูปแบบด้วยกัน ขึ้นกับว่าจะอยู่ในรูปอะไร ตัวอย่างเช่น ไนโตรเจน ที่มาจากหนังสัตว์ หรือเส้นขน หรือจากผลพลอยได้จากขบวนการอุตสาหกรรมผลิตอาหาร พวกนี้จัดเป็นโปรตีนไนโตรเจนแท้ (protein nitrogen) และไนโตรเจนที่ได้มาจากขบวนการทางเคมีซึ่งจัดเป็นกลุ่มโปรตีนไนโตรเจนเทียม หรือโปรตีนสังเคราะห์ (non-protein nitrogen) ส่วนฟอสฟอรัส ถ้าเป็นในรูปของเคมีก็จะได้มาจากหินร็อคฟอสเฟตที่นำมาทำปฏิกิริยากับกรดซัลฟูริค เราก็จะได้กรดฟอสฟอริค และที่ได้มาจากขบวนการอุตสาหกรรมอาหาร เช่นกระดูกสัตว์ และหนังสัตว์ ซึ่งรูปแบบทั้งสองจะไม่เหมือนกัน ส่วนโปแตสเซียมถ้าเป็นเคมีก็จะอยู่ในรูปของเกลือแร่ชนิดหนึ่งที่อยู่ในดินก็คือเกลือโปแตสเซียม ถ้าต้องการในปริมาณมากก็จะต้องใช้เกลือโปแตสเซียมผสมในปุ๋ย แต่ถ้าต้องการในปริมาณที่ไม่มากก็สามารถที่จะใช้ขี้เถ้าจากกะลาปาล์ม ขี้เถ้าจากส่าเหล้า โดยเฉพาะกากนํ้าตาลโมลาส (molasses)ซึ่งจะมีปริมาณโปแตสเซียมค่อนข้างสูง

พืชต้องการไนเตรท ดังนั้นการใส่ปุ๋ยจึงเป็นการเพิ่มปริมาณไนเตรทในดิน แบคทีเรียที่อยู่ในดินและรากพืชบางชนิดช่วยเติมไนเตรท พืชดูดซึมไนเตรทและใช้ในการสร้างโปรตีน ดังนั้นเราจึงควรใช้ปุ๋ยที่อยู่ในรูปของโปรตีนจะเป็นการดีที่สุด และเมื่อโมเลกุลของโปรตีนแตกตัวเราจะได้กรดอะมิโน ปุ๋ยโปรตีนในประเทศมีน้อยมากหรือแทบจะไม่มีเลย อาจจะมีพบอยู่บ้างเช่นการใช้ปุ๋ยมูลสัตว์หรือปุ๋ยคอก และปุ๋ยพืชสด ซึ่งโปรตีนไนโตรเจนที่ได้จากพืชและสัตว์จะมีความแตกต่างกัน การใช้ซากสัตว์ที่ตายแล้วทำเป็นปุ๋ย เช่นปุ๋ยปลา หรือการฝังหอยเชอรี่หรือ สัตว์ที่ตายแล้วตามโคนต้นไม้ ซึ่งเราจะสังเกตเห็นว่าเมื่อเราฝังสัตว์ที่ตายไว้โคนต้นไม้ ต้นไม้ต้นนั้นจะงามมาก ใบเขียว หนาเป็นมัน แตกต่างจากการใส่ปุ๋ยเคมีซึ่งแม้จะมี N P K สูงกว่าแต่ก็ไม่งามเท่าซากสัตว์ เนื่องจากไนโตรเจนที่ได้จากซากสัตว์เป็นโปรตีนไนโตรเจนซึ่งเมื่อแตกตัวจะให้กรดอะมิโนที่เป็นประโยชน์ต่อพืชถึง 22 ชนิด ซึ่งแต่ละชนิดมีประโยชน์ต่อพืชแตกต่างกันไป เช่น โปรลีน (Proline) ก่อให้เกิดการแตกตา ช่วยการผสมเกสรให้สมบูรณ์ เพิ่มขนาดผล เพิ่มรสหวานและกระตุ้นให้รสชาติดีขึ้น และ ไลซีน (Lysine) ที่ช่วยเพิ่มสีสันของผลไม้เป็นต้น แต่ไนโตรเจนที่ได้จากปุ๋ยเคมีจะเป็นกลุ่มที่เป็นโปรตีนเทียม หรือโปรตีนสังเคราะห์ซึ่งในขบวนการที่พืชจะนำไปใช้ประโยชน์ได้จะต้องผ่านการทำงานของจุลินทรีย์ในดิน โปรตีนเทียมจากเคมีนี้จะมีลักษณะคล้ายคลึงกับโปรตีนที่ได้จากพืชหรือสัตว์ แต่จะมีโครงสร้างที่ซับซ้อนกว่า ตัวอย่างเช่น เมลามีนโปรตีน (melamine protein) ซึ่งมีโปรตีนสูงถึง ร้อยละ 66 ผู้ผลิตนมผงสำหรับเด็กในประเทศจีนนำมาผสมในนมเพื่อแสดงให้เห็นว่าเป็นนมผงที่มีคุณภาพดี มีโปรตีนสูง ผลก็คือมีเด็กทารกตายไปเพราะดื่มนมที่ผสมเมลามีนโปรตีน อีกประการหนึ่งที่เกษตรกรสามารถทดสอบความแตกต่าง

