กระดุมทองเลื้อย สรรพคุณ ปลูกเป็นพืชคลุมดินและไม้ประดับ

กระดุมทองเลื้อย

ชื่ออื่นๆ : กระดุมทองเลื้อย, เบจมาศเครือ

ต้นกำเนิด : พรรณไม้พื้นเมืองของอเมริกาเขตร้อน

ชื่อสามัญ : Climbing wedelia, Creeping daisy, Singgapore daisy

ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Wedeliatrilobata (L.) Hitchc.

ชื่อวงศ์ :  COMPOSITAE

ลักษณะของกระดุมทองเลื้อย

ต้น ไม้ล้มลุก ลำต้นแตกแขนงทอดราบไปตามพื้นดิน ปลายกิ่งมักชูตั้งขึ้น สูงได้ถึง 50 ซม. ลำต้นมีขนประปราย

ใบ ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปรี กว้างประมาณ 2.5 ซม. ยาวประมาณ 5.5 ซม. ปลายแหลม โคนสอบ ขอบจักเล็กน้อย มีจักเป็นรูปสามเหลี่ยมกลางแผ่นใบทั้ง 2 ข้าง เส้นแขนงใบข้างละ 1 เส้น ที่โคนใบเห็นไม่ชัดเจน อีกคู่หนึ่งเห็นชัด เหนือขึ้นไปมีเส้นแขนงใบข้างละ 4 เส้น ก้านใบสั้นหรือไม่มี

กระดุมทองเลื้อย
กระดุมทองเลื้อย กลีบดอกสีเหลือง

ดอก  ช่อดอกแบบช่อกระจุก ออกตามง่ามใบใกล้ยอด กว้างประมาณ 2 ซม. ก้านช่อดอกยาว 4-6 ซม. โคนช่อมีใบประดับรูปรีเรียงซ้อนกัน 2 ชั้น ชั้นละ 4-5 ใบ ชั้นนอกโคนติดกัน ชั้นในเรียงสลับกับชั้นนอก อยู่โดยรอบฐานดอก ที่ขอบใบประดับมีขน ใบประดับชั้นนอกจะใหญ่ขึ้นเมื่อดอกโรย ดอกวงนอกเป็นดอกเพศเมีย มี 8-10 ดอก ดอกวงในซึ่งเป็นดอกสมบูรณ์เพศ ขนาดเล็กกว่าและมีจำนวนมากกว่า กลีบดอกวงนอกสีเหลืองติดกันเป็นแผ่น กว้าง 3-4 มม. ยาว 0.8-1 ซม. โคนติดกันเป็นหลอดสั้นมาก ปลายแยกเป็น 3 แฉก ดอกวงในกลีบดอกสีเหลือง โคนกลีบติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 5 แฉก ที่ขอบแฉกมีขน รอบๆ ดอกวงในมีใบประดับบางใส รูปท้องเรือปลายแหลมแทรกอยู่ รังไข่เล็ก และเป็นหมัน เกสรเพศผู้ 5 อัน สีน้ำตาลดำ ยอดเกสรเพศเมียแยกเป็น 2 แฉก ผลเกิดจากดอกวงนอก ยาวประมาณ 5 มม. รูปไข่กลับ ปลายยอดผลมีเยื่อสีขาว รูปถ้วย โคนที่ติดกันกับฐานเรียวแหลมเป็นสามเหลี่ยม มีเนื้อนุ่มสีขาวหุ้มและขรุขระ

ผล เมล็ดเล็ก สีดำ เป็นมัน รูปสามเหลี่ยมปลายแหลม ยาวประมาณ 4 มม.

การขยายพันธุ์ของกระดุมทองเลื้อย

การปักชำ, การแยกกอ

ธาตุอาหารหลักที่กระดุมทองเลื้อยต้องการ

ดินร่วน ต้องการน้ำปริมาณปานกลาง แสงแดดมาก ทนแล้งได้ดี

ประโยชน์ของกระดุมทองเลื้อย

  • นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ
  • ปลูกคลุมดิน ช่วยรักษาหน้าดิน

สรรพคุณของกระดุมทองเลื้อย

สามารถช่วยรักษาโรคเบาหวาน โรคหัวใจและความดันได้เป็นอย่างดี

คุณค่าทางโภชนาการของกระดุมทองเลื้อย

การแปรรูปกระดุมทองเลื้อย

สามารถติดตามความรู้เเกี่ยวกับการเกษตร เพิ่มเติมได้ที่ เกษตรตำบล.คอม

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : www.rspg.or.th
ภาพประกอบ : www.th.wikipedia.org

One Comment

Add a Comment