การเตรียมดินสำหรับปลูกพืชสมุนไพร
ดินปลูกพืชสมุนไพรเป็นปัจจัยสำคัญอันหนึ่ง ที่จะทำให้พืชสมุนไพรเจริญเติบโต ให้ได้ส่วนต่าง ๆ ของพืชสมุนไพรมีคุณภาพและสรรพคุณทางยา และมีราคาดี ปัจจุบันดินที่มีคุณสมบัติเหมาะสมในการปลูกพืชนั้นหาได้ยาก การจะให้พืชเจริญเติบโตได้ดีจำเป็นต้องปรับปรุงดินที่มีอยู่หรือหาได้ ให้มีคุณสมบัติตามที่พืชต้องการ
คุณสมบัติที่ดีของวัสดุปลูก
โปร่ง
เก็บน้ำได้ดีพอควร
ไม่เน่าเปื่อยผุพังเร็วจนเกินไป
มีปริมาณเกลือแร่ต่ำ
สะอาดปราศจากเมล็ดวัชพืช โรคและแมลง
ไม่เป็นกรดหรือด่างจัด
หาง่ายราคาถูก
วัสดุที่ใช้ในการปรุงดิน แบ่งออกได้ดังนี้
อินทรีย์วัตถุ (Organic material) เช่น ปุ๋ยคอก ซึ่งได้แก่มูลสัตว์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นมูลของสัตว์ใดก็ตาม ถ้าเป็นมูลเก่าย่อมนำมาใช้ผสมเป็นวัสดุปลูกได้ทั้งสิ้นปัจจุบันปุ๋ยคอกมีราคาแพงหายากขึ้นปุ๋ยคอกจะช่วยปรับปรุงคุณสมบัติทางฟิสิกส์ของดินคือช่วยลดความหนาแน่นเพิ่มความพรุนของดิน และมีผลทางอ้อมในการปลดปล่อยธาตุไนโตรเจน และฟอสฟอรัสให้กับต้นพืช นอกจากปุ๋ยคอกแล้ว ขุยมะพร้าว ซังข้าวโพด ฟางข้าว แกลบ ขี้เถ้าแกลบ เปลือกถั่ว ขี้เลื่อย ขี้กบ เปลือกไม้ ชานอ้อย หรือกากน้ำตาล ฯลฯ ก็สามารถนำมาใช้เป็นวัสดุปรุงดินได้ทั้งสิ้น
อนินทรีย์วัตถุ (Inorganic material) วัสดุปรุงดินที่เป็นอนินทรีย์วัตถุ จะช่วยในเรื่องการระบายน้ำและการถ่ายเทอากาศเป็นส่วนใหญ่ อนินทรีย์ที่ใช้ในการปรุงดินที่ได้จากธรรมชาติคือทราย ทราย ที่ใช้ในการผสมดินปลูกพืชได้แก่
ทรายหยาบ ที่ใช้ในการก่อสร้าง มีขนาดเม็ดหยาบโต เหมาะที่จะช่วยในการระบายน้ำ แต่ไม่ค่อยมีธาตุอาหาร นำมาใช้ในการปักชำพืช และใช้ผสมดินปลูก
ทรายละเอียด หรือทรายขี้เป็ด ลักษณะสีคล้ำ เม็ดละเอียด ทรายชนิดนี้มีตะกอนปนอยู่ด้วย จึงมีธาตุอาหารปนอยู่อาจใช้ปลูกพืชได้โดยปรับปรุงคุณสมบัติให้ดีขึ้นโดยเพิ่มอินทรีย์วัตถุที่หยาบ เช่น ผสมกับเปลือกถั่ว แกลบผุ หรือขี้กบ แต่ถ้าทรายชนิดนี้มีขี้เลนปนอยู่ทำให้การระบายน้ำไม่ดี ไม่เหมาะ กับการปลูกพืช
เครื่องมือที่ใช้ในการเตรียมดิน
จอบ เป็นเครื่องมือที่สำคัญมากในการเตรียมดิน จะใช้จอบในการขุดดินยกแปลงปลูก
พืชสมุนไพร จอบมี 2 ชนิดคือ
1. 1 จอบขุด หน้าจอบจะเว้าลึก ด้านข้างทั้งสองจะเรียวแหลมคม เพื่อให้ขุดลงไปในดินได้มากขึ้น จอบขุดมีลักษณะแข็งแรง มีน้ำหนักและความหนามากกว่าจอบชนิดอื่น ๆ ใช้สำหรับขุดดินที่มีความแข็งและเหนียว เช่น การขุดดินครั้งแรกของการเตรียมดินปลูก เพื่อพลิกหน้าดินหรือยกร่องแปลงปลูกพืช
