กล้วย ผลไม้เครือ มีผลเป็นหวี กินดิบก็ได้ แปรรูปก็ดี พร้อมประโยชน์สรรพคุณ

 กล้วย ผลไม้เครือ มีผลเป็นหวี กินดิบก็ได้ แปรรูปก็ดี พร้อมประโยชน์สรรพคุณ

ต้นกำเนิด  :  เอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ชื่อสามัญ  :  กล้วย

ชื่อวิทยาศาสตร์  :  Musa cultivars and hybrids

ชื่อวงศ์  :  MUSACEAE

ชื่อภาษาอังกฤษ : Bananas

กล้วย ประโยชน์และสรรพคุณของกล้วย
กอกล้วย ขนาดใหญ่

ลักษณะของกล้วย

     กล้วย เป็นผลไม้เขตร้อน ที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ที่ เอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีชื่อสามัญที่เรียกกันทั่วไปว่ากล้วย
กล้วยภาษาอังกฤษ จะเรียกว่า Banana ลักษณะของกล้วยที่เราสามารถพบเห็นได้โดยทั่วไป ตั้งแต่ส่วนประกอบต่างๆของกล้วย ได้แก่ ต้นกล้วย, ปลีกล้วย, หยวกกล้วย, เครือกล้วย, ใบตอง, หน่อกล้วย เป็นต้น นอกจากนี้ กล้วยยังเป็นผลไม้ที่สามารถนำมาปลูกหรือการขยายพันธุ์ ได้หลากหลายวิธี เช่น การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อกล้วย, การปลูกกล้วยโดยการใช้หน่อกล้วย หรือ แม้แต่การใช้เมล็ดในการปลูก เป็นต้น เพราะเหตุนี้เอง กล้วยจึงเป็นผลไม้ที่มากประโยชน์ และสรรพคุณทางยา  อีกทั้งยังมีคุณค่าทางโภชนาการ สามารถนำไปใช้ในการแปรรูปกล้วยที่หลากหลาย ซึ่งกล้วยส่วนใหญ่ที่คนไทยรู้จักกัน และเป็นที่นิยมก็ได้แก่ กล้วยหอมกล้วยหอมทองกล้วยน้ำว้ากล้วยไข่กล้วยเล็บมือนางกล้วยหักมุก เป็นต้น

     กล้วย พืชที่มีลักษณะ ไม่มีเนื้อไม้ มีอายุหลายปี มีเหง้า ยอดใหม่เจริญขึ้นเหนือดิน เรียกว่า ลำต้นเทียม ใบเดี่ยว เรียงเวียน แผ่นใบขนาดใหญ่รูปขอบขนาน ช่อดอกออกเพียงช่อเดียวต่อหนึ่งลำต้นเทียม เป็นช่อเชิงลดประกอบ ดอกมีประมาณ 5-15 กลุ่ม แต่ละกลุ่มมี 12-20 ดอก เรียงเป็นสองแถวอยู่ภายใต้ใบประดับรูปไข่ปลายแหลมสีแดง ดอกเพศผู้อยู่ที่ปลายช่อ เรียกว่า ปลี กลางช่อบางครั้งเป็นดอกสมบูรณ์เพศ ดอกเพศเมียที่โคนช่อเจริญเป็นผลได้โดยไม่มีการผสม รังไข่ใต้วงกลีบ ผลแบบกล้วย ไม่มีเมล็ด ผลแต่ละกลุ่มเรียกว่า หวี ผลทั้งช่อเรียกว่า เครือ

การขยายพันธุ์ของกล้วย

  • กล้วยสามารถขยายพันธุ์ได้โดยการใช้เมล็ด
  • กล้วยสามารถขยายพันธุ์ได้โดยการใช้หน่อ
  • กล้วยสามารถขยายพันธุ์ได้โดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ (Tissue culture)

