ผักบุ้งทะเล ยางจากต้นหรือใบมีพิษห้ามรับประทาน เพราะจะทำให้เมา วิงเวียน และคลื่นไส้ได้

ผักบุ้งทะเล

ชื่ออื่นๆ : ละบูเลาห์ (มลายู-นราธิวาส)

ต้นกำเนิด : ขึ้นใกล้ทะเล

ชื่อสามัญ : Goat’s Foot Creeper,Beach Morning Glory

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ipomoea pes-caprae (Linn.) Sweet

ชื่อวงศ์ : CONVOLVULACEAE

ลักษณะของผักบุ้งทะเล

ต้น เป็นพรรณไม้ล้มลุก ที่มีลำต้นทอดเลื้อย ไปตามพื้นดิน ซึ่งจะเลื้อยได้ยาวมาก ประมาณ 5 – 30 เมตร ลำต้นเป็นสันและเกลี้ยง มีรากมี ข้อ รากนั้นเป็นรากแก้วใหญ่ และมียางสีขาว

ใบ เป็นใบเดี่ยว และจะแตกออกจากลำ เถาเพียงด้านเดียวเท่านั้น ลักษณะเป็นรูปกลม รูปไต หรือรูปไข่ ปลายใบจะเว้าหรือมน โคน ใบสอบแคบหรือสอบเป็นหางไปยังก้านใบ เนื้อใบหนาเล็กน้อย ผิวเป็นมัน ใบยาว 1.5 – 4 นิ้ว สีเขียว

ดอก จะออกเป็นช่ออยู่ตามง่ามใบ ช่อหนึ่ง จะมีดอกอยู่ประมาณ 2 – 6 ดอก แต่จะทยอย กันบานทีละดอกเท่านั้น ลักษณะของดอกเป็น รูปปากแตร ยาวประมาณ 2.5 นิ้ว มีสีม่วงอมชมพู ม่วงอมแดง ชมพูหรือม่วง มีผิวเกลี้ยง ตรงด้านในของดอกแถว ๆ โคนดอกสีจะเข้ม กว่าด้านนอก ดอกจะเหี่ยวง่าย

ผล เป็นรูปมนรีคล้ายกับ Capsule ยาว ประมาณ 1 – 17 มม. แบ่งออกเป็น 2 ช่อง เมล็ดเมื่อแก่จัดจะเป็นสีดำและมีขนปกคลุมอยู่ รอบ ๆ เมล็ด

ต้นผักบุ้งทะเล
ต้นผักบุ้งทะเล ลำต้นทอดเลื้อยไปตามพื้นดิน

การขยายพันธุ์ของผักบุ้งทะเล

การใช้เมล็ด เป็นพรรณไม้กลางแจ้ง ที่ ชอบขึ้นตามหาดทราย

ธาตุอาหารหลักที่ผักบุ้งทะเลต้องการ

ประโยชน์ของผักบุ้งทะเล

สรรพคุณทางยาของผักบุ้งทะเล

สรรพคุณ ผักบุ้งทะเลมีสารที่มีฤทธิ์ต้านฮีสตามีน

  • ใบ ใช้ทาภายนอก แก้แผลเรื้อรัง แก้อา การจุกเสียด แก้พิษจากแมลงกะพรุน เป็นยา ทาแก้โรคไขข้ออักเสบ หรือนำไปต้มกับน้ำใช้ ล้างแผล หรือเอาไปผสมกับยาอื่นปรุงต้มเอา ไอรักษาริดสีดวงทวาร
  • ต้น ใช้เป็นยาถอนพิษลมเพลมพัด เจริญ อาหาร ระบาย ใช้ทาแก้พิษแมงกะพรุนไฟ ต้มอาบแก้อาการคันตามผิวหนัง
  • เมล็ด ใช้เป็นยาแก้ปวดท้อง แก้ตะคริว และใช้เป็นยาถ่ายก็ได้
  • ราก แก้โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ ขับ ปัสสาวะ

ยางจากต้นหรือใบมีพิษห้ามรับประทาน เพราะจะทำให้เมา วิงเวียน และคลื่นไส้ได้

ดอกผักบุ้งทะเล
ดอกผักบุ้งทะเล ดอกสีม่วง

คุณค่าทางโภชนาการของผักบุ้งทะเล

  • ใบ พบ Fumaric acid, Succinic acid, Citric acid, Maleic acid, Curcumene, Ergotamine
  • ลำต้นเหนือดิน พบ Behenic acid, Benzoic acid, Butyric acid, Esential Oil, Potassium Chloride, Myristic acid, Sodium chloride, B-Sitosterol
  • ทั้งต้น พบ citric acid, Fumaric acid, Hyperoside, Malic acid, Isoquercitrin, Succinic acid, Tartaric acid
  • เมล็ด พบ Dehydrocacalohastine, Cacalol methyl ether, Ergotamine, Matorin, Matorin acetate

การแปรรูปของผักบุ้งทะเล

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9744&SystemType=BEDO
https://th.wikipedia.org
https://www.flickr.com

Add a Comment