ตะไคร้ ใช้ประกอบอาหาร สมุนไพรไทยสารพัดประโยชน์
ชื่ออื่นๆ : ไคร (ภาคใต้) คาหอม (แม่ฮ่องสอน) จะไคร (ภาคเหนือ)
ต้นกำเนิด : อินโดนีเซีย ศรีลังกา พม่า อินเดีย อเมริกาใต้ ไทย
ชื่อสามัญ : –
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cymbopogon citratus (DC.) Staph
ชื่อวงศ์ : Poaceae
ชื่อภาษาอังกฤษ : Lemon Grass

ลักษณะของตะไคร้
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:
เป็นพืชล้มลุก ความสูงประมาณ 4-6 ฟุต ใบยาวเรียว ปลายใบมีขนหนามลำต้นรวมกันเป็นกอ มีกลิ่นหอม ดอกออกเป็นช่อยาวมีดอกเล็กฝอยเป็นจำนวนมาก ตะไคร้เป็นพืชที่สามารถนำส่วนต้นหัวไปประกอบอาหาร และจัดเป็นพืชสมุนไพรด้วย เป็นพืชตระกูลหญ้า ตะไคร้เป็นพืชที่เจริญเติบโตง่าย อาจมีทรงพุ่มสูงถึง 1 เมตร มีลำต้นที่แท้จริงประมาณ 4-7 เซนติเมตร ลำของต้นจะถูกห่อหุ้มไปด้วยกาบใบโดยรอบ ใบยาวแคบเส้นใบขนานกับก้านใบ ใบของตะไคร้อุดมไปด้วยน้ำมันหอมระเหย ที่นิยมนำมาปลูกเป็นพันธุ์พื้นเมืองที่ปลูกกันโดยทั่วไป
การขยายพันธุ์ของตะไคร้
ใช้กิ่ง/ลำต้น/
ธาตุอาหารหลักที่ตะไคร้ต้องการ
ตะไคร้เป็นไม้กลางแจ้งชอบดินร่วนซุยไม่ชอบน้ำขังปลูกได้ตลอด