ระหว่างการใช้ปุ๋ยเคมีที่เป็นโปรตีนไนโตรเจนเทียม กับปุ๋ยอินทรีย์เคมีโปรตีน ในนาข้าว โดยการตัดใบข้าวในแปลงที่ใส่ปุ๋ยไนโตรเจนแล้วมาแตะที่ปลายลิ้นจะพบว่ามีรสหวาน แต่ในแปลงที่ใส่ปุ๋ยอินทรีย์เคมีโปรตีน หรือแปลงที่ไม่ได้ใส่ปุ๋ยอะไรเลยจะมีรสออกขม ซึ่งตามธรรมชาติใบข้าวจะไม่มีรสหวาน นั่นคือสาเหตุที่ว่าทำไมเมื่อมีเพลี้ยกระโดดสีนํ้าตาลระบาดจึงแนะนำให้หยุดปุ๋ยใส่ไนโตรเจน เพราะว่าปุ๋ยไนโตรเจนจะทำให้ต้นข้าวอวบอ่อนและมีรสหวาน จึงทำให้เพลี้ยกระโดดสีนํ้าตาลชอบและเจาะดูดกินนํ้าเลี้ยงจากต้นข้าวได้ง่าย และต้นข้าวจะมีโปรตีนสูงจึงทำให้เพลี้ยกระโดดสีนํ้าตาลสามารถขยายพันธุ์เพิ่มจำนวนประชากรอย่างรวดเร็วและทำความเสียหายให้แก่ข้าวที่ปลูกอย่างรุนแรง ดังนั้นเกษตรกรจึงไม่จำเป็นที่จะต้องใช้ปุ๋ยเคมีสูตรสูงและมีราคาแพง หากเกษตรกรรู้จักการปรับปรุงบำรุงดินอย่างง่ายๆ ด้วยการใส่อินทรียวัตถุเพื่อเพิ่มปริมาณจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ลงไปในดินอย่างสํ่าเสมอ เพราะสิ่งที่เป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดที่เกษตรต้องทราบคือปุ๋ยเคมีจะทำงานลดลงหรือไม่ทำงานเลย หากดินนั้นปราศจากจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ หรือเกษตรกรอาจปรับเปลี่ยนมาใช่ปุ๋ยอินทรีย์เคมีแทน ซึ่งแม้ว่าจะมีธาตุอาหารหลักในปริมาณที่น้อยกว่า แต่การกินธาตุอาหารของต้นพืชจะดีกว่า เพราะจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ไม่ถูกทำลาย ดินไม่เสื่อมไม่เป็นกรด เนื่องจากไม่ได้ใช้นํ้ากรดในการผลิต

ข้อมูลจากกรมส่งเสริมการเกษตร
ศักดา ศรีนิเวศน์
[email protected] โทร. +6681 899 0710

ย้อนกลับไปยัง “ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตร”