ข่อย
ข่อย ชื่อวิทยาศาสตร์ Streblus asper Lour. มีชื่อเรียกอื่นว่า กักไม้ฝอย (ภาคเหนือ), ข่อย (ทั่วไป), ซะโยเส่ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), ตองขะแหน่ (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี), ข่อย(ร้อยเอ็ด), สะนาย (เขมร) ไม้ยืนต้นขนาดกลาง ลำต้นค่อนข้างคดงอเป็นปุ่มปม หรือเป็นพูเป็นร่องทั่วไป อาจขึ้นเป็นต้นเดียวหรือเป็นกลุ่ม แตกกิ่งต่ำ บางครั้งพบว่าเกือบชิดดิน เรือนยอดเป็นรูปวงกลม กิ่งก้านสาขามาก เปลือกสีเทาอ่อน เปลือกแตกเป็นแผ่นบางๆ มียางสีขาวเหนียวซึมออกมา แผ่นใบสีเขียว สากมือ เนื้อใบหนาค่อนข้างกรอบ ผลมีเนื้อ ผนังผลชั้นในแข็ง เมื่ออ่อนสีเขียว สุกเป็นสีเหลืองใส ผลสามารถนำมาทานได้ มีรสหวาน
ประโยชน์ของข่อย
- กิ่งของต้นข่อย นำมาใช้แทนแปรงสีฟัน ช่วยทำให้ฟันแข็งแรง ฟันไม่ผุ แก้ปวดฟัน
- ใบ นำไปชงน้ำร้อนดื่มเพื่อช่วยระบาย หรือบำรุงธาตุ แก้ปวดเมื่อย ขับผายลม แก้อาการท้องอืดท้องเฟ้อ รวมทั้งช่วยแก้อาการปวดท้องจากประจำเดือน และยังสามารถนำไปตำผสมข้าวสารคั้นน้ำดื่มครึ่งถ้วยชา ช่วยให้อาเจียนเพื่อถอนพิษยาเมายาเบื่อ หรืออาหารแสลง ให้รสเมาเฝื่อน
- เปลือกต้น ใช้หุงเป็นน้ำมันเพื่อทาหัวริดสีดวง ช่วยแก้อาการปวดฟัน หรือรำมะนาด ทำให้ฟันแข็งแรง รวมทั้งช่วยดับพิษทั้งในกระดูกและเส้น และแก้โรคเรื้อน พยาธิผิวหนัง ตลอดจนช่วยดับพิษต่างๆ และแก้มะเร็ง ให้รสเมาฝาดขม
- นิยมนำมาใช้สอยเพื่อปลูกไว้ใช้ประโยชน์ในด้านไม้ประดับ
สรรพคุณทางยาของข่อย
- ราก ช่วยในการรักษาบาดแผล ให้รสเมาฝาดขม
- เปลือกราก ใช้บำรุงหัวใจ (พบมีสารบำรุงหัวใจมากกว่า 30 ชนิด) ให้รสเมาขม
- เนื้อไม้ แก้แมงกินฟัน แก้ปวดฟัน เป็นยาขับปัสสาวะ ขับเมือกมันในลำไส้ ทำให้คลื่นเหียน อาเจียน แก้กษัย แก้ไตพิการ
- เมล็ด เป็นยาอายุวัฒนะ ช่วยขับผายลม และบำรุงธาตุเจริญอาหาร รวมทั้งอาการท้องอืดท้องเฟ้อ แก้อาการโลหิตและลม ให้รสเมามันร้อน
- กระพี้ ช่วยแก้มะเร็ง และพยาธิ หรือฝนกับน้ำปูนใสแก้ผื่นคัน ให้รสเมาฝาดขม
สารเคมี :
- ผล จะมีน้ำมันระเหย 1-1.4% ไขมัน 26% และในน้ำมันนี้จะประกอบด้วยสารพวก เทอปีน (terpenes) อยู่หลายชนิด และพวกเจอรานิออล (geranilo) พวกแอลกอฮอล์การบูน (camphor) ฯลฯ และนอกจากนี้ยังมีน้ำตาลอ้อย (sucrose) น้ำตาลผลไม้ (fructose) น้ำกลูโคส
- ทั้งต้น มีสารพวก ลินาโลออล (linalool โนนานาล (nonanal) ดีคาลนาล (decanal) และวิตามินซี 92-98 มก.%
- เมล็ด จะมีสารประกอบพวกไนโตรเจน 13-15% และสารอนินทรีย์ 7% มีน้ำมันระเหย 1% ซึ่งมีสารส่วนใหญ่ในน้ำมันระเหยนั้นเป็น d-linalool ประมาณ 70%
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ :
http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11566&SystemType=BEDO
https://arit.kpru.ac.th
https://www.flickr.com
2 Comments