ตำลึง,สี่บาท
ชื่ออื่นๆ : ผักแคบ (ภาคเหนือ) แคเด๊าะ (กระเหรี่ยงและแม่ฮองสอน) ตำลึง,สี่บาท (ภาคกลาง) ผักตำนิน (ภาคอีสาน)
ต้นกำเนิด :
ชื่อสามัญ : ตำลึง
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Coccinia grandis (L.) Voigt
ชื่อวงศ์ : Cucurbitaceae
ลักษณะของตำลึง,สี่บาท
ลำต้นเป็น เถาไม้เลื้อยเนื้อแข็ง ใบเป็น ใบเดี่ยว มีลักษณะเป็น 3 แฉก หรือ 5 แฉก กว้างและยาวประมาณ 4-8 ซม. โคนใบมีลักษณะเป็นรูปหัวใจ มีมือเกาะยื่นออกมาจากที่ข้อ ดอกเป็น ดอกเดี่ยวหรือดอกคู่ มีลักษณะเป็นรูประฆัง กลีบดอกสีขาว แยกเพศอยู่คนละต้น ดอกออกตรงที่ซอกใบ ลักษณะของผลเป็นวงรีทรงยาวสีเขียวอ่อน เมื่อยามแก่จัดจะเป็นสีแดง เป็นที่ชื่นชอบของ นกนานาชนิด

การขยายพันธุ์ของตำลึง,สี่บาท
ใช้เมล็ด/ใช้เมล็ดจากผลแก่หยอดลงในหลุม ปลูกได้ดีในดินร่วนซุย หลังจากที่ต้นกล้างอกก็ให้หาไม้มาปลักเพื่อให้ต้นตำลึงใช้เลื่อย นำเถาแก่มาตัดให้ได้ขนาด 4-6 นิ้ว ปักลงในถุงเพาะชำ หลังจากรากและใบงอกแล้วก็นำไปปลูกลงหลุม
ธาตุอาหารหลักที่ตำลึง,สี่บาทต้องการ
ประโยชน์ของตำลึง,สี่บาท
ประกอบอาหาร สามารถนำใบตำลึงมาต้มกับน้ำแกงใส่กับหมูสับ นำใบตำลึงมาผัดผักรวม หรือ นำไปประกอบอาหารอย่างอื่นก็ได้เหมือนกัน
สรรพคุณทางยาของตำลึง,สี่บาท
สรรพคุณทางยา ใบใช้ในการแก้ไข้ตัวร้อน ตาแดง ตาเจ็บ เถานำน้ำต้มจากเถาตำลึงมาหยอดตาแก้ตาแดง ตาฟาง ดอกตำลึงช่วยทำให้หายจากอาการคันได้ รากใช้แก้อาการอาเจียน ตาฝ้า น้ำยางจากต้นและใบช่วยลดน้ำตาลในเลือด
คุณค่าทางโภชนาการของตำลึง,สี่บาท
การแปรรูปของตำลึง,สี่บาท
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9771&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com