บุนนาค
ชื่ออื่นๆ : สารภีดอย (เชียงใหม่) ก๊าก่อ ก้ำก่อ (แม่ฮ่องสอน) ปะนาคอ, ประนาคอ (ปัตตานี) นาคบุตร, นากบุด, รากบุค (ภาคใต้), ต้นนาค
ต้นกำเนิด : อยู่บริเวณเทือกเขาหิมาลัยตั้งแต่ทางทิศตะวันออกของประเทศเนปาล ไปจนถึงตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศอินเดีย แล้วต่อมามีการกระจายพันธุ์ไปในบริเวณใกล้เคียง เช่น ศรีลังกา บังคลาเทศ พม่า ไทย ลาว กัมพูชา มาเลเซีย และสิงค์โปร
ชื่อสามัญ : IIron wood, Mesua, Gangaw, Indian rose chestnut
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Mesua nagassarium (Burm. f.) Kosterm.
ชื่อวงศ์ : CLUSIACEAE
ลักษณะของบุนนาค
ต้น เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูง 15-25 เมตร ไม่ผลัดใบ เรือนยอดรูปเจดีย์ต่ำ เป็นพุ่มทึบ ลำต้นเปลาตรง เปลือกเรียบสีน้ำตาลปนเทา
ใบ ใบเดี่ยว เรียงตรงกันข้าม ใบรูปใบหอกหรือรูปขอบขนานแกมรูปใบหอก กว้าง 2-3 ซม. ยาว 8-12 ซม. ปลายใบยาวคล้ายหาง โคนใบสอบ ผิวใบเรียบเกลี้ยง สีเขียวเข้ม ด้านล่างมีคราบขาวนวล ใบอ่อนสีชมพู แผ่นใบหนา ขอบใบเรียบ เส้นแขนงใบถี่และจางมองเห็นไม่ชัดเจน ก้านใบ ยาว 0.5-1 ซม.
ดอก ดอกออกเป็นดอกเดี่ยวหรือเป็นช่อแบบช่อกระจุกตามซอกใบ สีขาวหรือเหลืองอ่อน กลีบเลี้ยง 4 กลีบ เรียงเป็น 2 ชั้น กลีบดอกรูปไข่กลับเกสรเพศผู้จำนวนมากสีเหลืองจำนวนมากสีเหลือง ดอกบานเต็มที่กว้าง 4-4.5 ซม. กลิ่นหอมมาก ส่งกลิ่นหอมตลอดทั้งวัน
ผล ผล แบบผลมีเนื้อหลายเมล็ด รูปไข่ กว้าง 2-2.5 ซม. ยาว 3.5-4 ซม. ปลายแหลมโค้ง กลีบเลี้ยงขยายโตเป็นกาบหุ้มผล 4 กาบ เปลือกแข็ง เมล็ด รูปไข่สีน้ำตาลมี 1-2 เมล็ด


การขยายพันธุ์ของบุนนาค
ใช้เมล็ด/นำเมล็ดจากผลแก่ไปปลูกลงดิน
ขึ้นได้ทั่วไปในป่าดิบริมห้วยทางภาคเหนือและภาคใต้ ที่ระดับน้ำทะเล จนถึง 700 เมตร
ธาตุอาหารหลักที่บุนนาคต้องการ
ประโยชน์ของบุนนาค
- ไม้ประดับให้ร่มเงา
- พันธุ์ไม้มงคลพระราชทานประจำจังหวัดพิจิตร โดยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถได้พระราชทานให้กับผู้ว่าราชการจังหวัดของแต่ละจังหวัด เพื่อให้นำไปปลูกเป็นสิริมงคลแก่จังหวัดและเพื่อเป็นการรณรงค์ให้ประชาชนปลูกต้นไม้ใน “โครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติ” เนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ 9 ทรงครบรอบปีที่ 50 ในการครองราชสมบัติ ที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2537
สรรพคุณทางยาของบุนนาค
- ดอก มีกลิ่นหอมเย็น รสขมเล็กน้อย เป็นยาฝาดสมาน บำรุงธาตุ และขับลม แก้ลมกองละเอียด วิงเวียน หน้ามืดตาลาย ใจสั่น ชูกำลัง บำรุงโลหิต บำรุงหัวใจให้แช่มชื่น แก้ร้อนในกระสับกระส่าย รักษาอาการร้อนอ่อนเพลีย แก้กลิ่นสาบในร่างกาย
- ราก ขับลมในสำไส้
- เปลือก กระจายหนอง
- กระพี้ ขับเสมหะในลำคอ
- ใบ สมานแผลสด
- เกสรตัวผู้ บำรุงครรภ์ แก้ไข้
คุณค่าทางโภชนาการของบุนนาค
การแปรรูปของบุนนาค
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11352&SystemType=BEDO
www.forest.go.th
www.flickr.com
ดอกมีกลิ่นหอม เป็นพันธุ์ไม้มงคลพระราชทานประจำจังหวัดพิจิตร