ตำลึง ไม้เถาล้มลุก ผักปลูกง่าย หากินง่ายตามท้องถิ่น

ตำลึง ไม้เถาล้มลุก ผักปลูกง่าย หากินง่ายตามท้องถิ่น

ชื่ออื่นๆ :  ผักแคบ (ภาคเหนือ), แคเด๊าะ (กะเหรี่ยงและแม่ฮ่องสอน) ตำลึง, สี่บาท (ภาคกลาง), ผักตำนิน (ภาคอีสาน)

ต้นกำเนิด :  ทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ชื่อสามัญ : Ivy Gourd

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Coccinia grandis Voigt.

ชื่อวงศ์ : CUCURBITACEAE

ตำลึง ไม้เถาล้มลุก สรรพคุณทางยาและประโชน์ของตำลึง
ตำลึง

ลักษณะของตำลึง

  • ต้นตำลึง เป็นไม้เถาล้มลุกอายุหลายปี เถาแก่ของตำลึงใหญ่และแข็ง เถากลมสีเขียวตามข้อมีหนวดหรือมือจับไว้ยึดเกาะหลักและต้นไม้อื่น
  • ใบตำลึง เป็นใบเดี่ยวออกแบบสลับ ใบรูปร่างคล้าย 5 เหลี่ยม ขอบใบเว้าเข้าเล็กน้อยหรือเว้าลึก ใบสีเขียวเรียบไม่มีขน
  • ดอกตำลึง เป็นดอกเดี่ยวออกจากบริเวณซอกใบ ดอกแยกเพศกันอยู่คนละดอก กลีบเลี้ยงสีเขียว โคนกลีบเชื่อมติดกันปลายแยกออกเป็น 5 แฉก กลีบดอกสีขาวโคนกลีบติดกันเป็นถ้วยปลายแยกเป็น5 แฉก เกสรตัวผู้มี 3 อัน เกสรตัวเมียมี 1 อัน
  • ผลตำลึง รูปร่างกลมรีคล้ายแตงกวาแต่มีขนาดเล็กกว่า ผลอ่อนมีสีเขียวลายขาวเมื่อแก่มีสีแดงสด
ตำลึง ไม้เถาล้มลุก ผักปลูกง่าย หากินง่ายตามท้องถิ่น
ดอกและใบตำลึง

การขยายพันธุ์ของตำลึง

  • ใช้กิ่ง/ลำต้น/เมล็ด ปักชำเถาแก่

ประโยชน์ของตำลึง

  • ยอดอ่อน ใบอ่อน ผลอ่อน ยอดอ่อน ใบอ่อน นำไปลวกและนึ่งเป็นผักจิ้มกับน้ำพริก และนำไปปรุงอาหาร เช่น แกงเลียง แกงจืด ผัด
  • ผลอ่อน ผลแก่ นำไปดองรับประทานกับน้ำพริกหรือปรุงแกงได้
ตำลึง ไม้เถาล้มลุก ผักปลูกง่าย หากินง่ายตามท้องถิ่น
ใบตำลึง

สรรพคุณทางยาของตำลึง

  • ใบใช้ในการแก้ไข้ตัวร้อน ตาแดง ตาเจ็บ
  • เถานำน้ำต้มจากเถาตำลึงมาหยอดตาแก้ตาแดง ตาฟาง
  • ดอกตำลึงช่วยทำให้หายจากอาการคันได้รากใช้แก้อาการอาเจียน ตาฝ้า
  • น้ำยางจากต้นและใบช่วยลดน้ำตาลในเลือด

References : www.bedo.or.th

ภาพประกอบ : th.wikipedia.org/wiki/ตำลึง

เรียบเรียงข้อมูลโดย :  เกษตรตำบล.คอม

Add a Comment