ประโยชน์ของตะไคร้
สรรพคุณ ใช้ส่วนของเหง้าและลำต้นแก่ ใช้เป็นส่วนประกอบของอาหารที่สำคัญหลายชนิดเช่น ต้มยำและอาหารไทยหลายชนิด ให้กลิ่นหอม มีสรรพคุณทางยาเช่น บำรุงธาตุ แก้โรคทางเดินปัสสาวะ ขับลมในลำไส้ทำให้เจริญอาหาร แก้โรคหืด แก้อหิวาตกโรค บำรุงสมอง ช่วยให้สมาธิดี ต้มกับน้ำใช้ดื่มแก้อาเจียน ใช้ต้นสดโขลกคั้นเอาน้ำดื่ม แก้อาการเมาในกรณีผู้ที่เมามากๆ ช่วยให้สร่างเร็ว ส่วนหัวสามารถใช้แก้โรคเกลื้อน ท้องอืดท้องเฟ้อ โรคนิ่ว มากไปกว่านั้นยังสามารถทำเป็นยาช่วยนอนหลับ ช่วยลดความดันสูงน้ำมันตะไคร้หอมใช้ทากันยุงได้ ถ้าปลูกใกล้ผักอื่นๆ จะช่วยกันแมลงได้และยังให้กลิ่นหอม ที่ดับกลิ่นบางชนิดใช้ตะไคร้เป็นวนผสม เพราะมีกลิ่นที่หอม และที่กำจัดยุงบางชนิดก็ใช้ตะไคร้เป็นส่วนผสมด้วยเนื่องจาก มีกลิ่นที่แรงจึง ช่วยทำให้ไล่ยุงได้ นอกจากนี้ตะไคร้ยังแก้กลิ่นคาวหรือดับกลิ่นคาว ของปลา และเนื้อสัตว์ได้ดี
สรรพคุณทางยาของตะไคร้
- ใช้ส่วนของเหง้าและลำต้นแก่ ใช้เป็นส่วนประกอบของอาหารที่สำคัญหลายชนิดเช่น ต้มยำ และอาหารไทยหลายชนิด ให้กลิ่นหอม มีสรรพคุณทางยาเช่น บำรุงธาตุ แก้โรคทางเดินปัสสาวะ ขับลมในลำไส้ทำให้เจริญอาหาร แก้โรคหืด แก้อหิวาตกโรค บำรุงสมอง ช่วยให้สมาธิดี ต้มกับน้ำใช้ดื่มแก้อาเจียน ใช้ต้นสดโขลกคั้นเอาน้ำดื่มแก้อาการเมาในกรณีผู้ที่เมามาก ๆ ช่วยให้สร่างเร็ว ส่วนหัวสามารถใช้แก้โรคเกลื้อน ท้องอืดท้องเฟ้อ โรคนิ่ว มากไปกว่านั้นยังสามารถทำเป็นยาช่วยนอนหลับ ช่วยลดความดันสูง น้ำมันตะไคร้หอมใช้ทากันยุงได้ ถ้าปลูกใกล้ผักอื่น ๆ จะช่วยกันแมลงได้และยังให้กลิ่นหอม ที่ดับกลิ่นบางชนิดใช้ตะไคร้เป็นส่วนผสมเพราะมีกลิ่นที่หอม และที่กำจัดยุงบางชนิดก็ใช้ตะไคร้เป็นส่วนผสมด้วยเนื่องจากมีกลิ่นที่แรงจึงช่วยทำให้ไล่ยุงได้ นอกจากนี้ตะไคร้ยังแก้กลิ่นคาวหรือดับกลิ่นคาวของปลา และเนื้อสัตว์ได้ดีมาก ๆ
- สรรพคุณ : ทั้งต้น ใช้เป็นยารักษาโรคหืด แก้ปวดท้อง ขับปัสสาวะและแก้อหิวาตกโรค หรือทำเป็นยาทานวดก็ได้ และยังใช้รวมกับสมุนไพรชนิดอื่นรักษาโรคได้ เช่น บำรุงธาตุ เจริญอาหาร และขับเหงื่อ
- หัว เป็นยารักษาเกลื้อน แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ แก้ปัสสาวะพิการ แก้นิ่ว บำรุงไฟธาตุ แก้อาการขัดเบา ถ้าใช้รวมกับสมุนไพรชนิดอื่น จะเป็นยาแก้อาเจียน แก้ทราง ยานอนหลับลดความดันสูง แก้ลมอัมพาต แก้กษัยเส้น และแก้ลมใบ ใบสด ๆ จะช่วยลดความดันโลหิตสูง แก้ไข้
- ราก ใช้เป็นยาแก้ไข้เหนือ ปวดท้องและท้องเสีย
- ต้น ใช้เป็นยาแก้ขับลม แก้เบื่ออาหาร แก้ผมแตก แก้โรคทางเดินปัสสาวะ นิ่ว เป็นยาบำรุงไฟธาตุให้เจริญ แต่ถ้าเอาผสมกับสมุนไพรชนิดอื่น จะแก้โรคหนองใน และนอกจากนี้ยังใช้ดับกลิ่นคาวด้วย

คุณค่าทางโภชนาการของตะไคร้
- ตะไคร้ 100 กรัมให้พลังงานต่อร่างกาย 126 กิโลแคลอรีประกอบด้วย
- คาร์โบไฮเดรต 25.5 กรัม
- โปรตีน 1.2 กรัม
- ไขมัน 2.1 กรัม
- แคลเซียม 35 มิลลิกรัม
- ฟอสฟอรัส 30 มิลลิกรัม
- กาก 4.2 กรัม
- เหล็ก 2.6 กรัม
- วิตามินเอ 427 IU
วิตามินบีหนึ่ง 0.05 มิลลิกรัม - วิตามินบีสอง 0.02 มิลลิกรัม
- ไนอาซีน 2.2 มิลลิกรัม
- วิตามินซี 1 มิลลิกรัม
การแปรรูปของตะไคร้
การแปรรูปตะไคร้ผลิตภัณฑ์สมุนไพร สามารถแปรรูปเป็น แชมพูตะไคร้ หรือจะนำไปแปรรูปเป็น ตะไคร้ตากแห้ง เป็นต้น
เกษตรตำบล ศูนย์รวมความรู้การเกษตร ปลูกได้ ขายเป็น เน้นเกษตรอินทรีย์ เทคโนโลยีเกษตร กับตะไคร้
References : www.bedo.or.th
เรียบเรียงข้อมูลโดย : เกษตรตำบล.คอม
8 Comments