ต้นขนุนดิน หรือ กากหมากตาฤาษี เป็นพืชเบียนเกาะอาศัย

กากหมากตาฤาษี

ชื่ออื่นๆ :   เห็ดหิน (เลย) ว่านดอกดิน (สระบุรี) กากหมากตาฤาษี (ตราด) บัวผุด (ชุมพร) ดอกกฤษณารากไม้ (ประจวบคีรีขันธ์) กกหมากพาสี (ภาคเหนือ) ขนุนดิน (ภาคกลาง) 

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ : ขนุนดิน

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Balanophora fungosa J.R. & G. Forst. ssp. indica (Arn.) B. Hansen

ชื่อวงศ์ : BALANOPHORACEAE

ลักษณะของกากหมากตาฤาษี

ต้น  จัดเป็นพืชเบียน เกาะอาศัยแย่งอาหารจากรากพืชชนิดอื่น มีความสูงได้ประมาณ 10-25 เซนติเมตร ลำต้นอยู่รวมกันเป็นก้อนขนาดใหญ่อยู่ใต้ดิน โดยลำต้นจะมีอยู่หลายสี เช่น สีน้ำตาล สีแดง สีแดงปนน้ำตาล สีเหลือง หรือสีเหลืองปนส้ม

ใบ  ใบเป็นใบเดี่ยว เรียบเวียนรอบลำต้น ใบมีขนาดเล็ก มีประมาณ 10-20 ใบ ใบเป็นสีเหลืองอมส้ม สีเหลืองอมแดง หรือสีน้ำตาล ปลายใบแหลม มีขนาดกว้างมากที่สุดประมาณ 2 เซนติเมตร และยาวประมาณ 3 เซนติเมตร

ดอก  ออกดอกเป็นช่อ ดอกเป็นสีแดงอมน้ำตาล มีกลิ่นหอมเอียน ดอกเป็นแบบแยกเพศอยู่คนละต้น ช่อแก่จะชูก้านขึ้นพ้นผิวดินเป็นกลุ่มหรือเป็นกระจุก กลุ่มหนึ่งอาจมีดอกถึง 10 ดอก โดยช่อดอกเพศผู้มีลักษณะเป็นรูปไข่แกมรี มีขนาดกว้างประมาณ 2-6 เซนติเมตร และยาวประมาณ 4-15 เซนติเมตร ส่วนก้านดอกยาวประมาณ 0.7-1 เซนติเมตร กาบรองดอกเป็นรูปเหลี่ยมหรือมน ยาวประมาณ 5 มิลลิเมตร ดอกมีจำนวนมาก กลีบดอกมีประมาณ 4-5 กลีบ สีเหลืองอมเขียวอ่อน มีขนาดเล็กมาก ดอกเรียงชิดกัน ไม่เบี้ยว กลีบดอกมีขนาดเท่ากัน มีเกสรเพศผู้ 4-5 อัน เชื่อมติดกันเป็นก้อนแบนแคบ ๆ ยาวได้ประมาณ 2.5-5 มิลลิเมตร ตุ่มเกสรเป็นรูปเกือกม้า ส่วนช่อดอกเพศเมียจะเป็นสีน้ำตาลอมแดง ลักษณะค่อนข้างกลมหรือรี มีขนาดประมาณ 2-10 เซนติเมตร ดอกเล็กละเอียดจำนวนมากอยู่ชิดกันแน่น ออกดอกในช่วงประมาณเดือนกันยายนถึงเดือนกุมภาพันธ์ พบออกดอกนอกฤดูกาลบ้าง แต่ก็ไม่บ่อยนัก

กากหมากตาฤาษี
กากหมากตาฤาษี ลำต้นอยู่รวมกันเป็นก้อนขนาดใหญ่อยู่ใต้ดิน

การขยายพันธุ์ของกากหมากตาฤาษี

เขตการกระจายพันธุ์ในอินเดีย จีนตอนใต้ พม่า ภูมิภาคอินโดจีน มาเลเซีย และทวีปออสเตรเลีย ส่วนในประเทศไทยพบได้ทั่วทุกภาคของประเทศ โดยพบขึ้นในป่าดิบชื้นทั่วไป บนเขาสูง ที่ความสูง 500-2,000 เมตร จากระดับน้ำทะเล โดยมักเกาะเบียนพืชในวงศ์ LEGUMINOSAE และพืชในวงศ์ VITACEAE หรือ VITIDACEAE

ธาตุอาหารหลักที่กากหมากตาฤาษีต้องการ

ประโยชน์ของกากหมากตาฤาษี

  • สามารถนำมาทำยาแก้โรคหอบหืด โดยนำลำต้นหั่นเป็นแผ่น ๆ ตากแห้งแล้วนำไปผสมกับสมุนไพร
  • ในเกาะชวาใช้สารคล้ายไขผึ้งปริมาณมากในส่วนดอกของกากหมากตาฤๅษีเป็นเชื้อเพลิงสำหรับคบเพลิง

สรรพคุณของกากหมากตาฤาษี

  • ทั้งต้นกากหมากตาฤาษี มีรสฝาด แพทย์ตามชนบทจะเอาผลตากแห้ง นำมาฝนกับน้ำฝนบนฝาละมีหม้อดิน ใช้เป็นยาแก้หูเป็นน้ำหนวก แก้แผลเน่าเรื้อรังเป็นอย่างดี
  • ชาวบ้านในแถบตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง จะนำหัวของกากหมากตาฤาษี ไปผสมกับสมุนไพรอื่น ๆ ทำเป็นยาแก้หอบหืดมานมนาน (เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น)

คุณค่าทางโภชนาการของกากหมากตาฤาษี

การแปรรูปกากหมากตาฤาษี

สามารถติดตามความรู้เเกี่ยวกับการเกษตร เพิ่มเติมได้ที่ เกษตรตำบล.คอม

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : www.arit.kpru.ac.th, www.th.wikipedia.org
ภาพประกอบ : FB หอพรรณไม้ Forest Herbarium – BKF

One Comment

Add a Comment