บัวบก ผักหนอก ผักแว่น ผักพื้นบ้าน สมุนไพรบำรุงสมอง รักษาแผล แก้ช้ำใน

บัวบก ผักหนอก ผักแว่น ผักพื้นบ้าน สมุนไพรบำรุงสมอง รักษาแผล แก้ช้ำใน 

ชื่ออื่นๆ : ผักหนอก (ภาคเหนือ,ภาคอีสาน) ผักแว่น (ภาคใต้) 

ต้นกำเนิด : แถบเอเชีย

ชื่อสามัญ : Asiatic pennywort, Indian pennywort

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Centella asiatica (L.) Urban.

ชื่อวงศ์ : Apiaceae (Umbelliferae)

ชื่อภาษาอังกฤษ  : Gotu kola

บัวบก ผักหนอก ผักแว่น ผักพื้นบ้าน สมุนไพรบำรุงสมอง รักษาแผล แก้ช้ำใน
ใบบัวบก

ลักษณะของบัวบก

บัวบก ไม้ล้มลุก ลำต้นเป็นไหลทอดเลื้อยไปตามดินที่ชื้นแฉะ ขึ้นง่าย มีรากฝอยออกตามข้อ ใบชูตั้งขึ้น มีไหลงอกออกจากต้นเดิม ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ รูปไต ขนาดกว้างและยาว 2-5 ซม. ปลายใบกลม โคนใบเว้า ขอบใบหยัก แผ่นใบสีเขียวมีขนเล็กน้อย ก้านใบยาว ดอก ออกเป็นช่อแบบซี่ร่มตามซอกใบ มีดอกย่อย 2-3 ดอก กลีบดอกมี 5 กลีบ สีม่วงอมแดงกลับกัน ผล เป็นผลแห้งแตกแบน เมล็ดสีดำ ส่วนที่ใช้ : ทั้งต้นสด

การขยายพันธุ์ของบัวบก

ใช้ส่วนอื่นๆ

ธาตุอาหารหลักที่บัวบกต้องการ

ประโยชน์ของบัวบก

   ใบบัวบกได้ถูกนำมาใช้บำบัดอาการที่เกี่ยวข้องกับสมองมาเป็นเวลานาน และให้ผลเป็นที่น่าเชื่อถือจนได้ชื่อเรียกว่า “อาหารสมอง” เพราะคนสมัยก่อนเชื่อว่าการรับประทานจะช่วยส่งเสริมการทำงานของสมอง  โดยทำหน้าที่เป็นแหล่งพลังงานสำรองให้กับสมองและได้ผลดีทั้งในแง่ของการรักษาส่วนของสมองที่ถูกทำลายแล้วให้ดีขึ้น  และยังป้องกันไม่ให้สมองที่ปกติอยู่ถูกทำลายหรือเสื่อมลง

       นอกจากนี้ยังถูกนำไปใช้ประโยชน์ในการลดความเคลียดจากกการทำงานหนัก ปรับปรุงระบบการรับส่งกระแสประสาท  ปฏิกิริยารีเฟลกซ์ ( Refiex  Reoction )  หรือปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้นรอบตัวเรา เพิ่มความสามารถในการทำงาน ทั้งในแง่ของกำลังกาย และกำลังสมอง  ควบคุมระดับแรงดันโลหิตให้ปกติ  ลดภาวะความเป็นหมัน ช่วยชะลอความแก่หรือช่วยป้องกันร่างกายด้วยการกำจัดสารพิษตกค้างในร่างกาย

สรรพคุณทางยาของบัวบก

ส่วนที่ใช้ : ทั้งต้นสด

สรรพคุณ :

