ขะจาว
ชื่ออื่นๆ : กระเจา, กระเชา (ภาคกลาง) กระเจาะ, ขะเจา (ภาคใต้) กระเช้า (กาญจนบุรี) กะเซาะ (ราชบุรี) กาซาว (เพชรบุรี) ขะจาวแดง, ฮังคาว (ภาคเหนือ) ตะสี่แค (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) พูคาว (นครพนม) มหาเหนียว (นครราชสีมา) ฮ้างค้าว (อุดรธานี, เชียงราย, ชัยภูมิ) ขะจาว (ทั่วไป)
ต้นกำเนิด : ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกของประเทศไทย
ชื่อสามัญ : Indian Elm
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Holoptelea integrifolia (Roxb.) Planch.
ชื่อวงศ์ : URTICACEAE
ลักษณะของขะจาว
ต้น เป็นไม้ยืนต้นสูง 25 เมตร ผลัดใบ ลำต้นเปลาตรงเปลือกสีน้ำตาลปนเทา มีต่อมระบายอากาศเป็นจุดกลมเล็กๆ สีขาวมองเห็นได้ง่าย เรือนยอดเป็นพุ่มรูปไข่กว้างค่อนข้างทึบ
ใบ เป็นใบเดี่ยวเรียงสลับแผ่นใบรูปรีป้อม โคนใบมนหรือป้าน ปลายใบเรียวแหลม ก้านใบมีขน
ดอก ออกดอกเป็นกระจุกตามง่ามใบ ดอกขนาดเล็ก แยกเพศเป็นดอกเพศผู้และดอกเพศเมีย ออกดอกช่วงเดือนธันวาคม-มกราคม
ผล ผลเป็นรูปโล่แบน มีปีกบางล้อมรอบ มีก้านเกสรเพศเมีย 2 อันติดอยู่ส่วนบนสุด บริเวณปีกมีลายเส้นออกเป็นรัศมีโดยรอบ
มีปีกบางล้อมรอบ


การขยายพันธุ์ของขะจาว
เพาะเมล็ด
ธาตุอาหารหลักที่ขะจาวต้องการ
ประโยชน์ของขะจาว
- ต้นขะจาวเป็นไม้เนื้อแข็ง มีเปลือกหุ้มต้นที่เหนียวมาก มีกลิ่นเหม็นเขียว จึงสามารถนำมาทำประโยชน์ได้มากมาย ปลูกในบริเวณสวนข้างทาง เพราะมีร่มไม้ที่โปร่งสูงกันแดดได้ดี
- ใช้ทำสิ่งก่อสร้าง ที่อยู่ในร่ม ทำเครื่องมือทางการเกษตร เช่น ด้ามจอบ เสียม ทำพานท้ายปืน
- เส้นใยจากเปลือกเหนียว ใช้ทำเชือก ผ้าและกระสอบ
- ต้นไม้พระราชทานประจำจังหวัดลำปาง พันธุ์ไม้มงคลพระราชทานประจำจังหวัด ที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถได้พระราชทานให้กับผู้ว่าราชการจังหวัดของแต่ละจังหวัด เพื่อให้นำไปปลูกเป็นสิริมงคลแก่จังหวัดและเพื่อเป็นการรณรงค์ให้ประชาชนปลูกต้นไม้ใน “โครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติ” เนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ 9 ทรงครบรอบปีที่ 50 ในการครองราชสมบัติ ที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ วันที่ 9 พฤษภาคม 2537

สรรพคุณทางยาของขะจาว
- เปลือก ทำยารักษาเรื้อนของสุนัข กันตัวไร และเป็นยาแก้ปวดตามข้อมือ
คุณค่าทางโภชนาการของขะจาว
การแปรรูปของขะจาว
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9355&SystemType=BEDO
www.flickr.com
One Comment