ขนานที่ 1

ท่านให้เอา หัวยาข้าวเย็นทั้ง 2 (หัวยาข้าวเย็นเหนือ 1 หัวยาข้าวเย็นใต้ 1) กำมะถันเหลือง 1 กำแพงเจ็ดชั้น 1 ทองพันชั่ง 1 ชะเอมเทศ 1 ตัวยาทั้ง 6 อย่างนี้ เอาหนักอย่างละ 10 บาทเท่ากัน นำมาใส่หม้อดิน ต้มกับน้ำพอสมควรใช้น้ำยารับประทานครั้งละ 1 ถ้วยชา เวลาหลังอาหาร วันละ 3 เวลา
สรรพคุณ แก้โรคหัวใจโต ชึ่งมีอาการหัวใจเต้นผิดปรกติ ออ่นเพลียเหนื่อยหอบ ให้หายไปได้ผลดีอย่างชะงัดนักแล
ขนานที่ 2

ท่านให้เอา ต้นไมยราบ (เอาทั้งต้นตลอดถึงราก) นำมาล้างให้สะอาด สับเป็นชิ้น ตากแดดให้แห้ง คั่วไฟให้สุกเหลือง ใช้ชงกับน้ำร้อนรับประทานต่างน้ำชา
สรรพคุณ แก้โรคหัวใจสั่นหรือหัวใจเต้นแรงผิดปรกติ ได้ผลดีอย่างชะงัดนักแล
ขนานที่ 3

ท่านให้เอา ต้นและใบบัวบก จำนวนมากพอสมควร นำมาล้างน้ำให้สะอาด ตำให้แหลก คั้นเอาน้ำ ผสมกับน้ำตาลทรายแดงหรือน้ำตาลทรายขาวก็ได้ พอมีรสหวานเล็กน้อย ใช้รับประทานครั้งละ 1 แก้ว วันละ ๓ เวลา ติดต่อกันประมาณ 7-10 วัน
สรรพคุณ แก้โรคหัวใจ ซึ่งมีอาการเจ็บปวดที่หน้าอกข้างซ้าย หายใจขัด เหนื่อยง่ายอ่อนเพลีย มีเหงื่อออกอยู่ตลอดเวลา ได้ผลดีอย่างชะงัดนักแล
ขนานที่ 4

ท่านให้เอา หัวผักกาดขาวสด (หัวไชเท้า) นำมาล้างน้ำให้สะอาด ปอกเปลือกแล้วใช้จิ้มน้ำผึ้งแท้ รับประทานครั้งละ 1 หัว เวลาเช้า เย็น ทุกวัน ประมาณ 15 วัน
สรรพคุณ แก้โรคหัวใจ ได้ผลดีอย่างชะงัดนักแล เมื่อหายโรคแล้ว ให้ใส่บาตรพระ 5 องค์ อุทิศส่วนกุศลให้แก่เจ้าของยาขนานนี้ด้วย
ขนานที่ 6
ท่านให้เอา หัวใจหมู 1 หัวใจ นำมาล้างน้ำให้สะอาด (เฉพาะภายนอก) แขวนผึ่งลมให้แห้ง ใช้มีดกรีดหัวใจหมูนั้น เอา "จูซา" (เป็นผงสีแดงหาซื้อได้ที่ร้านขายยาจีน) หนัก 1 สลึง (ราคาประมาณ 60 บาท) ใส่เข้าไปในหัวใจหมูนั้น แล้วใช้ด้ายเย็บให้สนิทตามเดิม ใส่ภาชนะตุ๋นให้สุก (โดยไม่ต้องใส่น้ำในภาชนะที่ใส่หัวใจหมูนั้น) จะมีน้ำในหัวใจหมูนั้น ไหลออกมา แล้วตัดด้ายที่เย็บหัวใจหมูนั้นออก เขี่ยเอา "ซาจู" ออกมาผสมกับน้ำหัวใจหมูนั้น ใช้รับประทานให้หมด ส่วนเนื้อหัวใจหมูนั้น ใช้รับประทานเป็นอาหารต่อไป ให้ปรุงยานี้รับประทานวันละ 1 ครั้ง ติดต่อกัน 3 วัน แล้วปรุงยานี้รับประทาน วันเว้นวัน ต่อไปอีกประมาณ 3 เดือน
สรรพคุณ แก้โรคหัวใจ ซึ่งมีอาการหัวใจเต้นผิดปรกติ เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย ไม่มีกำลัง มีอาการบวมไปทั่วร่างกาย ให้หายขาดอย่างชะงัดนักแล เคยใช้รักษาได้ผลดีมาแล้ว ถ้าเป็นโรคหัวใจมานาน และมีอาการหนักมาก ให้ใช้ผง "ซาจู" หนัก 2 สลึง
ที่มา : ตำรายาแผนโบราณ
โดยหมอพร (กรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์)