ใบ – มีสาร Asiaticoside ทำยาทาแก้แผลโรคเรื้อน

ทั้งต้นสด
– เป็นยำบำรุงกำลัง บำรุงหัวใจ แก้อ่อนเพลีย เมื่อยล้า
– รักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก หรือมีการชอกช้ำจากการกระแทก แก้พิษงูกัด
– ปวดศีรษะข้างเดียว
– ขับปัสสาวะ
– แก้เจ็บคอ
– เป็นยาห้ามเลือด ส่าแผลสด แก้โรคผิวหนัง
– ลดความดัน แก้ช้ำใน

เมล็ด – แก้บิด แก้ไข้ ปวดศีรษะ

วิธีและปริมาณที่ใช้ :

ใช้เป็นยาแก้ปวดศีรษะข้างเดียว
ใช้ต้นสดไม่จำกัด รับประทาน หรือคั้นน้ำจากต้นสดรับประทาน ควรรับประทานติดต่อกัน 2-3 วัน

ใช้เป็นยาแก้เจ็บคอ
ใช้ทั้งต้นสด 10-20 กรัม หรือ 1 กำมือ ตำคั้นน้ำเติมน้ำส้มสายชู 1-3 ช้อนแกง จิบบ่อยๆ

เป็นยาลดความดันโลหิตสูง
ใช้ทั้งต้นสด 30-40 กรัม คั้นน้ำจากต้นสด เติมน้ำตาลเล็กน้อย รับประทาน 5-7 วัน

ยาแก้ช้ำใน (พลัดตกหกล้ม)
ใช้ต้นสด 1 กำมือ ล้างให้สะอาด ตำคั้นน้ำ เติมน้ำตาลเล็กน้อย ดื่ม 1 ครั้ง รับประทานติดต่อกัน 5-6 วัน

เป็นยาถอนพิษรักษาแผลน้ำร้อนลวก
ใช้ทั้งต้นสด 2-3 ต้น ล้างให้สะอาด ตำให้ละเอียดพอกแผลไฟไหม้ ช่วยลดอาการปวดแสบปวดร้อน

เป็นยาห้ามเลือด ใส่แผลสด
ใช้ใบสด 20-30 ใบ ล้างให้สะอาด ตำพอกแผลสด ช่วยห้ามเลือดและรักษาแผลให้หายเร็ว

คุณค่าทางโภชนาการของบัวบก

  • คุณค่าทางโภชนาการของใบบัวบก  100  กรัม จะให้พลังงานต่อร่างกาย  
  • ประมาณ  44  กิโลแคลอรี่  ซึ่งประกอบด้วยส่วนประกอบ  ดังนี้  
  • น้ำ  86.0 กรัม
  • คาร์โบไฮเดรต  7.1 กรัม
  • โปรตีน  1.8 กรัม
  • ไขมัน  0.9 กรัม
  • เส้นใย  2.6 กรัม
  • แคลเซียม  146  มิลลิกรัม
  • ฟอสฟอรัส  130 มิลลิกรัม
  • ธาตุเหล็ก  3.9  มิลลิกรัม
  • วิตามิน เอ  10.962  IU
  • วิตามินบี 1  0.24 มิลลิกรัม
  • วิตามินบี 2  0.09 มิลลิกรัม
  • ไนอาซีน (วิตามินบี 3)  0.8 มิลลิกรัม
  • วิตามินซี  4 มิลลิกรัม

การแปรรูปของบัวบก

ใบบัวบก สามารถปรุงเป็นเครื่องดื่มได้ ใบบัวบกนำมารับประทานเป็นผักสดกับก๊วยเตี๋ยวผัดไทย อย่างน้ำใบบัวบกได้

เกษตรตำบล ศูนย์รวมความรู้การเกษตร ปลูกได้ ขายเป็น เน้นเกษตรอินทรีย์ เทคโนโลยีเกษตร กับบัวบก

References : www.bedo.or.th

ภาพประกอบ : th.wikipedia.org/wiki/บัวบก

เรียบเรียงข้อมูลโดย :  เกษตรตำบล.คอม

4 Comments

Add a Comment