มะขาม ไม้มงคล ผลไม้รสเปรี้ยว ต้นไม้ประจำจังหวัดเพชรบูรณ์

มะขาม ไม้มงคล ผลไม้รสเปรี้ยว ต้นไม้ประจำจังหวัดเพชรบูรณ์

ชื่ออื่นๆ : ขาม (ภาคใต้) ตะลูบ(ชาวบน-นครราชสีมา) ม่องโคล้ง (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี) อำเปียล (เขมร-สุรินทร์) หมากแกง (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน) ส่ามอเกล (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)

ต้นกำเนิด : ทวีฟแอฟริกา

ชื่อสามัญ : Tamarind

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Tamarindus indica L.

ชื่อวงศ์ : Leguminosae – Caesalpinioideae

ชื่อภาษาอังกฤษ : Tamarind

มะขาม ไม้มงคล ผลไม้รสเปรี้ยว ต้นไม้ประจำจังหวัดเพชรบูรณ์
ต้นมะขาม

ลักษณะของมะขาม 

มะขามจัดเป็นพรรณไม้ยืนต้น มีการนำเข้ามาปลูกในแถบเอเชีย และนำเข้ามาเมืองไทยกว่า 700 ปี แล้ว ปัจจุบันมีมากที่เม็กซิโก นอกจากนี้มะขามยังเป็นต้นไม้ประจำจังหวัดเพชรบูรณ์ และตามตำราพรหมชาติยังถือว่ามะขามเป็นไม้มงคลชนิดหนึ่ง ที่ช่วยป้องกันสิ่งเลวร้าย ผีร้ายต่าง ๆ ไม่ให้มากล้ำกลาย อีกทั้งยังเป็นต้นไม้ที่มีชื่อมงคล ถือกันเป็นเคล็ดทำให้มีคนเกรงขาม มะขามมี 2 ชนิด คือ มะขามหวานและมะขามเปรี้ยวไม้ต้นขนาดกลางจนถึงขนาดใหญ่แตกกิ่งก้านสาขามาก เปลือกต้นขรุขระและหนา สีน้ำตาลอ่อน

ใบ เป็นใบประกอบ ใบเล็กออกตามกิ่งก้านใบเป็นคู่ ใบย่อยเป็นรูปขอบขนาน ปลายใบและโคนใบมน

ดอก ออกเป็นช่อเล็กๆ ตามปลายกิ่ง หนึ่งช่อมี 10-15 ดอก ดอกย่อยขนาดเล็ก กลีบดอกสีเหลืองและมีจุดประสีแดงอยู่กลางดอก ออกดอกช่วงเดือนเมษายน-พฤษภาคม

ผล เป็นฝักยาว รูปร่างยาวหรือโค้ง ยาว 3-20 ซม. ฝักอ่อนมีเปลือกสีเขียวอมเทา สีน้ำตาลเกรียม เนื้อในติดกับเปลือก เมื่อแก่ฝักเปลี่ยนเป็นเปลือกแข็งกรอบหักง่าย สีน้ำตาล เนื้อในกลายเป็นสีน้ำตาลหุ้มเมล็ด เนื้อมีรสเปรี้ยว และหวาน ฝักสุกเดือนธันวาคม-มกราคม

การขยายพันธุ์ของมะขาม 

ใช้เมล็ด

ธาตุอาหารหลักที่มะขามต้องการ

ประโยชน์ของมะขาม

  • ยอดอ่อน ฝักมะขามทั้งแก่และอ่อนให้รสเปรี้ยว นิยมนำไปปรุงอาหารเช่นใส่ต้มยำ แกงส้ม ยำ มีวิตามินซีสูงกว่าส่วนอื่น ๆ ช่วยปกป้องตาจากสารอนุมูลอิสระที่เป็นสาเหตุให้เลนส์ตาขุ่นมัว และช่วยให้ร่างกายมีภูมิต้านทานโรคสูงขึ้น เนื้อมะขามมีกรดอินทรีย์อย่างกรดทาร์ทาริกและกรดซิตริก ซึ่งมีฤทธิ์ระบายและลดความร้อนของร่างกาย ใครมีปัญหาท้องผูกบ่อย ๆ ให้ลองกินมะขามสุกสัก 3-4 ฝัก แล้วดื่มน้ำอุ่นตามเยอะ ๆ รับรองเห็นผล แถมยีงช่วยขับเสมหะและลดอาการไอด้วย แคลเซียมนั้นมีมากที่ในฝักอ่อนและมีปริมาณรองลงมาในมะขามเปียกและยอดอ่อน ส่วนมะขามสุกจัดจนเป็นมะขามเปียกนั้นจะมีเส้นใยอาหารสูง
  • พันธุ์ไม้มงคลพระราชทานประจำจังหวัดเพชรบูรณ์ โดยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถได้พระราชทานให้กับผู้ว่าราชการจังหวัดของแต่ละจังหวัด เพื่อให้นำไปปลูกเป็นสิริมงคลแก่จังหวัดและเพื่อเป็นการรณรงค์ให้ประชาชนปลูกต้นไม้ใน “โครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติ” เนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ 9 ทรงครบรอบปีที่ 50 ในการครองราชสมบัติ ที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2537

