
กระถินเทพา
กระถินเทพา
ชื่ออื่นๆ : กระถินเทพา, กระถินซาบาห์ (ภาคกลาง)
ต้นกำเนิด : ทางเหนือของออสเตรเลีย ปาปัวนิวกินี
ชื่อสามัญ : กระถินเทพา
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Acacia mangium Willd.
ชื่อวงศ์ : Fabaceae
ลักษณะของกระถินเทพา
ต้น ไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูง 10-20 ม. ขนาดทรงพุ่ม 6-8 ม. ไม่ผลัดใบ ทรงพุ่มกลมแผ่กว้าง ค่อนข้างแน่น ลำต้นเปลาตรง เปลือกต้นสีน้ำตาลหรือน้ำตาลเข้ม แตกเป็นร่องลึก ตามแนวยาวและเปลือกที่กั้นสลับร่องลึกแตกเป็นกาบหนา มีรูปร่างไม่แน่นอน
ใบ ประกอบแบบขนนกสองชั้นปลายคู่ พบเฉพาะเมื่อเป็นต้นอ่อน เมื่อโตขึ้นจะเหลือเพียงก้านใบเปลี่ยนรูปแผ่ขยายคล้ายใบ มีลักษณะและทำหน้าที่คล้ายใบ เรียงเวียนสลับ รูปใบหอก กว้าง 3-6 ซม. ยาว 8-20 ซม. ปลายเรียวมนโคนใบสอบ ขอบใบเรียบเป็นคลื่นเล็กน้อย แผ่นใบเกลี้ยง หนาและเหนียว สีเขียวหม่น ลายเส้นเป็นแนวยาว มองเห็นชัดเจนทั้งสองด้าน
ดอก สีขาว มีกลิ่นหอมอ่อนๆ ออกเป็นช่อแบบช่อหางกระรอก ที่ซอกใบใกล้ปลายกิ่ง ช่อดอกตั้งยาว 10-15 ซม. ดอกย่อยขนาดเล็ก จำนวนมาก กลีบเลี้ยง 5 กลีบ กลีบดอกโคนกลีบเชื่อมติดกันปลายแยก เป็น 5 แฉก ปลายกลีบโค้งกลับลง เมื่อบานเต็มที่เกสรเพศผู้สีขาว จำนวนมาก
ผล ผลแห้งแตก

การขยายพันธุ์ของกระถินเทพา
ใช้เมล็ด, ปักชำ, ตอนกิ่ง
ธาตุอาหารหลักที่กระถินเทพาต้องการ
ประโยชน์ของกระถินเทพา
- ปลูกเป็นร่มเงา
- เนื้อไม้ใช้ทำสิ่งปลูกสร้างและทำถ่าน เพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงในการหุงต้ม

สรรพคุณทางยาของกระถินเทพา
–
คุณค่าทางโภชนาการของกระถินเทพา
การแปรรูปของกระถินเทพา
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11349&SystemType=BEDO
www.flickr.com