1. 2 จอบถาก หน้าจอบตัดตรงเสมอกัน มีน้ำหนักเบากว่าจอบขุด ใช้ในการถากหญ้าและผสมดิน นอกจากนั้นยังเหมาะที่จะใช้พรวนดินหรือย่อยดิน ภายหลังจากการขุดให้เป็นก้อนเล็ก ได้ดีอีกด้วย
เสียม เป็นเครื่องมืออีกอย่างที่ใช้ขุด แต่มักจะใช้ขุดดินที่ค่อนข้างลึกหรือขุดหลุมปลูกพืชหรือใช้พรวนดินให้เป็นก้อนเล็ก ๆ ก่อนการปลูกและใช้พรวนดินกำจัดวัชพืชภายหลังการปลูกพืชด้วย
พลั่ว พลั่วมี 2 ชนิดคือ
3.1 พลั่วหน้าแหลม ใช้สำหรับตักดิน ทราย หรือปุ๋ย
3.2 พลั่วหน้าตัดตรง ใช้สำหรับผสมดิน
ช้อนและส้อมพรวน เป็นเครื่องมือขนาดเล็ก ใช้ได้สะดวก ใช้ในการตักดิน ขุดดินปลูก พืชและใช้พรวนดินภายหลังการปลูกพืชเพื่อให้ดินร่วนซุย
ปุ้งกี๋ ใช้ในการขนดิน หรือปุ๋ย
คราด ใช้ในการลากวัชพืชที่ค้างอยู่ตามหน้าดิน และยังใช้ปรับระดับดินให้เรียบอีกด้วย
ขั้นตอนในการเตรียมดิน
ต้องพยายามขุดดินให้ลึกอย่างน้อย 15 เซนติเมตรขึ้นไป ถ้ายิ่งลึกมากเท่าไรก็จะยิ่งทำให้ดินล่างร่วนฟูอุ้มน้ำไว้ได้ดี รากแผ่ขยายไปได้ง่าย
ต้องพยายามกลบและกลับดินผิวบนลงล่างเพราะดินบนมีความอุดมสมบูรณ์มากกว่าดินล่าง
ต้องกำจัดวัชพืชในขณะเตรียมดินไปด้วย
วัสดุต่าง ๆ ที่จะใช้ในการผสมดินต้องเตรียมไว้ให้พร้อมเช่น ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก ใบไม้ผุ
เลือกใช้วัสดุที่จะปรุงดินให้เหมาะกับสภาพดินและความต้องการของพืชที่จะปลูก
หากต้องการปลูกพืชสมุนไพรในกระถางหรือในถุงดำ ดินที่ผสมควรใช้สูตรดังนี้
สูตรที่ 1 ดินร่วน 2 ส่วน
ปุ๋ยคอก 1 ส่วน
เศษใบไม้ผุ 1 ส่วน
สูตรที่ 2 ดินร่วน 1 ส่วน
ทรายหยาบ 1 ส่วน
ปุ๋ยคอก 1 ส่วน
ปุ๋ยหมักหรือเศษใบไม้ผุ 1 ส่วน
นำมาคลุกเคล้าให้เข้ากันเพื่อใช้เตรียมปลูกพืชต่อไป
เครื่องมือที่ใช้ ควรจะตรวจตราให้สมบูรณ์ให้อยู่ในสภาพพร้อมที่จะใช้
เมื่อเตรียมดินแล้วต้องทำความสะอาดเครื่องมือ และเก็บให้อยู่ในสภาพที่เรียบร้อยพร้อมที่จะนำมาใช้ได้อีกต่อไป
ความปลอดภัยในการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์โดยทั่วไป
เพื่อให้เกิดความปลอดภัยและประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน ผู้ใช้ควรยึดหลักดังนี้
ศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับวิธีการใช้เครื่องมือชนิดนั้น ๆ ก่อนใช้จากคู่มือหรือผู้รู้
ใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ให้ถูกต้องและเหมาะสมกับชนิดของงาน เช่น ไม่ควรใช้จอบไปตัด ต้นไม้หรือรากต้นไม้ที่มีขนาดใหญ่ ไม่ควรใช้เสียมไปงัดก้อนหิน หรือสิ่งของที่มีน้ำหนักมาก หรือนำมีดดายหญ้าไปตัดกิ่งไม้เนื้อแข็งที่มีขนาดใหญ่เป็นต้น
ตรวจสภาพเครื่องมือและอุปกรณ์ให้อยู่ในสภาพสมบูรณ์พร้อมใช้ทุกครั้งก่อนนำไปใช้งาน ถ้าหากอุปกรณ์ชำรุด เช่น หลุดหรือหลวมควรซ่อมแซมให้เรียบร้อย ถ้าเป็นเครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่มีคมจะต้องลับให้คม ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัยและประสิทธิภาพของการปฏิบัติงาน
ขณะปฏิบัติงานถ้าพบว่าเครื่องมือหรืออุปกรณ์ชำรุดเสียหาย เช่น หลวม หลุด บิ่น หรือหัก ควรหยุดปฏิบัติงานและซ่อมแซมให้เรียบร้อยก่อนจึงใช้ต่อไป
ไม่ควรใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ หยอกล้อหรือเล่นกันเป็นอันขาด
ไม่ควรใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์ ด้วยความประมาทหรือเลินเล่อ
ขณะหยุดพักปฏิบัติงานควรเก็บหรือวางเครื่องมือหรืออุปกรณ์ให้เป็นที่อย่างมีระเบียบ ไม่ควรวางเกะกะหรือกีดขวางผู้อื่น
ควรแต่งกายให้รัดกุมและเหมาะสมในการปฏิบัติงานและใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์นั้น ๆ เช่นการใช้ จอบขุดดินหรือถากหญ้าควรใส่รองเท้าให้มิดชิด การใช้เครื่องมือพ่นยากำจัดศัตรูพืชจะต้องแต่งกายให้รัดกุม สวมหมวกและหน้ากากป้องกันอันตรายจากละอองยาทุกครั้ง
เมื่อปฏิบัติงานเสร็จควรทำความสะอาดเครื่องมือหรืออุปกรณ์ และตรวจซ่อมแซมให้อยู่ในสภาพสมบูรณ์พร้อมที่จะใช้งานในครั้งต่อไป
เก็บรักษาเครื่องมือหรืออุปกรณ์ให้เป็นระเบียบเรียบร้อยภายหลังการปฏิบัติงาน
สรุป
ในการเตรียมดินเพื่อปลูกพืชสมุนไพร จะต้องพิจารณาให้เหมาะสมกับชนิดของพืชที่ปลูก เนื่องจากพืชแต่ละชนิดมีความต้องการดินในการเจริญเติบโตแตกต่างกัน ซึ่งโดยทั่วไปดินที่มีความเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืช จะต้องเป็นดินที่มีแร่ธาตุอาหารพืชอุดมสมบูรณ์ มีลักษณะร่วนซุย สามารถระบายน้ำและถ่ายเทอากาศได้ดี และจะต้องมีความเป็นกรด-ด่างไม่สูงหรือต่ำจนเกินไป และจะต้องคำนึงถึงสภาพพื้นที่ที่มีอยู่ด้วย นอกจากนี้ จะต้องรู้จักเตรียมเครื่องมืออุปกรณ์ที่ใช้ในการปลูกพืชให้เหมาะสมกับการปฏิบัติงานในแต่ละขั้นตอน ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัยต่อตนเองและผู้อื่น