สรรพคุณทางยาของมะขาม

  • แก้อาการท้องผูก ใช้เนื้อฝักแก่หรือมะขามเปียก 10–20 ฝัก (หนักประมาณ 70–150 กรัม) จิ้มกับเกลือรับประทาน หรือใส่เกลือเติมน้ำคั้นดื่ม
  • แก้ไอขับเสมหะ ใช้เนื้อในฝักแก่หรือมะขามเปียกจิ้มเกลือรับประทาน
  • แก้อาการท้องเดิน ใช้เปลือกต้น ทั้งสดหรือแห้งประมาณ 1–2 กำมือ (15–30 กรัม) ต้มกับน้ำปูนใสหรือน้ำรับประทาน  หรือ นำเมล็ดคั่วให้เกรียม  กระเทาะเปลือกกินแก้ท้องร่วง
  • รักษาแผล เมล็ดกระเทาะเปลือกต้มนำมาล้างแผลและสมานแผล
  • ถ่ายพยาธิลำไส้ ใช้เมล็ดคั่วกะเทาะเปลือกเอาออกเนื้อในเมล็ดแช่น้ำเกลือจนนุ่ม รับประทานครั้งละ 20–30 เมล็ด เหมาะสำหรับถ่ายพยาธิไส้เดือน
  • เป็นยาลดความตันโลหิตสูง โดยใช้ดอกสดไม่จำกัดจำนวน  มาทำในรูปแบบอาหารรับประทาน เช่น แกงส้ม  หรือ ต้มกับปลาสลิด
  • แก้หวัด  ต้มน้ำให้เดือดพลั่ก ทุบหัวหอมสัก 7 – 8 หัว ใบมะขามอ่อนและแก่ ลงไป พอควันขึ้นก็เอาผ้าขนหนูผืนใหญ่คลุมทั้งหัวและหม้อหัวหอม ใบมะขาม สูดเข้าสูดออกสัก 5 นาที ระวังอย่าสูดไอร้อนๆอย่างเดียวตลอด พอร้อนทนไม่ไหวก็เอาผ้าคลุมออก เอาผ้าคลุมสูดใหม่ จนพอใจ เติมน้ำเย็นลงไปในหม้อกลายเป็นน้ำอุ่นๆ เอาหัวหอมกับใบมะขามโกรกหัวหลายๆครั้ง

คุณค่าทางโภชนาการของมะขาม

คุณค่าทางโภชนาการของมะขามดิบต่อ 100 กรัม

  • พลังงาน 239 กิโลแคลอรี่
  • คาร์โบไฮเดรต 62.5 กรัม
  • น้ำตาล 57.4 กรัม
  • เส้นใย 5.1 กรัม
  • ไขมัน 0.6 กรัม
  • โปรตีน 2.8 กรัม
  • วิตามินบี1 0.428 มิลลิกรัม 37%
  • วิตามินบี2 0.152 มิลลิกรัม 13%
  • วิตามินบี3 1.938 มิลลิกรัม 13%
  • วิตามินบี5 0.143 มิลลิกรัม 3%
  • วิตามินบี6 0.066 มิลลิกรัม 5%
  • วิตามินบี9 14 ไมโครกรัม 4%
  • โคลีน 8.6 มิลลิกรัม 2%
  • วิตามินซี 3.5 มิลลิกรัม 4%
  • วิตามินอี 0.1 มิลลิกรัม 1%
  • วิตามินเค 2.8 ไมโครกรัม 3%
  • ธาตุแคลเซียม 74 มิลลิกรัม 7%
  • ธาตุเหล็ก 2.8 มิลลิกรัม 22%
  • ธาตุแมกนีเซียม 92 มิลลิกรัม 26%
  • ธาตุฟอสฟอรัส 113 มิลลิกรัม 16%
  • ธาตุโพแทสเซียม 628 มิลลิกรัม 13%
  • ธาตุโซเดียม 28 มิลลิกรัม 0%
  • ธาตุสังกะสี 0.1 มิลลิกรัม 1%

การแปรรูปของมะขาม

มะขามสามารถนำไปแปรรูปได้หลากหลาย เช่น มะขามดอง, น้ำพริกมะขาม, มะขามเปียก, น้ำเชื่อมมะขามเปียก, มะขามแช่อิ่ม, มะขามแก้ว, มะขามกวน เป็นต้น

เกษตรตำบล ศูนย์รวมความรู้การเกษตร ปลูกได้ ขายเป็น เน้นเกษตรอินทรีย์ เทคโนโลยีเกษตร กับมะขาม

References : www.bedo.or.th

รูปภาพจาก : www.pixabay.com

เรียบเรียงข้อมูลโดย :  เกษตรตำบล.คอม

Add a Comment