ต้นมะดูก ลำต้นเป็นยาบำรุงกำลัง แก้อาการปวดเมื่อย

มะดูก

ชื่ออื่นๆ : บักดูก (อีสาน) บักโคก (เขมร) ยายปลวก (ใต้) ดูกหิน

ต้นกำเนิด : หิมาลายาไปจนถึงนิวกินี

ชื่อสามัญ : Ivru wood

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Siphonodon celastrineus Griff.

ชื่อวงศ์ : CELASTRACEAE

ลักษณะของมะดูก

ต้น  ไม้ต้นขนาดกลางสูง 10-25 เมตร ไม่ผลัดใบ เรือนยอดกลมทึบ เปลือกนอกสีเทาอมดำ แตกเป็นร่องตามยาว

ต้นมะดูก
ต้นมะดูก เปลือกนอกสีเทาอมดำ แตกเป็นร่องตามยาว

ใบ  ใบเดี่ยว เรียงสลับ ใบรูปขอบขนาน กว้าง 5.5-8 เซนติเมตร ยาว 8-20 เซนติเมตร ปลายใบแหลม ฐานใบมน ขอบใบเป็นจักซี่ฟันตื้นๆ แผ่นใบค่อนข้างหนาคล้ายแผ่นหนัง เส้นแขนงใบข้างละ 6-10 เส้น

ใบมะดูก
ใบมะดูก ปลายใบแหลม ฐานใบมน ขอบใบเป็นจักซี่ แผ่นใบค่อนข้างหนาคล้ายแผ่นหนัง

ดอก  ดอกสีขาวครีม ออกเป็นช่อแบบช่อกระจุกตามซอกใบ มี 2-3 ดอก กลีบเลี้ยงโคนเชื่อมติดกันปลายแยก 5 แฉก รูปไตหรือกึ่งกลม กลีบดอก 5 กลีบรูปไข่ ปลายมน ออกดอกเดือนพฤษภาคมถึงมิถุนายน

ดอกมะดูก
ดอกมะดูก ดอกสีขาวครีม กลีบดอก 5 กลีบรูปไข่

ผล  ผลแบบเมล็ดเดียวแข็ง รูปทรงรีกว้างหรือกลม ผลสุกสีเหลือง เมล็ดรูปไข่ เป็นผลเดือนกรกฎาคมถึงกุมภาพันธ์

ผลมะดูก
ผลมะดูก ผลกลม สีเหลือง

การขยายพันธุ์ของมะดูก

การเพาะเมล็ด

พบในป่าโปร่งค่อนข้างชื้น

ธาตุอาหารหลักที่มะดูกต้องการ

ประโยชน์ของมะดูก

ผลสุกมีกลิ่นหอมและมีรสชาติหวาน รับประทานได้

สรรพคุณของมะดูก

  • ลำต้น บำรุงกำลัง แก้อาการปวดเมื่อย
  • ราก ใช้รับประทาน เป็นยาบำรุงกระดูก แก้พิษฝีภาในดับพิษในกระดูก น้ำเหลืองเสียผื่นคัน โรคผิวหนัง และเส้นเอ็นพิการ

คุณค่าทางโภชนาการของมะดูก

การแปรรูปมะดูก

สามารถติดตามความรู้เเกี่ยวกับการเกษตร เพิ่มเติมได้ที่ เกษตรตำบล.คอม

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : www.biodiversity.forest.go.th, www.qsbg.org
ภาพประกอบ : www.flickr.com

One Comment

Add a Comment