ตะไคร้ ใช้ประกอบอาหาร สมุนไพรไทยสารพัดประโยชน์

ตะไคร้ ใช้ประกอบอาหาร สมุนไพรไทยสารพัดประโยชน์

ชื่ออื่นๆ : ไคร (ภาคใต้) คาหอม (แม่ฮ่องสอน) จะไคร (ภาคเหนือ)

ต้นกำเนิด : อินโดนีเซีย ศรีลังกา พม่า อินเดีย อเมริกาใต้ ไทย

ชื่อสามัญ : –

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cymbopogon citratus (DC.) Staph

ชื่อวงศ์ : Poaceae

ชื่อภาษาอังกฤษ : Lemon Grass

ตะไคร้ ใช้ประกอบอาหาร สมุนไพรไทยสารพัดประโยชน์
ตะไคร้

ลักษณะของตะไคร้

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:
เป็นพืชล้มลุก ความสูงประมาณ 4-6 ฟุต ใบยาวเรียว ปลายใบมีขนหนามลำต้นรวมกันเป็นกอ มีกลิ่นหอม ดอกออกเป็นช่อยาวมีดอกเล็กฝอยเป็นจำนวนมาก ตะไคร้เป็นพืชที่สามารถนำส่วนต้นหัวไปประกอบอาหาร และจัดเป็นพืชสมุนไพรด้วย เป็นพืชตระกูลหญ้า ตะไคร้เป็นพืชที่เจริญเติบโตง่าย อาจมีทรงพุ่มสูงถึง 1 เมตร มีลำต้นที่แท้จริงประมาณ 4-7 เซนติเมตร ลำของต้นจะถูกห่อหุ้มไปด้วยกาบใบโดยรอบ ใบยาวแคบเส้นใบขนานกับก้านใบ ใบของตะไคร้อุดมไปด้วยน้ำมันหอมระเหย ที่นิยมนำมาปลูกเป็นพันธุ์พื้นเมืองที่ปลูกกันโดยทั่วไป

การขยายพันธุ์ของตะไคร้

ใช้กิ่ง/ลำต้น/

ธาตุอาหารหลักที่ตะไคร้ต้องการ

ตะไคร้เป็นไม้กลางแจ้งชอบดินร่วนซุยไม่ชอบน้ำขังปลูกได้ตลอด

ตะไคร้ ใช้ประกอบอาหาร สมุนไพรไทยสารพัดประโยชน์
ต้นตะไคร้

ประโยชน์ของตะไคร้

สรรพคุณ ใช้ส่วนของเหง้าและลำต้นแก่ ใช้เป็นส่วนประกอบของอาหารที่สำคัญหลายชนิดเช่น ต้มยำและอาหารไทยหลายชนิด ให้กลิ่นหอม มีสรรพคุณทางยาเช่น บำรุงธาตุ แก้โรคทางเดินปัสสาวะ ขับลมในลำไส้ทำให้เจริญอาหาร แก้โรคหืด แก้อหิวาตกโรค บำรุงสมอง ช่วยให้สมาธิดี ต้มกับน้ำใช้ดื่มแก้อาเจียน ใช้ต้นสดโขลกคั้นเอาน้ำดื่ม แก้อาการเมาในกรณีผู้ที่เมามากๆ ช่วยให้สร่างเร็ว ส่วนหัวสามารถใช้แก้โรคเกลื้อน ท้องอืดท้องเฟ้อ โรคนิ่ว มากไปกว่านั้นยังสามารถทำเป็นยาช่วยนอนหลับ ช่วยลดความดันสูงน้ำมันตะไคร้หอมใช้ทากันยุงได้ ถ้าปลูกใกล้ผักอื่นๆ จะช่วยกันแมลงได้และยังให้กลิ่นหอม ที่ดับกลิ่นบางชนิดใช้ตะไคร้เป็นวนผสม เพราะมีกลิ่นที่หอม และที่กำจัดยุงบางชนิดก็ใช้ตะไคร้เป็นส่วนผสมด้วยเนื่องจาก มีกลิ่นที่แรงจึง ช่วยทำให้ไล่ยุงได้ นอกจากนี้ตะไคร้ยังแก้กลิ่นคาวหรือดับกลิ่นคาว ของปลา และเนื้อสัตว์ได้ดี

