ผักงวงช้าง
ชื่ออื่นๆ : หญ้างวงช้าง, ผักงวงช้าง, หญ้างวงช้างน้อย, ผักแพวขาว
ต้นกำเนิด :
ชื่อสามัญ : Indian heliotrope, devil weed, scorpion weed
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Heliotropium indicum L.
ชื่อวงศ์ : BORAGINACEAE
ลักษณะของผักงวงช้าง
ต้น ลำต้นมีลักษณะเป็นร่อง อวบน้ำ มีขนสีขาวปกคลุมอยู่ทั่วโดยเฉพาะบริเวณยอดอ่อน เป็นพืชล้มลุกที่มีระบบรากแก้ว แตกกิ่งก้านสาขาเป็นจำนวนมาก มีความสูงของลำต้นประมาณ 20-70 ซม.
ใบ ใบมีลักษณะเป็นรูปทรงกลม กลมรี หรือกลมป้อม โคนใบมนรี ปลายใบแหลม มีความกว้างประมาณ 2-5 ซม. ยาวประมาณ 3-8 ซม. แผ่นใบมีสีเขียว ผิวย่น หยาบ ขอบใบหยักเล็กน้อย มีก้านใบยาวประมาณ 3-7 ซม. ออกเป็นใบเดี่ยวๆ เรียงสลับแบบตรงกันข้าม
ดอก ดอกออกเป็นช่อบริเวณปลายกิ่ง ปลายช่อดอกม้วนลงมองดูคล้ายงวงช้าง มีความยาวของช่อดอกประมาณ 5-10 ซม. ภายในช่อจะประกอบด้วยดอกย่อยสีขาวหรือสีม่วงขนาดเล็กที่เรียงตัวกันอยู่ด้านบนก้านช่อดอกเป็นสองแถว โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอด ส่วนปลายกลีบดอกแยกออกเป็น 5 กลีบ มีกลีบเลี้ยง 5 กลีบ มีเกสรเพศผู้ 5 อัน เกสรเพศเมีย 1 อัน
ผล ผลมีลักษณะเป็นรูปไข่ หรือค่อนข้างกลม เปลือกแข็ง มีความยาวประมาณ 4-5 มม. ผลจะแตกออกเป็น 2 ซีกเมื่อแก่ ซึ่งในแต่ละซีกจะมีเมล็ดอยู่ 1 เมล็ด


การขยายพันธุ์ของผักงวงช้าง
ใช้เมล็ด
มีขึ้นในนาหว่านข้าวแห้งและนาหยอด เป็นวัชพืชในนาข้าว
ธาตุอาหารหลักที่ผักงวงช้างต้องการ
ประโยชน์ของผักงวงช้าง
เป็นอาหารของผีเสือ โดยการมากินน้ำหวานที่อยู่ในดอกงวงช้าง
ส่วนที่มีพิษ ทุกส่วนของต้นมีสารพวก อินดิศีน ถ้ากินเข้าไปจะเข้าไปจะทำให้เกิดโรคตับอักเสบ ดอกและรากทำให้แท้งลูกได้
สรรพคุณทางยาของผักงวงช้าง
- ราก ทำเป็นยาหยอดตาแก้อักเสบ ตาฟาง ตามัว หรือเจ็บตา ใช้เป็นยาขับระดู ใช้ตำพอกรักษาแผล ฝีหนอง
- ทั้งต้น ใช้เป็นยาแก้ชักในเด็ก แก้ตางฟาง แก้โรคลักปิดลักเปิด ใช้คั้นน้ำกลั้วปากแก้ปากเปื่อย ใช้เป็นยาแก้ไข้ ดับพิษร้อนถอนพิษไข้ แก้ร้อนในกระหายน้ำ แก้ไอ แก้อาการหอบหืด ช่วยแก้ปอดอักเสบ แก้ฝีในปอด แก้ปวดท้อง แก้บิด ช่วยขับปัสสาวะ แก้ขัดเบา แก้นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ ใช้รักษาโรคหนองใน ช่วยลดอาการปวดบวมจากฝีหนอง หรือแผลมีหนอง ใช้เป็นยารักษาไขข้ออักเสบ ปวดตามข้อ มีสรรพคุณเป็นยาแก้พิษตานซาง แก้น้ำเหลืองเสีย รักษาเริม งูสวัด และขยุ้มตีนหมา
- ใบ ใช้เป็นยาลดระดับน้ำตาลในเลือด ใช้เป็นยาหยอดหู หยอดตาแก้อาการตาฟาง ทำเป็นยารับประทานแก้ร้อนใน กระหายน้ำ ใช้น้ำกลั้วคอแก้อาการเจ็บคอ ใช้ตำพอกรักษาแผล ฝี โรคผิวหนัง กลากเกลื้อน ไฟลามทุ่ง แมลงกัดต่อย อาการฟกช้ำ
- ดอก ใช้เป็นยาขับระดู
- เมล็ด ใช้เป็นยารักษาแผลในกระเพาะอาหาร
คุณค่าทางโภชนาการของผักงวงช้าง
การแปรรูปของผักงวงช้าง
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11275&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com