ยาแก้ปวดเมื่อยต่างชนิด ใช้ลูกข่อย ทำยาสมุนไพร

แนะนำโรคและสมุรไพรแก้โรคต่างๆ เป็นข้อมูลที่ได้รวบรวมจากแหล่งข้อมูลต่างๆ ไม่ควรใช้ติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน ทุกอย่างมีดีมีเสีย
1. ใช้ให้ถูกต้น สมุนไพรส่วนใหญ่มีชื่อพ้องหรือซ้ำกันมากแล้ว แต่ละท้องถิ่นก็อาจเรียกชื่อแตกต่างกัน ทั้งๆ ที่เป็นพืชชนิดเดียวกันหรือบางครั้งชื่อเหมือนกันแต่เป็นพืชคนละชนิด เพราะฉะนั้นจะใช้สมุนไพรอะไรก็ต้องใช้ให้ถูกต้นจริงๆ ดังเช่นกรณีของหญ้าปักกิ่งที่ยกตัวอย่างข้างต้นที่นำหญ้าชนิดอื่นมาขายคนที่ไม่รู้จัก
2. ใช้ถูกส่วน พืชสมุนไพรไม่ว่าราก ดอก ใบ เปลือก ผล หรือเมล็ด จะมีฤทธิ์ในการรักษาหรือบำบัดโรคไม่เท่ากัน แม้กระทั่งผลอ่อน หรือผลแก่ก็มีฤทธิ์แตกต่างกัน ดังนั้น การนำมาใช้ก็ต้องมีความรู้จริงๆ
3. ใช้ให้ถูกขนาด ธรรมชาติของยาสมุนไพร คือ หากใช้น้อยไป ก็จะรักษาไม่ได้ผล แต่ถ้าใช้มากไปก็อาจเกิดอันตรายต่อร่างกายได้ เช่นกัน
4. ใช้ให้ถูกวิธี สมุนไพรที่จะนำมาใช้ บางชนิดต้องใช้ต้นสด บางชนิดต้องผสมกับเหล้า บางชนิดใช้ต้มหรือชง ซึ่งหากใช้ไม่ถูกต้องก็ไม่เกิดผลในการรักษา
5.ใช้ให้ถูกโรค เช่น มีอาการท้องผูก ก็ต้องใช้สมุนไพรที่มีฤทธิ์เป็นยาระบาย ถ้าไปใช้สมุนไพรที่มีรสฝาด จะทำให้ท้องยิ่งผูกมากขึ้น
kafill
โพสต์: 458
ลงทะเบียนเมื่อ: อังคาร 09 มี.ค. 2021 9:28 pm

ยาแก้ปวดเมื่อยต่างชนิด ใช้ลูกข่อย ทำยาสมุนไพร

ข้อมูล โดย kafill »

ยาแก้ปวดเมื่อยต่างชนิด

ขนานที่ 1

รูปภาพ

ท่านให้เอา ลูกข่อย 1 ทะนาน หัวแห้วหมู 1 ทะนาน หางไหลหัวเผือก หนัก 20 บาท กรุงเขมา หนัก 20 บาทตัวยาทั้ง 4 อย่างนี้ นำมาตากให้แห้ง ตำเป็นผง ผสมกับน้ำผึ้งแท้ ปั้นเป็นลูกกลอนขนาดเท่าเมล็ดพุทรา ใช้รับประทานครั้งละ 2-3 เม็ด เวลาก่อนนอน เมื่อรับประทานยานี้ ได้ผลดีแล้ว ต้องกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลให้แก่เจ้าของยาขนานนี้ด้วย

สรรพคุณ แก้ปวดเมื่อยได้ผลดีชะงัดนักแล

ขนานที่ 3

รูปภาพ

ท่านให้เอา น้ำผึ้งแท้ 5 ช้อนกาแฟ กับน้ำมะนาว 1 ช้อนกาแฟ ตัวยาทั้ง 2 อย่างนี้ นำมาผสมกัน ใส่น้ำโซดาจืด (ที่แช่เย็น) ให้เต็มแก้วกวนให้เข้ากันดีแล้ว ใช้ดื่มขณะที่เป็นฟองนั้น เวลาตื่นนอนเช้า 1 แก้ว และ เวลาก่อนนอน 1 แก้ว วันละ 2 แก้ว เพียง 2-3 วันเท่านั้น

สรรพคุณ แก้ปวดหลัง ปวดกระเบนเหน็บ อ่อนเพลีย ปวดเมื่อย ไม่มีกำลังอดนอนดึกๆ เป็นยาบำรุงกำลัง ชนิดวิเศษอย่างยิ่ง เคยใช้รักษาได้ผลดีมาแล้ว

ที่มา : ตำรายาแผนโบราณ
โดยหมอพร (กรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์)

ย้อนกลับไปยัง “ความรู้สมุนไพร ตำรายาแผนโบราณ”