ประโยชน์ของกล้วย

  •  กล้วยใช้ประโยชน์ในการบริโภค เนื่องจากกล้วยเป็นพืชที่ใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย ผลสุก กินสดเป็นผลไม้ แปรรูป ผลอ่อนกินเป็นยา ใบตองใช้ห่ออาหารและทำงานฝีมือหลายชนิด ลำต้นของกล้วยใช้ทำเชือกกล้วย กระทง แกนลำต้นเทียมกินเป็นผัก กาบด้านนอกของลำต้นเทียมใช้ทำเชือก กล้วยสามารถนำมามาส์กหน้าได้ ซึ่งจะช่วยเพิ่มความชุ่มชื่นให้แก่ผิว ลดความหยาบกร้านบนผิวด้วยการใช้กล้วยสุกหนึ่งผลนำมาบดให้ละเอียด แล้วเติมน้ำผึ้ง 2 ช้อนโต๊ะ จากนั้นคลุกให้เข้ากันแล้วนำมาพอกหน้าทิ้งไว้ประมาณ 15 นาทีแล้วล้างออก
  • ใช้ประโยชน์ในพิธีกรรมต่างๆ และในชีวิตประจำวัน พิธีทางศาสนา เช่น การเทศน์มหาชาติ และการทอดกฐิน มักใช้ต้นกล้วยประดับธรรมาสน์ และองค์กฐิน พิธีทำขวัญเด็ก พิธีแต่งงาน ในการปลูกบ้าน เป็นต้น

สรรพคุณทางยาของกล้วย

ผลกล้วยหอมสุก
ผลกล้วยหอมสุก

ผลกล้วยหอมสุก

  •  ลดอาการท้องผูก (Constipation) กล้วยหอมมีเส้นใยอาหารช่วยทำให้ระบบขับถ่ายในร่างกาย ทำงานได้ดีขึ้น
  • จุกเสียดแน่นท้อง (Heartburn) กล้วยหอมมีสารลดกรดตามธรรมชาติอยู่ดังนั้นการกินกล้วยก็จะช่วยให้ลดอาการดังกล่าว
  • เมาค้าง (Hangovers) วิธีแก้เมาค้างที่เร็ว และดีอีกวิธีหนึ่งก็คือกินกล้วยหอมปั่น banana milkshake โดยการใส่น้ำผึ้งลงไปด้วยด้วยสรรพคุณของน้ำผึ้ง และสารวิตามินในกล้วยจะช่วยให้ ปรับระดับน้ำตาลในเส้นเลือด และทำให้กระเพาะอาหารอยู่ในสภาวะที่พร้อมทำงานได้เร็วขึ้น
  • บรรเทาแผลยุงกัด ก่อนที่จะใช้ยาทาลองใช้เปลือกกล้วยหอมด้านใน ถูตรงบริเวณที่ถูกยุงกัดจะช่วยลดอาการคันหรือบวมได้
  • ระบบประสาท (Nerves) วิตามินบีที่มีอยู่มากในกล้วยหอมจะช่วยลดความเครียดหรืออ่อนล้าได้
  • ลดความอยากสูบบุหรี่ สำหรับท่านที่ต้องการเลิกบุหรี่กล้วยหอมอาจช่วยท่านได้เพราะมีวิตามิน B6, B12 โปแตสเซียมและแม็กนีเซียมที่มีอยู่มากจะช่วยให้ร่างกายฟื้นตัวเร็วจากการขาดสา รนิโคติน
  • ปรับระดับอุณหภูมิในร่างกาย (Temperature Control) ในประเทศแถบเส้นศูนย์สูตรที่มีอากาศร้อนผู้คนชอบกินกล้วยหอมดับร้อนกันครับ และเชื่อว่ามันเป็นผลไม้เย็นฉ่ำชนิดหนึ่งอย่างเช่นในไทยมีความเชื่อกันว่าผู้หญิงท้องควรกินกล้วยหอมเป็นประจำเพื่อเด็กที่เกิดมาจะมีอารมณ์เยือกเย็น
  • แผลในลำไส้และกระเพาะอาหารรวมทั้งผิวหนังพุพองเป็นแผล (Ulcers) สารและเส้นใยในกล้วยหอมช่วยให้การย่อยอาหารของลำไส้เล็กดีขึ้นรวมทั้งกรดต่างๆ ที่มีอยู่ทำให้มีการเคลือบผิวของกระเพาะลดการเป็นแผลในกระเพาะได้
  • เสริมสร้างพลังสมอง (Brain Power) ที่อังกฤษในแค้วน Middlesex มีนักเรียนจำนวน 200 คนจาก Twickenham schoolอ้างว่าพวกเขาสอบผ่านเพราะได้กิตกล้วยหอมเป็นอาหารเช้าเขาได้วิจัยพบว่าโปแตสเซียมในกล้วยช่วยนักเรียนให้ตื ่นตัวอยู่เสมอ
  • ความดันโลหิต (Blood Pressure) กล้วยหอมมีเกลือโปแตสเซียมเหลืองอยู่เยอะเป็นตัวช่วยความดันเลือดจนกระทั่ง US Food and Drug Administration อนุมัติให้กล้วยหอมยอดผลไม้มีส่วนช่วยลดภาวะความเสี่ยงความดันได้จริง
  • pms(premenstrual syndrome) ลดอาการหงุดหงิดสำหรับผู้หญิงก่อนที่จะมีประจำเดือน
  • อ้วนจากทำงานมากเกินไป ที่สถาบันจิตวิทยาในออสเตรียได้ศึกษา และพบว่าความเครียดจากที่ทำงานทำให้คนกินช็อกโกแล็ต และพวกโปเต้โต้ชิปส์มากเกินไปทำให้น้ำหนักเพิ่มมากขึ้นจากที่กล่าวมาแล้วถ้ากินกล้วยหอมสักเล็กๆ น้อยๆ ประมาณทุกๆ 2 ชม. มันจะช่วยปรับระดับน้ำตาลในเลือด และลดการอยากกินของจุกจิก

