ค่าหด
ชื่ออื่นๆ : ข่าหด, เก็ดลิ้น, ฮ่อจั่น (จันทบุรี) ปอแก่นเทา (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) ยมโดย (ภาคใต้) เก็ดลิ่น, ลบลีบ
ต้นกำเนิด : พบขึ้นตามป่าดิบเขาและป่าเบญจพรรณทั่วไป ยกเว้นทางภาคใต้ ตั้งแต่ระดับ 500-1,500 เมตร
ชื่อสามัญ :
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Engelhardtia spicata Lechen ex Blume
ชื่อพ้อง : Engelhardtia aceriflora (Reinw.) Blume
ชื่อวงศ์ : JUGLANDACEAE
ลักษณะของค่าหด
ต้น ไม้ต้นผลัดใบ ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูงได้ถึง 25 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มกลม กิ่งอ่อนมีรอยแผลใบเห็นได้ชัด ลำต้นมักคดงอ เปลือกหนาสีเทา แตกเป็นร่องลึก
ใบ ใบประกอบ ช่อใบเรียงเวียนสลับกัน ช่อหนึ่งๆ มีใบย่อย 1-6 คู่ ใบอ่อนมีขนสาก ส่วนใบแก่เกลี้ยง ขอบใบเรียบ จะทิ้งใบหมดก่อนเมื่อออกดอก
ดอก ดอกเพศผู้และดอกเพศเมียอยู่แยกช่อกัน ดอกเพศผู้รวมกันอยู่เป็นช่อสั้น ๆ แบบหางกระรอก ส่วนดอกเพศเมียอยู่รวมกันเป็นช่อยาวห้อยย้อยลง แต่ละดอกมีกาบบางๆ รูปสามเหลี่ยมสีเหลืองอ่อนรองรับ และกาบนี้จะเจริญเป็นกาบของผลต่อไป
ผล ผลกลมแข็ง โตไม่เกิน 1 เซนติเมตร มีขนแข็งๆ สั้นๆ คลุมแน่น มีแฉกกาบเป็นรูปสามงามบางๆ ติดอยู่ ง่ามกลางจะยาวที่สุด
การขยายพันธุ์ของค่าหด
ใช้เมล็ด
ธาตุอาหารหลักที่ค่าหดต้องการ
ประโยชน์ของค่าหด
- เป็นไม้เบิกนำที่ทนต่อความแห้งแล้งและไฟป่า
- เนื้อไม้ทำสิ่งปลูกสร้างต่าง ๆ ได้ดี
- เนื้อไม้ใช้ทำเครื่องจักสานและเครื่องใช้สอย
สรรพคุณทางยาของค่าหด
ส่วนที่นำมาใช้ประโยชน์ : เปลือกลำต้น และ ลำต้น
- เปลือกลำต้น ยารักษาอาการปวดฟัน ช่วยให้มดลูกหดตัวเร็ว ยารักษาตุ่มคันในเด็ก ยาสมานแผลอักเสบ
- ลำต้น ยาคุมกำเนิด
วิธีใช้ :
- ยารักษาอาการปวดฟัน นำเปลือกลำต้นนำมาต้มกับน้ำ กลั้วฟัน แก้อาการปวดฟัน
- ช่วยให้มดลูกหดตัวเร็ว นำเปลือกลำต้นนำมาต้มให้หญิงหลังคลอดบุตรอาบช่วยให้มดลูกหดตัวเร็ว
- ยารักษาตุ่มคันในเด็ก นำเปลือกลำต้นนำมาต้มอาบเป็นยารักษาตุ่มคันในเด็ก
- ยาสมานแผลอักเสบ นำเปลือกลำต้นนำไปผิงไฟอุ่น แล้วนำมาทาแผล เป็นยาสมานแผลอักเสบ
- ยาคุมกำเนิด นำลำต้นค่าหดนำมาฝนกับต้นมะขามป้อม ใช้กินหลังคลอดเป็นยาคุมกำเนิด
คุณค่าทางโภชนาการของค่าหด
การแปรรูปของค่าหด
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : www.thaiherbal.org, www.biodiversity.forest.go.th
ภาพประกอบ : www.flickr.com
ค่าหด เปลือกลำต้น เป็นยารักษาอาการปวดฟัน
ค่าหด เนื้อไม้ใช้ทำเครื่องจักสานและเครื่องใช้สอย