ผักชีดอย วัชพืชที่ชอบขึ้นตามดินหิน ทุ่งหญ้า หรือที่รกร้างทั่วไป

ผักชีดอย

ชื่ออื่นๆ : สาบแร้ง, สาบแฮ้ง, แฮ้งของ (เพชรบูรณ์) ผักชีดอย (เชียงใหม่)

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ :

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dichrocephala integrifolia (L.f.) Kuntze

ชื่อพ้อง :  Dichrocephala latifolia (Lam.) L’Hér. ex DC.

ชื่อวงศ์ :  COMPOSITAE

ลักษณะของผักชีดอย

ต้น  เป็นพรรณไม้ล้มลุกที่มีลำต้นตั้งตรง สูงได้ประมาณ 8-25 นิ้ว แตกกิ่งก้านสาขาใกล้กับโคนต้น มีขนอ่อน ๆ ขึ้นปกคลุมอยู่หนาแน่น มีกลิ่นหอม

ต้นผักชีดอย
ต้นผักชีดอย ลำต้นตั้งตรง แตกกิ่งก้านสาขาใกล้กับโคนต้น

ใบ  เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับกันไปตามกิ่ง ลักษณะของใบเป็นรูปไข่ ปลายใบแหลม โคนใบสอบ ส่วนขอบใบจักเป็นฟันเลื่อย แผ่นใบเป็นสีเขียว ผิวใบมีขนอ่อน ๆ ขึ้นปกคลุมทั้งสองด้าน บริเวณโคนใบจะมีปีกใบแคบ ๆ อยู่ด้านละปีก ใบมีขนาดกว้างประมาณ 2 นิ้ว และยาวประมาณ 3.5-5 นิ้ว ซึ่งขนาดนี้จะเป็นขนาดของใบที่อยู่ด้านล่าง ส่วนใบที่อยู่ส่วนบนของกิ่งจะมีขนาดเล็กกว่านี้ โดยใบที่อยู่บนสุดจะมีความยาวได้ประมาณ 0.5-1 นิ้วได้

ใบผักชีดอย
ใบผักชีดอย ใบเป็นรูปไข่ ปลายใบแหลม ขอบใบจักเป็นฟันเลื่อย

ดอก  ออกดอกเป็นช่อตามซอกใบและบริเวณส่วนยอดของกิ่ง ดอกมีลักษณะเป็นก้อนกลมๆ ขนาดประมาณ 3-5 มิลลิเมตร ปลายดอกมี 4 แฉก ก้านช่อดอกยาว

ดอกผักชีดอย
ดอกผักชีดอย ดอกออกเป็นก้อนกลม ก้านช่อดอกยาว

ผล  ผลเป็นรูปหอกกลับแบนและมีขนเล็กๆ อยู่ 2 เส้น หรือบางผลอาจไม่มีเลย ผลมีขนาดยาวประมาณ 1 มิลลิเมตร

การขยายพันธุ์ของผักชีดอย

การใช้เมล็ด

เป็นพรรณไม้กลางแจ้งที่จัดเป็นวัชพืชชนิดหนึ่ง ชอบขึ้นตามดินหิน ทุ่งหญ้า หรือที่รกร้างทั่วไป

ธาตุอาหารหลักที่ผักชีดอยต้องการ

ประโยชน์ของผักชีดอย

  • เป็นวัชพืช
  • พืชสมุนไพร

สรรพคุณของผักชีดอย

  • ตาดอกเอามาต้มกับน้ำ ใช้ดื่มเป็นยาขับเหงื่อ
  • ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ ด้วยการใช้ตาดอกเอามาต้มกับดื่มเป็นยา
  • ทั้งต้นใช้เป็นยารักษาโรคหนองใน
  • ใบใช้ตำเป็นยาทาแก้แผลเรื้อรัง
  • ในประเทศเขมรจะนำมาปรุงเป็นยาทาแก้แมลงสัตว์กัดต่อย (ใบ)
  • ใบใช้ตำพอกแก้บวม

คุณค่าทางโภชนาการของผักชีดอย

การแปรรูปผักชีดอย

สามารถติดตามความรู้เเกี่ยวกับการเกษตร เพิ่มเติมได้ที่ เกษตรตำบล.คอม

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : www.arit.kpru.ac.th
ภาพประกอบ : www.flickr.com

2 Comments

Add a Comment