คุณค่าทางโภชนาการของกล้วย

  • ปริมาณต่อ 100 g
  • แคลอรี 88 kcal
  • ไขมันทั้งหมด 0.3 g
  • ไขมันอิ่มตัว 0.1 g
  • ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน 0.1 g
  • ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว 0 g
  • คอเลสเตอรอล 0 mg
  • โซเดียม 1 mg
  • โพแทสเซียม 358 mg
  • คาร์โบไฮเดรต 23 g
  • ใยอาหาร 2.6 g
  • น้ำตาล 12 g
  • โปรตีน 1.1 g
  • วิตามินเอ 64 IU
  • วิตามินซี 8.7 mg
  • แคลเซียม 5 mg
  • เหล็ก 0.3 mg
  • วิตามินดี 0 IU
  • วิตามินบี6 0.4 mg
  • วิตามินบี12 0 µg
  • แมกนีเซียม 27 mg

    ผลกล้วยน้ำว้าดิบ
    ผลกล้วยน้ำว้าดิบ

การแปรรูปของกล้วย

     ปลูกกล้วยกินกันมากขึ้น ผลผลิตกล้วยที่ไม่ได้ขนาดตามที่ต้องการอาจจะเหลือทิ้ง ดังนั้นเพื่อไม่ให้ไร้ประโยชน์ จึงควรนำมาแปรรูป เพื่อให้เก็บได้นานขึ้น อีกทั้งเป็นการเพิ่มมูลค่าให้แก่ผลผลิตด้วย ส่วนต่างๆของกล้วยนำมาทำอาหารได้หลายส่วน ทั้งหัวปลี หยวกกล้วย ผลทั้งสุกและดิบ ตัวอย่างเช่น กล้วยปิ้ง กล้วยฉาบหรือกล้วยกรอบแก้ว กล้วยแขกหรือกล้วยทอด กล้วยบวชชี กล้วยตาก กล้วยเชื่อม ขนมกล้วย เค้กกล้วยหอม กล้วยกวน ข้าวเกรียบกล้วย เป็นต้น

เกษตรตำบล ศูนย์รวมความรู้การเกษตร ปลูกได้ ขายเป็น เน้นเกษตรอินทรีย์ เทคโนโลยีเกษตร กับกล้วย
รูปภาพจาก : pixabay.com

เรียบเรียงข้อมูลโดย :  เกษตรตำบล.คอม

4 Comments

Add a Comment