การเตรียมดินปลูกพืชสมุนไพรทำลูกประคบ ควรเตรียมดินอย่างไรดี
หมวดนี้สำหรับ ถามตอบปัญหาต่างๆ ของการทำเกษตร ศัตรูพืช สอบถามวิธีแก้ปัญหาจากเพื่อนๆ
ย้อนกลับไปยัง “ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตร”
ไปที่
- เกษตร
- ↳ ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตร
- ↳ เกษตรกร Showcase
- ↳ เกษตรกรรายงานตัว - จังหวัด ตำบล
- ↳ เกษตรกรุงเทพ และ ปริมณฑล
- ↳ กรุงเทพฯ
- ↳ นครปฐม
- ↳ นนทบุรี
- ↳ ปทุมธานี
- ↳ สมุทรปราการ
- ↳ สมุทรสาคร
- ↳ เกษตรภาคกลาง
- ↳ กำแพงเพชร
- ↳ ชัยนาท
- ↳ นครสวรรค์
- ↳ เพชรบูรณ์
- ↳ ลพบุรี
- ↳ สมุทรสงคราม
- ↳ สระบุรี
- ↳ สิงห์บุรี
- ↳ สุโขทัย
- ↳ สุพรรณบุรี
- ↳ พระนครศรีอยุธยา
- ↳ อ่างทอง
- ↳ อุทัยธานี
- ↳ เกษตรภาคตะวันออก
- ↳ จันทบุรี
- ↳ ชลบุรี
- ↳ ตราด
- ↳ นครนายก
- ↳ ปราจีนบุรี
- ↳ ระยอง
- ↳ สระแก้ว
- ↳ เกษตรภาคตะวันออกเฉียงเหนือ - ภาคอีสาน
- ↳ ขอนแก่น
- ↳ กาฬสินธุ์
- ↳ นครราชสีมา
- ↳ ชัยภูมิ
- ↳ นครพนม
- ↳ บุรีรัมย์
- ↳ บึงกาฬ
- ↳ มหาสารคาม
- ↳ มุกดาหาร
- ↳ ยโสธร
- ↳ ร้อยเอ็ด
- ↳ เลย
- ↳ ศรีสะเกษ
- ↳ สกลนคร
- ↳ สุรินทร์
- ↳ หนองคาย
- ↳ หนองบัวลำภู
- ↳ อำนาจเจริญ
- ↳ อุดรธานี
- ↳ อุบลราชธานี
- ↳ เกษตรภาคเหนือ
- ↳ เชียงราย
- ↳ เชียงใหม่
- ↳ น่าน
- ↳ พะเยา
- ↳ แม่ฮ่องสอน
- ↳ แพร่
- ↳ ลำพูน
- ↳ อุตรดิตถ์
- ↳ พิจิตร
- ↳ พิษณุโลก
- ↳ ลำปาง
- ↳ เกษตรภาคตะวันตก
- ↳ กาญจนบุรี
- ↳ ฉะเชิงเทรา
- ↳ ตาก
- ↳ ราชบุรี
- ↳ เพชรบุรี
- ↳ ประจวบคีรีขันธ์
- ↳ เกษตรภาคใต้
- ↳ กระบี่
- ↳ ชุมพร
- ↳ ตรัง
- ↳ นครศรีธรรมราช
- ↳ นราธิวาส
- ↳ ปัตตานี
- ↳ พังงา
- ↳ พัทลุง
- ↳ ภูเก็ต
- ↳ ยะลา
- ↳ ระนอง
- ↳ สงขลา
- ↳ สตูล
- ↳ สุราษฎร์ธานี
- ↳ ความรู้วิชาการเกษตร
- ↳ ความรู้สมุนไพร ตำรายาแผนโบราณ
- ↳ วีดีโอ สอนการทำเกษตร
- ↳ ข่าวเกี่ยวกับการเกษตร เทคโนโลยีการเกษตร
- ↳ ประกาศจ้างงาน รับสมัครงาน เกี่ยวกับการเกษตร
- นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร (เกษตรตำบล)
- ↳ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร แนะนำตัว
- ↳ ถาม-ตอบ ปัญหางานส่งเสริมการเกษตร
- ↳ ขอแลกเปลี่ยนโยกย้ายตำแหน่ง
- ซื้อ - ขาย - แจก ราคาพืช
- ↳ ฝากขาย
- ↳ ประกาศซื้อ
- ↳ มีของแจก - แจกพันธุ์ไม้ เมล็ดพันธุ์
- ↳ ราคาสินค้าเกษตจากแหล่งขายต่างๆ
- ↳ สินค้าเกษตร - พิกัดสินค้าประมง