สรรพคุณทางยาของตะไคร้

  • ใช้ส่วนของเหง้าและลำต้นแก่ ใช้เป็นส่วนประกอบของอาหารที่สำคัญหลายชนิดเช่น ต้มยำ และอาหารไทยหลายชนิด ให้กลิ่นหอม มีสรรพคุณทางยาเช่น บำรุงธาตุ แก้โรคทางเดินปัสสาวะ ขับลมในลำไส้ทำให้เจริญอาหาร แก้โรคหืด แก้อหิวาตกโรค บำรุงสมอง ช่วยให้สมาธิดี ต้มกับน้ำใช้ดื่มแก้อาเจียน ใช้ต้นสดโขลกคั้นเอาน้ำดื่มแก้อาการเมาในกรณีผู้ที่เมามาก ๆ ช่วยให้สร่างเร็ว ส่วนหัวสามารถใช้แก้โรคเกลื้อน ท้องอืดท้องเฟ้อ โรคนิ่ว มากไปกว่านั้นยังสามารถทำเป็นยาช่วยนอนหลับ ช่วยลดความดันสูง น้ำมันตะไคร้หอมใช้ทากันยุงได้ ถ้าปลูกใกล้ผักอื่น ๆ จะช่วยกันแมลงได้และยังให้กลิ่นหอม ที่ดับกลิ่นบางชนิดใช้ตะไคร้เป็นส่วนผสมเพราะมีกลิ่นที่หอม และที่กำจัดยุงบางชนิดก็ใช้ตะไคร้เป็นส่วนผสมด้วยเนื่องจากมีกลิ่นที่แรงจึงช่วยทำให้ไล่ยุงได้ นอกจากนี้ตะไคร้ยังแก้กลิ่นคาวหรือดับกลิ่นคาวของปลา และเนื้อสัตว์ได้ดีมาก ๆ
  • สรรพคุณ : ทั้งต้น ใช้เป็นยารักษาโรคหืด แก้ปวดท้อง ขับปัสสาวะและแก้อหิวาตกโรค หรือทำเป็นยาทานวดก็ได้ และยังใช้รวมกับสมุนไพรชนิดอื่นรักษาโรคได้ เช่น บำรุงธาตุ เจริญอาหาร และขับเหงื่อ
  • หัว เป็นยารักษาเกลื้อน แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ แก้ปัสสาวะพิการ แก้นิ่ว บำรุงไฟธาตุ แก้อาการขัดเบา ถ้าใช้รวมกับสมุนไพรชนิดอื่น จะเป็นยาแก้อาเจียน แก้ทราง ยานอนหลับลดความดันสูง แก้ลมอัมพาต แก้กษัยเส้น และแก้ลมใบ ใบสด ๆ จะช่วยลดความดันโลหิตสูง แก้ไข้
  • ราก ใช้เป็นยาแก้ไข้เหนือ ปวดท้องและท้องเสีย
  • ต้น ใช้เป็นยาแก้ขับลม แก้เบื่ออาหาร แก้ผมแตก แก้โรคทางเดินปัสสาวะ นิ่ว เป็นยาบำรุงไฟธาตุให้เจริญ แต่ถ้าเอาผสมกับสมุนไพรชนิดอื่น จะแก้โรคหนองใน และนอกจากนี้ยังใช้ดับกลิ่นคาวด้วย
ตะไคร้ ใช้ประกอบอาหาร สมุนไพรไทยสารพัดประโยชน์
ใบตะไคร้

คุณค่าทางโภชนาการของตะไคร้

  • ตะไคร้ 100 กรัมให้พลังงานต่อร่างกาย 126 กิโลแคลอรีประกอบด้วย
  • คาร์โบไฮเดรต 25.5 กรัม
  • โปรตีน 1.2 กรัม
  • ไขมัน 2.1 กรัม
  • แคลเซียม 35 มิลลิกรัม
  • ฟอสฟอรัส 30 มิลลิกรัม
  • กาก 4.2 กรัม
  • เหล็ก 2.6 กรัม
  • วิตามินเอ 427 IU
    วิตามินบีหนึ่ง 0.05 มิลลิกรัม
  • วิตามินบีสอง 0.02 มิลลิกรัม
  • ไนอาซีน 2.2 มิลลิกรัม
  • วิตามินซี 1 มิลลิกรัม

การแปรรูปของตะไคร้

การแปรรูปตะไคร้ผลิตภัณฑ์สมุนไพร สามารถแปรรูปเป็น แชมพูตะไคร้  หรือจะนำไปแปรรูปเป็น ตะไคร้ตากแห้ง เป็นต้น

เกษตรตำบล ศูนย์รวมความรู้การเกษตร ปลูกได้ ขายเป็น เน้นเกษตรอินทรีย์ เทคโนโลยีเกษตร กับตะไคร้

References : www.bedo.or.th

เรียบเรียงข้อมูลโดย :  เกษตรตำบล.คอม

8 Comments

Add a Comment